ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น เป็นฤดูเกี่ยวข้าว ภิกษุณีทั้งหลายขอข้าวเปลือก สดแล้วนำเข้าไปในพระนคร ครั้นถึงที่ประตูพระนคร คนทั้งหลายพากันกั้นประตูพูดสัพยอกว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย ขอท่านจงให้ส่วนแบ่งบ้าง ดังนี้ แล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นกลับไปถึง สำนักแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือกสดเขาเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีขอ ข้าวเปลือกสดเขา จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าว- *เปลือกสดเขาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอก็ดี ให้ขอก็ดี คั่วก็ดี ให้คั่วก็ดี ตำก็ดี ให้ตำก็ดี หุงก็ดี ให้หุงก็ดี ซึ่งข้าวเปลือกสด แล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกสด ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้. บทว่า ขอ คือ ขอเอง. บทว่า ให้ขอ คือ ให้ผู้อื่นขอแทน. บทว่า คั่ว คือ คั่วเอง. บทว่า ให้คั่ว คือ ให้ผู้อื่นคั่ว. บทว่า ตำ คือ ตำเอง. บทว่า ให้ตำ คือ ให้ผู้อื่นตำ. บทว่า หุง คือ หุงเอง. บทว่า ให้หุง คือ ให้ผู้อื่นหุง. ภิกษุณีรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
อนาปัตติวาร
[๑๗๔] เพราะเหตุอาพาธ ๑ ขออปรัณณชาติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๕๑๐-๒๕๔๗ หน้าที่ ๑๐๖-๑๐๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=2510&Z=2547&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=172&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=172&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=172&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=172&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=172              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]