ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๒๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้ แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า ถ้าพวกข้าพเจ้าสามารถก็จักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ครั้นภิกษุณีทั้ง หลายจำพรรษาแล้ว ได้ประชุมกันประสงค์จะแจกจีวร ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณี เหล่านั้นว่า แม่เจ้า โปรดรอก่อน ภิกษุณีสงฆ์ยังมีหวังจะได้จีวร. ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า ขอเชิญแม่เจ้าไปสืบดูให้รู้เรื่องจีวรนั้น. ภิกษุณีถุลลนันทาได้เข้าไปสู่ตระกูลนั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า อาวุโสทั้งหลาย จงถวาย จีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์เถิด. คนในตระกูลตอบว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้ายังไม่สามารถจะถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ได้. ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่าง ก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไปด้วยหวังว่า จะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา ได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนจริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยัง สมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่ แน่นอน เป็นปาจิตตีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า หวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอน ได้แก่วาจาที่เขาเปล่งออกมาว่า ถ้าพวกข้าพเจ้า สามารถ ก็จักถวาย จักทำ. ที่ชื่อว่า สมัยจีวรกาล คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน มีกำหนดเดือนหนึ่งท้ายฤดูฝน เมื่อได้กรานกฐินแล้ว มีกำหนด ๕ เดือน. บทว่า ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ความว่า เมื่อไม่ได้กรานกฐินยังวันสุดท้ายแห่งฤดูฝน ให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เมื่อได้กรานกฐินแล้วยังวันที่กฐินเดาะให้ล่วงไป ต้องอาบัติ- *ปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
[๒๕๑] จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสงสัย ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าแน่นอน ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ไม่ต้องอาบัติ. จีวรแน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรแน่นอน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรแน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรแน่นอน ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๒๕๒] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๕๑๐-๓๕๕๘ หน้าที่ ๑๕๓-๑๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3510&Z=3558&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=249&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=249&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=249&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=249&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=249              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]