ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์ เรื่องหนึ่ง โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลีถูก ตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ ... และภยาคติ ดังนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีจัณฑกาลี ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉนภิกษุณีจัณฑกาลี ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้วจึงได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๙. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้วโกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าถูกตัดสินให้แพ้ในอธิกรณ์เรื่องหนึ่งแล้ว อย่า โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า พวกภิกษุณีถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ดังนี้ แม่เจ้าต่างหาก ถึงฉันทาคติบ้าง โทสาคติบ้าง โมหาคติบ้าง ภยาคติบ้าง และภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณี ทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้น หากเธอถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสียได้ การสละได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี หากเธอ ไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อ สวดสมนุภาสครบสามจบ.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐๐๖-๑๐๓๖ หน้าที่ ๔๒-๔๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=1006&Z=1036&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=69&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=69&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=69&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=69&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=69              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]