ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๒๒
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปารายนวรรค
วัตถุคาถา
เรื่องพราหมณ์พาวรีส่งศิษย์ทูลถามปัญหา
[๑] พราหมณ์พาวรี เป็นผู้เรียนจบมนต์ ปรารถนาความเป็นผู้ไม่ มีกังวล ออกจากพระนครโกศลอันน่ารื่นรมย์ ไปสู่ ทักขิณาปถชนบท [๒] พราหมณ์นั้นอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี อันเป็นพรมแดนแว่น แคว้นอัสสกะและแว่นแคว้นมุฬกะต่อกัน เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย การเที่ยวภิกขาและผลไม้. [๓] เมื่อพราหมณ์นั้นเข้าไปอาศัย (อยู่) บ้านได้เป็นหมู่ใหญ่ด้วย ความเจริญอันเกิดแต่บ้านนั้น พราหมณ์นั้นได้บูชามหายัญ [๔] พราหมณ์นั้นบูชามหายัญแล้วก็กลับเข้าไปสู่อาศรม เมื่อ พราหมณ์นั้นกลับเข้าไปแล้ว พราหมณ์อื่นก็มา. [๕] พราหมณ์อื่นมีเท้าพิการ เดินงกงัน ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เข้าไปหาพาวรีพราหมณ์แล้ว ขอทรัพย์ห้าร้อย. [๖] พาวรีพราหมณ์เห็นพราหมณ์นั้นเข้าแล้ว ก็เชิญให้นั่ง แล้ว ก็ถามถึงความสุขสำราญและความไม่มีโรค และได้กล่าว คำนี้ว่า [๗] ทรัพย์ของเรามีอันจะพึงให้ เราสละหมดแล้ว. ดูกรพราหมณ์ ท่านเชื่อเราเถิด ทรัพย์ห้าร้อยของเราไม่มี. [๘] ถ้าเมื่อเราขอ ท่านจักไม่ให้. ในวันที่เจ็ด ศีรษะของท่านจง แตกเจ็ดเสี่ยง. [๙] พราหมณ์นั้นเป็นคนโกหก ปรุงแต่งแสดงเหตุให้กลัว. พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เป็นทุกข์. [๑๐] มีลูกศรคือความโศกเสียบแทงแล้ว ไม่บริโภคอาหาร ก็ซูบ ผอม. ใช่แต่เท่านั้น ใจของพาวรีพราหมณ์ผู้มีจิตเป็นอย่างนั้น ย่อมไม่ยินดีในการบูชา. [๑๑] เทวดา (ที่สิงอยู่ใกล้อาศรมของพราหมณ์พาวรี) ผู้ปรารถนา ประโยชน์ เห็นพาวรีพราหมณ์หวาดกลัวเป็นทุกข์อยู่ จึงเข้า ไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วได้กล่าวว่า. [๑๒] พราหมณ์ผู้มีความต้องการทรัพย์นั้น เป็นคนโกหก ย่อม ไม่รู้จักศีรษะ. ความรู้จักศีรษะหรือธรรมอันให้ศีรษะตกไป ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์นั้น. [๑๓] พาวรีพราหมณ์ดำริว่า เทวดานี้อาจรู้ได้ในบัดนี้. (กล่าวว่า) ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะ ตกไปแก่ข้าพเจ้าเถิด. ข้าพเจ้าจะขอฟังคำของท่าน. [๑๔] แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะตกไป. ข้าพเจ้า ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้. ความเห็นซึ่งศีรษะและธรรมอันให้ ศีรษะตกไป ย่อมมีแก่พระชินะทั้งหลายเท่านั้น. [๑๕] พา. ก็ในบัดนี้ ใครในปฐพีมณฑลนี้ย่อมรู้จักศีรษะและธรรม อันให้ศีรษะตกไป. ดูกรเทวดา ขอท่านจงบอกท่านผู้นั้นแก่ ข้าพเจ้าเถิด. [๑๖] เท. พระสักยบุตร เป็นวงศ์ของพระโอกกากราชเสด็จออก จากเมืองกบิลพัสดุ์บุรี เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำสัตว์โลก เป็น ผู้ทำ (แสดง) ธรรมอันสว่าง. [๑๗] ดูกรพราหมณ์ พระสักยบุตรนั่นแหละ เป็นพระสัมพุทธเจ้า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง บรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวง มี จักษุในธรรมทั้งปวง ทรงถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งธรรม ทั้งปวง ทรงน้อมพระทัยไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ. [๑๘] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระพุทธเจ้าในโลก มี พระจักษุ ย่อมทรงแสดงธรรม. ท่านจงไปทูลถามพระองค์เถิด. พระองค์จักทรงพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ท่าน. [๑๙] พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า พระสัมพุทธเจ้า แล้วมีความ เบิกบานใจ มีความโศกเบาบาง และได้ปีติอันไพบูลย์. [๒๐] พราหมณ์พาวรีนั้น มีใจยินดี มีความเบิกบาน โสมนัส ถามถึง (พระผู้มีพระภาค) กะเทวดานั้น. (และประกาศว่า) พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ประทับอยู่ ณ ที่ใด คือ บ้านนิคมหรือชนบทที่เขาทำแล้ว เราทั้งหลายพึงไป นมัสการพระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ณ ที่นั้น. [๒๑] เท. พระสักยบุตรนั้น เป็นพระชินะ มีพระปัญญาสามารถ มีพระปัญญากว้างขวางเช่นแผ่นดินอันประเสริฐ เป็น นักปราชญ์ ไม่มีอาสวะ ทรงรู้แจ้งศีรษะและธรรมอันให้ ศีรษะตกไป ทรงองอาจกว่านรชน ประทับอยู่ ณ พระราช- มณเฑียรแห่งพระเจ้าโกศลในพระนครสาวัตถี. [๒๒] ลำดับนั้น พราหมณ์พาวรีได้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์มา (บอกว่า). ดูกรมาณพทั้งหลาย มานี่เถิด. เราจักบอก.ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา. [๒๓] ความปรากฏเนืองๆ แห่งพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดนั้น ยากที่จะหาได้ในโลก วันนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก มีพระนามปรากฏว่า พระ- สัมพุทธเจ้า. ท่านทั้งหลายจงรีบไปเมืองสาวัตถี ดู พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์. [๒๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วจะรู้จักว่า เป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร? ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะรู้จัก พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยอุบายอย่างไร? ขอท่านจง บอกอุบายนั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้ไม่รู้เถิด. [๒๕] พา. ก็มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ มาแล้วในมนต์ทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้แจ่มแจ้งบริบูรณ์แล้วโดยลำดับ. [๒๖] ท่านผู้ใดมีมหาบุรุษลักษณะเหล่านั้นในกายตัว ท่านผู้นั้นมีคติ เป็นสองอย่างเท่านั้น มิได้มีคติเป็นที่สาม. [๒๗] คือ ถ้าอยู่ครองเรือน พึงครอบครองแผ่นดินนี้. ย่อมปกครอง โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาตรา. [๒๘] และถ้าท่านผู้นั้นออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระ- อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสดังหลังคาอันเปิดแล้ว ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า. [๒๙] พราหมณ์พาวรี (บอกแล้ว) ซึ่งชาติ โคตร ลักษณะ และมนต์อย่างอื่นอีก กะพวกศิษย์ (ได้สั่งว่า). ท่าน ทั้งหลายจงถามถึงศีรษะ และธรรมอันให้ศีรษะตกไปด้วยใจ เท่านั้น. [๓๐] ถ้าท่านผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าผู้เห็นธรรมไม่มีเครื่องกั้น. เมื่อ ท่านทั้งหลายถามปัญหาด้วยใจแล้ว ก็จักแก้ด้วยวาจา. [๓๑] พราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ คือ อชิตพราหมณ์ ติสสเมตเตยย- พราหมณ์ ปุณณกพราหมณ์ เมตตคูพราหมณ์. [๓๒] โธตกพราหมณ์ อุปสีวพราหมณ์ นันทพราหมณ์ เหมก- พราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ กัปปพราหมณ์ ชตุกัณณี- พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต. [๓๓] ภัทราวุธพราหมณ์ อุทยพราหมณ์ โปสาลพราหมณ์ โมฆ- ราชพราหมณ์ผู้เป็นนักปราชญ์ ปิงคิยพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ได้ฟังวาจาของพราหมณ์พาวรีแล้ว. [๓๔] ทั้งหมดนั้น เฉพาะคนหนึ่งๆ เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ปรากฏ แก่โลกทั้งปวง เป็นผู้เจริญฌาน ยินดีในฌาน เป็นธีรชน ผู้มีจิตอบรมด้วยวาสนาในกาลก่อน. [๓๕] พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทุกคน ทรงชฎาและหนังเสือ อภิวาท พราหมณ์พาวรีและกระทำประทักษิณแล้ว มุ่งหน้าเดินไปทาง ทิศอุดร. [๓๖] สู่สถานเป็นที่ตั้งแห่งแว่นแคว้นมฬุกะ เมืองมาหิสสติในกาล นั้น เมืองอุชเชนี เมืองโคนัทธะ เมืองเวทิสะ เมืองวน- สวหยะ. [๓๗] เมืองโกสัมพี เมืองสาเกต เมืองสาวัตถี เป็นเมืองอุดม เมืองเสตัพยะ เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองกุสินารา. [๓๘] เมืองปาวา โภคนคร เมืองเวสาลี เมืองมคธและปาสาณเจดีย์ อันเป็นรมณียสถาน น่ารื่นรมย์ใจ. [๓๙] พราหมณ์เหล่านั้นรีบขึ้นสู่ภูเขา (ปาสาณเจดีย์) เหมือนคน กระหายน้ำรีบหาน้ำเย็น เหมือนพ่อค้ารีบหาลาภใหญ่ และเหมือน คนถูกความร้อนแผดเผาและรีบหาร่ม ฉะนั้น. [๔๐] ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้วทรง แสดงธรรมแก่พระภิกษุทั้งหลายอยู่ ประหนึ่งว่าราชสีห์บันลือ สีหนาทอยู่ในป่า. [๔๑] อชิตพราหมณ์ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้เพียงดังว่าดวงอาทิตย์ มีรัศมีฉายออกไป และเหมือนดวงจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญ. [๔๒] ลำดับนั้น อชิตพราหมณ์ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง รื่นเริงใจ เพราะได้เห็นอนุพยัญชนะบริบูรณ์ ในพระกายของพระผู้มี- พระภาค ได้ทูลถามปัญหาด้วยใจ. [๔๓] อ. ท่านเจาะจงใคร? จงบอกชาติ บอกโคตรพร้อมด้วย ลักษณะ. บอกความสำเร็จในมนต์ทั้งหลาย. พราหมณ์สอน มาณพ เท่าไร? [๔๔] พ. พราหมณ์นั้นมีอายุ ๑๒๐ ปี ชื่อพาวรีโดยโคตร. ลักษณะ ๓ อย่างมีในตัวของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์นั้นเป็นผู้ถึงฝั่งแห่ง ไตรเพท. [๔๕] พาวรีพราหมณ์ ถึงความสำเร็จในธรรมของตน สอนมาณพ ๕๐๐ ในมหาบุรุษลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์ นิฆัณฑุศาสตร์ และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์. [๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ผู้ตัดเสียซึ่งตัณหา ขอพระองค์ ทรงประกาศความกว้างแห่งลักษณะทั้งหลาย ของพราหมณ์- พาวรี. ความสงสัยอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเลย. [๔๗] พราหมณ์นั้นย่อมปกปิดหน้าได้ด้วยลิ้น. มีอุณาโลมอยู่ใน ระหว่างคิ้ว. และมีอวัยวะที่ซ่อนอยู่ในผ้าอยู่ในฝัก. ดูกร มาณพ ท่านจงรู้อย่างนี้. [๔๘] ชนทั้งปวงไม่ได้ฟังใครๆ ซึ่งเป็นผู้ถาม ได้ฟังปัญหาทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคทรงแก้แล้วเกิดความโสมนัส ประนมอัญชลี ย่อมคิดไปต่างๆ (ว่า) [๔๙] ใครหนอเป็นเทวดา เป็นพระพรหม หรือเป็นพระอินทร์ผู้ สุชัมบดี เมื่อเขาถามปัญหาด้วยใจ จะแก้ปัญหานั้นกะใครได้? [๕๐] อ. พาวรีพราหมณ์ย่อมถามถึงศีรษะ และธรรมอันทำให้ศีรษะ ตกไป. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงแสวงหา ขอพระองค์ทรง โปรดพยากรณ์ข้อนั้น. กำจัดเสียซึ่งความสงสัยของข้าพระองค์ ทั้งหลายเถิด. [๕๑] พ. ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาเป็นศีรษะ วิชชาประกอบกับ ศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมเครื่องยัง ศีรษะให้ตกไป. [๕๒] ลำดับนั้น อชิตมาณพผู้อันความโสมนัสเป็นอันมากอุดหนุนแล้ว กระทำซึ่งหนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วซบเศียรลงแทบพระ- ยุคลบาท (ทูลว่า) [๕๓] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วย พวกศิษย์ มีจิตเบิกบานโสมนัส ขอถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระองค์. [๕๔] พ. พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วยพวกศิษย์จงเป็นผู้มีสุข. ดูกรมาณพ และแม้ท่านก็ขอให้มีความสุข มีชีวิตอยู่ยืนนานเถิด. [๕๕] เราให้โอกาสแก่พาวรีพราหมณ์ แก่ท่าน และแก่พราหมณ์ ทั้งหมด ตลอดข้อสงสัยทั้งปวง. ท่านทั้งหลายย่อมปรารถนา ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ในใจ ก็จงถามเถิด. [๕๖] เมื่อพระสัมพุทธเจ้าทรงประทานโอกาสแล้ว อชิตพราหมณ์ นั่งประนมมือ แล้วทูลถามปฐมปัญหากะพระตถาคต ใน บริษัทนั้น.
จบวัตถุคาถา.
อชิตมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านอชิตะ
[๕๗] (ท่านอชิตะทูลถามปัญหาว่า) โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้? โลกไม่ปรากฏเพราะเหตุอะไรสิ? อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น? ขอพระองค์จงตรัสบอก. อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น. [๕๘] คำว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ ความว่า โลกนรก โลกเดียรัจฉาน โลก- *เปรตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลก กับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่าโลก โลกนี้อันอะไรปกปิด ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้? [๕๙] บทว่า อิติ ในอุเทศว่า "อิจฺจายสฺมา อชิโต" เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ บทว่า อิตินี้ เป็นไปตามลำดับบท. บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย เคารพ บทว่า อายสฺมานี้ เป็นเครื่องกล่าวถึงเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. บทว่า อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่องทรงชื่อ เป็นภาษาที่ร้องเรียกกัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็น เครื่องกล่าวเฉพาะของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า "อิจฺจายสฺมา อชิโต". [๖๐] คำว่า โลกไม่ปรากฏเพราะเหตุอะไรสิ ความว่าโลกไม่ปรากฏ ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม ไม่กระจ่าง เพราะเหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฏ เพราะเหตุอะไรสิ? [๖๑] คำว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกความว่า อะไร เป็นเครื่องฉาบทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก เป็นเครื่องเข้าไปเศร้าหมอง ของโลกนั้น คือ โลกอันอะไรฉาบทา ติดให้เปื้อน ให้มัวหมองเปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้ คล้องไว้ พัวพันไว้? ขอพระองค์จงตรัสบอก เล่า แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น? ขอพระองค์จงตรัสบอก. [๖๒] คำว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ความว่า อะไรเป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่อง บีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็นเครื่องขัดข้องของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามปัญหาว่า) โลกอันอะไรสิห่อหุ้มไว้? โลกไม่ปรากฏเพราะเหตุอะไรสิ? อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น? ขอพระองค์จงตรัสบอก. อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น? [๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอชิตะ) โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ เรากล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก. ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของ โลกนั้น. [๖๔] ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องต้น ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องปลาย ความ ไม่รู้ทั้งในส่วนสุดเบื้องต้นและส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย อันอาศัยกันและ กันเกิดขึ้น คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ ชื่อว่า "อวิชชา" ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความ ไม่ถึงพร้อมเฉพาะ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้พร้อม ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือ พร้อม ความไม่ถือรอบ ความไม่เห็นเสมอ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความ รู้ได้ยาก ความเป็นคนเขลา ความไม่รู้ทั่วพร้อม ความหลงใหล ความมัวเมา อวิชชาเป็นโอฆะ อวิชชาเป็นโยคะ อวิชชาเป็นอนุสัย อวิชชาเป็นเครื่องกลุ้มรุม อวิชชาเป็นข่าย โมหะ อกุศล มูล ชื่อว่า "อวิชชา" ในอุเทศว่า อวิชชายนิวุโต โลโก นี้เรียกว่า อวิชชา. โลกนรก โลกเดียรัจฉาน โลกเปตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก กับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่าโลก. โลกอันอวิชชานี้ ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้. [๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า "อชิต". บทว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทำลายราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายโทสะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายโมหะ เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายมานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายเสี้ยนหนาม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรง จำแนก ทรงแจกวิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรตนะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรง ทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. มีกายอันอบรมแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. มีศีลอันอบรมแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. มีจิตอันเจริญแล้ว มี ปัญญาอันเจริญแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ทรงเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า และป่าเปลี่ยว เงียบเสียง ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจากลม แต่หมู่ชน ควรทำ กรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระ ผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุ นั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส แห่ง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วน แห่งฌาน อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระ- *ภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๒๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ สมาธิอันสัมปยุต อานาปาณัสสติ อสุภฌานสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรง มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมมรรคมีองค์ ๘ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งกำลัง ของพระตถาคต ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควานี้ พระมารดามิได้ทรงตั้ง พระบิดามิได้ทรงตั้ง พระภคินีมิได้ ทรงตั้ง พระภาดามิได้ทรงตั้ง มิตรและอำมาตย์มิได้ตั้ง พระญาติสาโลหิตมิได้ทรงตั้ง สมณพราหมณ์ แลเทวดาก็มิได้ตั้ง. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม คือ พระนามที่เกิดขึ้นในที่สุด แห่งความหลุดพ้น. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พระนามของพระผู้มีพระภาค ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว พร้อมด้วยการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้มหาโพธิ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า "อชิตาติ ภควา". [๖๖] คำว่า โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ มีความว่า ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ๑ กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล ๑ ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ๑ วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ๑ ธรรมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม ๑ ท่านเรียกว่า เววิจฉะ ความ ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ตระหนี่ ความปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความ เป็นผู้มีจิตหดหู่โดยความเป็นจิตเผ็ดร้อน ความที่แห่งจิตอันใครเชื่อไม่ได้เห็นปานนี้ เรียกว่า ความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง แม้ความตระหนี่ขันธ์ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ แม้ความตระหนี่ธาตุ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ ๑. แม้ความตระหนี่อายตนะ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ ความถือเอา ท่าน ก็เรียกว่า มัจฉริยะ ความประมาท สมควรกล่าว การปล่อยจิต ความเพิ่มการปล่อยจิต ในกาย ทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี ในมโนทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณก็ดี หรือความเป็นผู้ทำโดยความ ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ทำไม่ติดต่อ ความเป็นผู้หยุดๆ ความเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ความเป็นผู้ปลงฉันทะ ความเป็นผู้ทอดธุระ ความเป็นผู้ไม่ซ่องเสพ ความไม่เจริญ ความ ไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนืองๆ ในการบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็น ความประมาท ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา ความเป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ เรียกว่า ประมาท. คำว่า โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท ความว่าโลกไม่ปรากฏ ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม ไม่กระจ่าง เพราะความตระหนี่นี้ เพราะความ ประมาทนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท. [๖๗] คำว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก ความว่า ตัณหา เรียกว่า ชัปปา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี ความพลอยยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความ อยาก ความพัวพัน ความข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความลวง ธรรมชาติอันให้สัตว์ เกิด ธรรมชาติอันให้สัตว์เกิดกับทุกข์ ธรรมชาติอันเย็บไว้ ธรรมชาติเพียงดังข่าย ธรรมชาติ อันไหลไป ธรรมชาติอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความเป็นผู้หลับ ความกว้างขวาง ธรรมชาติ อันให้อายุเสื่อม ความเป็นเพื่อน ความตั้งใจไว้ ธรรมชาติอันเป็นเหตุนำไปสู่ภพ ธรรมชาติ เพียงดังว่าป่า ธรรมชาติเพียงดังว่าหมู่ไม้ในป่า ความสนิทสนม ความมีเยื่อใย ความเพ่ง ความ พัวพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ความเป็นผู้หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวัง ในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความ- *หวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความกระซิบ ความกระซิบทั่ว ความกระซิบยิ่ง กิริยาที่กระซิบ ความเป็นผู้กระซิบ ความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความที่ตัณหาหวั่นไหว ความเป็น ผู้ต้องการให้สำเร็จ ความกำหนัดผิดธรรมดา ความโลภไม่สม่ำเสมอ ความใคร่ กิริยาที่ใคร่ ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน ความประสงค์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ธรรมชาติเป็นเครื่องกั้น ธรรมชาติเป็นเครื่องบัง ธรรมชาติเป็นเครื่องปิด ธรรมชาติเป็นเครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย กิเลสเครื่องกลุ้มรุม ธรรมชาติเพียงดังว่าเถาวัลย์ ความตระหนี่ มูลแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร โคจรแห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ตัณหาเพียงดังว่าแม่น้ำ ตัณหา เพียงดังว่าข่าย ตัณหาเพียงดังว่าสายโซ่ ตัณหาเพียงดังว่าทะเล อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้เรียกว่า ชัปปา (ตัณหา) ตัณหานี้เป็นเครื่องทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก เป็นอุปกิเลส ของโลก โลกอันตัณหานี้ไล้ทา ฉาบทา ให้หมอง ให้มัวหมอง ให้เปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้ คล้องไว้ พันไว้ เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก. [๖๘] ชื่อว่า ทุกข์ ในอุเทศว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก ทุกข์ใน กำเนิดดิรัจฉาน ทุกข์ในเปตติวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีการ ตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความออกจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์เนื่องแต่สัตว์ผู้เกิด ทุกข์เนื่องแต่ ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของตน ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของผู้อื่น ทุกข์ในทุกข์ สงสารทุกข์ วิปริณามทุกข์ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคในศีรษะ โรคในหู โรคในปาก โรคฟัน โรคไอ โรคมองคร่อ โรคริดสีดวงจมูก โรคร้อนใน โรคชรา โรคในท้อง โรคสลบ โรคลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน ฝี กลาก โรคหืด โรคลมบ้าหมู หิดด้าน หิดเปื่อย คุดทะราด ลำลาบ คุดทะราดใหญ่ โรครากเลือด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวงทวาร โรคต่อม บานทะโรค อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิด เพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอกัน อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์แต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน ความตายของมารดาก็เป็นทุกข์ ความตายของ บิดาก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องชายก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องหญิงก็เป็นทุกข์ ความ ตายของบุตรก็เป็นทุกข์ ความตายของธิดาก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งญาติก็เป็นทุกข์ ความ ฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายเพราะโรคก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งศีลก็เป็น ทุกข์ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิก็เป็นทุกข์ รูปาทิธรรมเหล่าใด มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นก็ปรากฏ รูปาทิธรรมเหล่านั้นก็มีความดับไปในเบื้องปลายปรากฏ วิบากอาศัยกรรม กรรมอาศัยวิบาก รูป อาศัยนาม นามก็อาศัยรูป นามรูปไปตามชาติ ชราก็ติดตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มีอะไรเป็นที่เร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง นี้เรียกว่าทุกข์. ทุกข์เป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็น เครื่องขัดข้อง ของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้. โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่. เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก. ทุกข์เป็นภัยใหญ่ ของโลกนั้น. [๖๙] (ท่านอชิตะทูลถามว่า) กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง. อะไรเป็น เครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย? ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรม เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อม ปิดกั้นได้? [๗๐] กระแส คือ ตัณหา กระแส คือ ทิฏฐิ กระแส คือ กิเลส กระแส คือ ทุจริต กระแส คือ อวิชชา ชื่อว่ากระแสในอุเทศว่า "สวนฺติ สพฺพธิ โสตา" บทว่า สพฺพธิ คือ ในอายตนะทั้งปวง. บทว่า สวนฺติ ความว่า ย่อมไหลไป ย่อมไหลหลั่ง ย่อม เลื่อนไป ย่อมเป็นไป คือ ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปในรูปทางจักษุ ในเสียงทางหู ในกลิ่นทางจมูก ในรสทางลิ้น ในโผฏฐัพพะทางกาย ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปในธรรมารมณ์ทางใจ รูปตัณหา ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อน ไป ย่อมเป็นไปทางจักษุ สัททตัณหาย่อมไหลไป ... ทางหู คันธตัณหาย่อมไหลไป ... ทางจมูก รสตัณหาย่อมไหลไป ... ทางลิ้น โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหลไป ... ทางกาย ธรรมตัณหาย่อมไหล ไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสทั้งหลาย ย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง. [๗๑] คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อชิโต เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวถึงความเป็นไปกับด้วย ความเคารพและความยำเกรง. บทว่า อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็น บัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่องทรงชื่อ เป็นภาษาที่ร้องเรียก กัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า "อิจฺจายสฺมา อชิโต". [๗๒] คำว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่าอะไรเป็นเครื่องกั้น คือ เป็น เครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย? [๗๓] คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่า ขอพระองค์จงตรัส คือ จงทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่อง รักษา เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกซึ่ง ธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. [๗๔] คำว่า กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดกั้นได้ ความว่า กระแสทั้งหลายอันอะไร ย่อมปิดบังได้ คือ ย่อมตัดขาด ย่อมไม่ไหล ย่อมไม่หลั่ง ย่อมไม่เลื่อน ย่อมไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดได้? เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามว่า) กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง. อะไรเป็น เครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย? ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรม เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อม ปิดกั้นได้? [๗๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอชิตะ) กระแสเหล่าใด ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น. เรากล่าวธรรม เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. กระแสเหล่านี้อันปัญญา ย่อมปิดกั้นได้. [๗๖] คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใด เราบอกแล้ว เล่าแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ประกาศแล้ว คือ กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา. บทว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า กระแสเหล่าใดในโลก. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อชิตะ. [๗๗] ความระลึก คือ ความตามระลึก ความระลึกเฉพาะ สติ ความระลึก ความ ทรง ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค (มรรคเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว) ชื่อว่า สติ ในอุเทศว่า "สติ เตสํ นิวารณํ" นี้เรียกว่า สติ. บทว่าเป็นเครื่องกั้น ความว่า เป็นเครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น. [๗๘] คำว่า เราย่อมกล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่า ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ย่อมประกาศ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้น กระแสทั้งหลาย. [๗๙] ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร. ข้อว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิด กั้นได้ ความว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมตัดขาด ไม่ไหลไป ไม่ หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขาร ทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาบุคคลผู้รู้เห็น ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญา ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแส เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ย่อมปิดกั้นได้... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของ บุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแส เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัยจึงมีภพ ย่อมปิดกั้นได้ ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญา ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะ จึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา และมรณะจึงดับ ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล ผู้รู้เห็นว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความ ดับอาสวะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า ธรรม เหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรม เหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็น ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อัน ปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งมหารูป ๔ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อม ปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแส เหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกันได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้. [๘๐] (ท่านอชิตะทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ย่อมดับ ไป ณ ที่ไหน? ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัส บอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด. [๘๑] ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความกำหนดพร้อม ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็น ผู้ละเอียดอ่อน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ความคิด ความพิจารณา ปัญญาดังแผ่นดิน ความปรีชา ปัญญาอันน้อมไป ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาอันเจาะแทงเหมือนประตัก ปัญญินทรีย์ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเพียงดังศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาเพียงดังแสงสว่าง ปัญญา เพียงดังรัศมี ปัญญาเพียงดังประทีป ปัญญาเพียงดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าปัญญา ในอุเทศว่า "ปญฺญา เจว สติ จาปิ" ความระลึก ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ ชื่อว่า สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อชิตมาณพทูลถามว่า ปัญญา สติ. [๘๒] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามรูป ความว่า อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่า รูป บทว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ บทว่า มาริสนี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความ ยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามรูป. [๘๓] คำว่า เอตมฺเม ในอุเทสว่า "เอตมฺเม ปุฏโฐ ปพฺรูหิ" ความว่า ข้าพระองค์ ขอทูลถาม ทูลวิงวอน เชื้อเชิญ ให้ประสาทข้อความใด บทว่า ปุฏโฐ ความว่า ข้าพระองค์ ทูลถามแล้ว คือ ทูลวิงวอน ทูลขอเชิญ ให้ประสาท บทว่า ปพฺรูหิ ความว่า ขอจงตรัส จงบอก จงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์. [๘๔] คำว่า กตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ ความว่า นั่นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงความ ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นั่นย่อมดับ ณ ที่ไหน. