ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์. เมื่อสงฆ์จะลงทัณฑกรรมแก่นาง แต่ภิกษุณีถุลลนันทาค้านไว้. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปสู่ตำบลบ้านหนึ่งด้วยกิจจำเป็นบาง อย่าง. ครั้นภิกษุณีสงฆ์ทราบว่าภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว จึงยกภิกษุณีจัณฑกาลีเสียจากหมู่เพราะ ไม่เห็นอาบัติ. ภิกษุณีถุลลนันทาเสร็จกรณียะนั้นในบ้านแล้ว กลับมาสู่พระนครสาวัตถีตามเดิม. เมื่อนางมาถึง ภิกษุณีจัณฑกาลีไม่ปูอาสนะ ไม่เข้าไปจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรจีวร ไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม. นางจึงถามภิกษุณีจัณฑกาลีว่า เหตุไฉนเมื่อเรามาถึง เธอจึงไม่ปูอาสนะ ไม่จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรจีวร ไม่ต้อนรับ ด้วยน้ำดื่มเล่า? ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า การที่เป็นเช่นนั้นนั่น เพราะดิฉันเป็นภิกษุณีไม่มีที่พึ่ง เจ้าค่ะ. ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า เหตุไฉนเล่า เธอจึงเป็นคนไม่มีที่พึ่ง? ภิกษุณีจัณฑกาลีชี้แจงว่า เพราะภิกษุณีเหล่านี้คงเข้าใจดิฉันว่า นางนี้เป็นคนไม่มีที่พึ่ง ไม่ มีใครรู้จัก กิจอันเป็นหน้าที่ของนางคนนี้ก็ไม่มีสักอย่าง จึงได้ยกดิฉันเสียจากหมู่ เพราะไม่เห็น อาบัติ เจ้าค่ะ. ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า ภิกษุณีเหล่านั้นเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่รู้จักกรรมหรือโทษของ กรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ เราเท่านั้นจึงจะรู้จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ และ กรรมสมบัติ เราจะพึงทำกรรมที่เราไม่ได้ร่วมทำ หรือจะพึงยังกรรมที่เขาทำแล้วให้กำเริบ แล้วให้ ประชุมภิกษุณีสงฆ์ด่วน เรียกภิกษุณีจัณฑกาลีให้เข้าหมู่. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ จึงได้เรียกภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจาก หมู่ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์แล้วให้เข้าหมู่เล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี- *พระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ เรียกภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์แล้วให้เข้าหมู่ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา ไม่บอก กล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ จึงได้เรียกภิกษุณีผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตาม ธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์แล้วให้เข้าหมู่เล่า การกระทำของนางนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ ไม่รู้ฉันทะของคณะ เรียกภิกษุณี ผู้ซึ่งสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์แล้วให้เข้า หมู่ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้. ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน. ที่ชื่อว่า ยกเสียจากหมู่ คือ ถูกยกเสียจากหมู่ เพราะไม่เห็นอาบัติ หรือเพราะไม่ทำคืน อาบัติ หรือเพราะไม่สละคืนทิฏฐิบาป. บทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือตามธรรมใด ตามวินัยใด. บทว่า อันเป็นสัตถุศาสน์ ได้แก่ ธรรมนั้น วินัยนั้นเป็นคำสั่งสอนของพระชินะ คือ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. บทว่า ไม่บอกกล่าวการกสงฆ์ คือ ไม่บอกเล่าการกสงฆ์ผู้ทำกรรมให้ทราบ. บทว่า ไม่รู้ฉันทะของคณะ คือ ไม่รู้ความพอใจของคณะ. ภิกษุณีประสงค์จะเรียกเข้าหมู่ แสวงหาคณะก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติ- *สังฆาทิเสส. [๔๙] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ. บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงวัตถุ โดย ไม่ต้องสวดสมนุภาส. ที่ชื่อว่า นิสสารณีย ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่สงฆ์. บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
ติกะสังฆาทิเสส
[๕๐] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๑] บอกกล่าวการกสงฆ์ผู้ทำกรรม แล้วเรียกเข้าหมู่ ๑ รู้ฉันทะของคณะ แล้วเรียก เข้าหมู่ ๑ เรียกภิกษุณีผู้ประพฤติชอบแล้วเข้าหมู่ ๑ เรียกเข้าหมู่ในเมื่อการกสงฆ์ผู้ทำกรรมไม่มี ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๖๘๘-๗๖๔ หน้าที่ ๒๙-๓๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=688&Z=764&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=47&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=47&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=47&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=47&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=47              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]