ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๒๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในพระ นครราชคฤห์นั้นนั่นแหละ ตลอดฤดูฝน ตลอดฤดูหนาว ตลอดฤดูร้อน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลายคับแคบเป็นดุจมืดมนแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทิศทั้งหลายย่อมไม่ ปรากฏแก่ภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงเล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว ไม่หลีกไปสู่จาริก โดยที่สุด แม้สิ้นหนทาง ๕-๖ โยชน์ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว คือ อยู่จำตลอดฤดูฝนสามเดือนต้นหรือสามเดือนหลัง แล้ว พอทอดธุระว่าจักไม่หลีกไปสู่จาริก สิ้นหนทางอย่างต่ำ ๕-๖ โยชน์ ดังนี้เท่านั้น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๒๙๔] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีอัน- ตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๔๐๒๙-๔๐๖๑ หน้าที่ ๑๗๗-๑๗๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=4029&Z=4061&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=292&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=292&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=292&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=292&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=292              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]