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ย่อม ดับไป ณ ที่ไหน? ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัส บอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด. [๘๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ดูกรอชิตะ ท่านได้ถามปัญหาข้อใดแล้ว เราจะแก้ปัญหา ข้อนั้นแก่ท่าน. นามและรูปดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด นามรูปนั้นก็ดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ. [๘๖] บทว่า ยเมตํ ในอุเทศว่า "ยเมตํ ปญฺหํ อปุจฺฉิ" คือ ปัญญา สติและนามรูป บทว่า อปุจฺฉิ คือ มาถาม มาวิงวอน เชื้อเชิญ ให้ประสาทแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน ได้ถามปัญหาใดแล้ว. [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า "อชิตะ" ในอุเทศว่า "อชิต ตํ วทามิ เต" บทว่า ตํ คือ ปัญญา สติ และนามรูป บทว่า วทามิ ความว่า เราจะกล่าว จะบอก จะแสดง จะบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศปัญหานั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรอชิตะ เราจะกล่าวปัญหานั้นแก่ท่าน. [๘๘] อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม ในอุเทศว่า "ยตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ" มหาภูตรูป ๔ รูปอันอาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่ารูป. คำว่า อเสสํ ความว่า ไม่เหลือ คือทั้งหมด โดยกำหนัดทั้งหมด ทั้งหมดโดยประการทั้งหมด ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า อเสสํ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า อุปรุชฺฌติ ความว่า ย่อมดับ คือสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นามรูปย่อมดับไม่เหลือ ณ ที่ใด. [๘๙] คำว่า นามรูปนั้นดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ ความว่า ธรรม เหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในสงสารมีส่วนเบื้องต้น และที่สุดอันรู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับ แห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ. ธรรมเหล่าใด คือ นาม และรูป พึงเกิดขึ้นในภพ ๕ เว้นภพ ๒ ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วย สกทาคามิมรรคญาณ. ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุ เว้นภพ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะ ความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอนาคามิมรรคญาณ. ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอรหัตมรรคญาณ. เมื่อ พระอรหันต์ปรินิพพานด้วยปรินิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญา สติ และ นามรูป ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความ ดับแห่งวิญญาณดวงก่อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นามรูปนั้นย่อมดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับ แห่งวิญญาณ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอชิตะ ท่านได้ถามปัญหาข้อใดแล้ว เราจะแก้ปัญหา ข้อนั้นแก่ท่าน นามและรูปดับไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด นามรูปนั้นก็ดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ. [๙๐] (ท่านอชิตะทูลถามว่า) พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสข- บุคคลในทิฏฐิเป็นต้นนี้มีมาก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา ได้โปรด ตรัสบอกความดำเนินของพระขีณาสพและเสขบุคคลเหล่านั้น แก่ข้าพระองค์เถิด. [๙๑] คำว่า "เย จ สงฺขาตธมฺมา เส" ความว่า พระอรหันตขีณาสพ ท่านกล่าวว่ามี สังขาตธรรม. เพราะเหตุไร? พระอรหันตขีณาสพท่านจึงกล่าวว่า มีสังขาตธรรม เพราะเหตุว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น มีธรรมอันนับแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันพินิจแล้ว มี ธรรมอันพิจารณาแล้ว มีธรรมอันเป็นแจ้งแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว คือ มีธรรมอันนับแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ ไปเป็นธรรมดา. อนึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ อันพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นนับพร้อมแล้ว. อนึ่ง พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ตั้งอยู่แล้ว ในที่สุดแห่งขันธ์ ในที่สุดแห่งธาตุ ในที่สุดแห่งอายตนะ ในที่สุดแห่งคติ ในที่สุดแห่งอุปบัติ ในที่สุดแห่งปฏิสนธิ ในที่สุดแห่งภพ ในที่สุดแห่งสงสาร ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพ อันมีในที่สุดตั้งอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด. ภพและอัตภาพ คือ ความเกิด ความตายและสงสารนี้ ของพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นมีเป็นครั้งสุดท้าย ท่านไม่มี การเกิดในภพใหม่อีก. เหตุนั้น พระอรหันตขีณาสพ ท่านจึงกล่าวว่า มีสังขาตธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระ- *อรหันตขีณาสพเหล่าใด ผู้มีสังขาตธรรม. [๙๒] คำว่า "เสกฺขา" ในอุเทศว่า "เย จ เสกฺขา ปุถูอิธ" ความว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่าพระเสขะ? เพราะยังต้องศึกษาต่อไป. ศึกษาอะไร? ศึกษาอธิศีลสิกขาบ้าง อธิจิต- *สิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง. ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์แม้เล็ก ศีลขันธ์แม้ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเครื่องกั้น เป็นความ สำรวม เป็นความระวัง เป็นประมุข เป็นประทานแห่งความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา. ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา. ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องพิจารณา เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ. ภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. พระเสขะทั้งหลาย คำนึงถึงไตรสิกขานี้ศึกษาอยู่ รู้ศึกษาอยู่ อธิษฐานจิตศึกษาอยู่ น้อมใจไปด้วยศรัทธาศึกษาอยู่ ประคองความเพียรศึกษาอยู่ ตั้งสติไว้ศึกษาอยู่ ตั้งจิตศึกษาอยู่ รู้ทั่วด้วยปัญญาศึกษาอยู่ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษาอยู่ กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษาอยู่ ละธรรมที่ควรละศึกษาอยู่ เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษาอยู่ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษา อยู่ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเต็มใจ สมาทานประพฤติไป เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าพระเสขะ. บทว่า ปุถู ความว่า มีมาก คือ พระเสขะเหล่านี้ ได้แก่พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ อนาคามิผล พระอรหันต์ และท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตผล. บทว่า อิธ ความว่า ในทิฏฐิ คือ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความถือนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าและพระเสขะทั้งหลายในทิฏฐินี้มีมาก. [๙๓] คำว่า "ปุฏฺโฐ ปพฺรูหิ มาริส" ในอุเทศว่า "เตสํ เม นิปโกริยํ ปุฏฺโฐ ปพฺรูหิ มาริส" ความว่า แม้พระองค์ มีปัญญา เป็นบัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีฌาน มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว คือ ไต่ถาม ทูลวิงวอน ทูลอาราธนา ทูลเชื้อเชิญให้ประสาทแล้ว ขอจงตรัส คือ จงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศซึ่งความดำเนิน คือ ความประพฤติ ความเป็นไป ความประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ธรรมอันเป็นโคจร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ข้อปฏิบัติของพระอรหันต- *ขีณาสพผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่านั้น. บทว่า มาริส นี้เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญาจงตรัส บอกถึงความดำเนินของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสข- บุคคลในทิฏฐินี้มีมาก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา จงตรัสบอกความดำเนิน ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขบุคคลเหล่านั้น แก่ข้าพระองค์เถิด. [๙๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ดูกรอชิตะ ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ. [๙๕] โดยอุทานว่า กามา ในอุเทศว่า "กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย" ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าพอใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว เรือนคลัง วัตถุอันชวนให้กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม อีกอย่างหนึ่ง กามส่วนอดีต กามส่วนอนาคต กามส่วนปัจจุบัน กามภายใน กามภายนอก กามทั้งภายในภายนอก กามเลว กามปานกลาง กามประณีต กามมีในอบาย กามมีในมนุษย์ กามอันเป็นทิพย์ กามที่ปรากฏ กามที่นิรมิตเอง กามที่ผู้อื่นนิรมิต กามที่หวงแหน กามที่ไม่หวงแหน กามที่ถือว่าของเรา กามที่ไม่ถือว่าของเรา กามาวจรธรรมแม้ทั้งปวง รูปาวจร- *ธรรมแม้ทั้งปวง อรูปาวจรธรรมแม้ทั้งปวง ธรรมอันเป็นวัตถุแห่งตัณหา ธรรมอันเป็นอารมณ์ แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม. กิเลสกามเป็นไฉน? ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ สังกัปปะ ราคะ สังกัปปราคะ เป็นกาม ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาในกาม เสน่หาในกาม ความกระหายในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความติดใจในกาม ความหลงในกาม ความพัวพัน ในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์. ดูกรกาม เราได้เห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว. ดูกรกาม เจ้าเกิดเพราะความดำริถึง. เราจักไม่ดำริถึงเจ้าละ. ดูกรกาม เจ้าจักไม่มีด้วยอาการอย่างนี้. เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ความติดใจ. คำว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย ความว่า ไม่ติดใจ คือ ไม่พัวพัน เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน ปราศจากความติดใจ สละความติดใจ คายความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละความติดใจ สลัดความติดใจ ปราศจากความกำหนัด สละความกำหนัด คลายความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด ละความกำหนัด สลัดความกำหนัด ในกิเลสกามทั้งหลาย ในวัตถุกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่หิว ดับสนิท เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย. [๙๖] จิต มนะ มานัส หทัย ธรรมชาติขาวผ่อง อายตนะคือใจ อินทรีย์คือใจ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ชื่อว่า ใจ ในอุเทศว่า "มนสานาวิโล สิยา". จิต เป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อ หวั่นไหว หนุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ จิต เป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อไป หวั่นไหว หนุนไป ไม่สงบ เพราะกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ความว่า พึงเป็นผู้ไม่ขุ่นมัว คือ ไม่ยุ่งไป ไม่เป็นไป ไม่สืบต่อไป ไม่หวั่นไหว ไม่หนุนไป สงบแล้วด้วยจิต คือ พึงละ สละ บรรเทา กระทำให้มี ในที่สุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป สลัด สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้มีใจปราศจาก เขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัวอยู่. [๙๗] คำว่า กุสโล สพฺพธมฺมานํ ความว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น ธรรมดา พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงโดยเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นสภาพชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นสภาพไม่สำราญ เป็นภัย เป็นอุปสรรค หวั่นไหว ผุพัง ไม่ยั่งยืน ไม่มีอะไร ต้านทาน ไม่มีที่เร้น ไม่มีสรณะ ไม่เป็นที่พึ่ง ว่าง เปล่า สูญ เป็นอนัตตา มีโทษ มีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่เป็นแก่นสาร เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นผู้ฆ่า เป็นสภาพปราศจาก ความเจริญ มีอาสวะ ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา โดยความเกิด โดยความดับ ไม่มีคุณ มีโทษ ไม่มีอุบายเป็นเครื่องออกไป พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ... ธาตุ ... อายตนะ ... ปฏิจจสมุปบาท ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ ... มรรค ... ผล ... นิพพาน พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง อายตนะ ๑๒ คือ จักษุรูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่า ธรรมทั้งปวง. ก็ภิกษุเป็นผู้ละความกำหนัดในอายตนะ ภายในภายนอก คือ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งเหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีใน ภายหลัง มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด ภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง แม้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉลาดในธรรมทั้งปวง. [๙๘] บทว่า สโต ในอุเทศว่า "สโต ภิกขุ ปริพฺพเช" ความว่า ภิกษุมีสติด้วย เหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ๑ มีสติเจริญเวทนานุปัสสนา- *สติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ๑ มีสติเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ๑ มีสติเจริญธัมมา- *นุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ๑. ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะเว้นความเป็นผู้ไม่มีสติ ๑ เพราะนำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความทำสติ ๑ เพราะละธรรมเป็นข้าศึกแก่สติ ๑ เพราะไม่หลงลืมธรรม อันเป็นนิมิตแห่งสติ ๑. ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสติ ๑ เพราะความชำนาญด้วยสติ ๑ เพราะความเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ ๑ เพราะไม่กลับลงจากสติ ๑. ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็นผู้มีสติเสมอ ๑ เพราะ ความเป็นผู้สงบ ๑ เพราะความเป็นผู้ระงับ ๑ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของผู้สงบ ๑. มีสติเพราะพุทธานุสสติ เพราะธัมมานุสสติ เพราะสังฆานุสสติ เพราะสีลานุสสติ เพราะจาคานุสสติ เพราะเทวดานุสสติ เพราะอานาปานัสสติ เพราะมรณานุสสติ เพราะกาย- *คตาสติ เพราะอุปสมานุสสติ สติ ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วย สตินี้ ภิกษุนั้นเรียกว่ามีสติ. คำว่า "ภิกขุ" คือ ชื่อว่าภิกขุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม ๗ ประการ คือ เป็นผู้ทำลาย สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำลาย อกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบาก เป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป. (พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรสภิยะ) ภิกษุนั้นบรรลุถึงปรินิพพานแล้ว เพราะธรรมเป็นหนทางที่ตนทำ (ดำเนิน) แล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ละแล้วซึ่งความเสื่อม และความเจริญ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว. คำว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ ความว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ คือ พึงมีสติเดิน พึงมี สติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอน พึงมีสติก้าวไปข้างหน้า พึงมีสติถอยกลับ พึงมีสติแลดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติเหยียดออก พึงมีสติทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป พึงมีสติอยู่ คือ เป็นไป เปลี่ยนแปลง รักษา บำรุง เยียวยา ให้เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ. [๙๙] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค) ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความอบรมวาสนาร่วมกัน กับอชิตพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. และจิตของอชิตพราหมณ์ นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของอชิตพราหมณ์หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. อชิตพราหมณ์ นั้น เป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร เพราะการปฏิบัติตาม ประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี- *พระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบ อชิตมาณวกปัญหานิสเทสที่ ๑.
-----------------------------------------------------
ติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านติสสเมตเตยยะ
[๑๐๐] (ท่านติสสเมตเตยยะทูลถามว่า) ใครสันโดษแล้วในโลกนี้? ความหวั่นไหวของใครย่อมไม่มี? ใครรู้ส่วนสุดทั้งสองแล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา? พระองค์ตรัสเรียกใครว่า เป็นมหาบุรุษ? ใครล่วงแล้วซึ่งตัณหา อันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้? [๑๐๑] คำว่า ใครสันโดษแล้วในโลกนี้ ความว่า ใครพอใจ คือ ชอบใจ มีความ ดำริบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครสันโดษแล้วในโลกนี้? บทว่า อิติ ในอุเทศว่า "อิจฺจา- *ยสฺมา ติสฺสเมตฺเตยโย" ดังนี้ เป็นบทสนธิ คือ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังเนื้อความให้ บริบูรณ์ เป็นความประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ บทว่า อิติ นี้ เป็น ไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวถึงเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำว่า ติสสเมตฺเตยฺโย เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็นเครื่องเรียกร้อง เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่องทรงชื่อ เป็นภาษาที่เรียกร้องกัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า "อิจฺจายสฺมา ติสฺสเมตฺเตยฺโย". [๑๐๒] คำว่า ความหวั่นไหวของใครย่อมไม่มี ความว่า ความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหว เพราะกรรม ความหวั่นไหวเหล่านี้ของใครย่อมไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ คือ ความ หวั่นไหว อันใครละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว มีความไม่ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวั่นไหวของใครย่อมไม่มี? [๑๐๓] คำว่า ใครรู้ส่วนสุดทั้งสองแล้ว ความว่า ใครรู้จัก คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครรู้จักส่วนสุด ทั้งสองแล้ว? [๑๐๔] คำว่า ไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา ความว่า ไม่ติด คือ ไม่เข้าไปติด ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติด ในท่ามกลางด้วยปัญญา. [๑๐๕] คำว่า พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ ความว่า พระองค์ตรัสเรียกใคร คือ ตรัสใคร ทรงสำคัญใคร ทรงชมเชยใคร ทรงเห็นใคร ทรงบัญญัติใครว่าเป็นมหาบุรุษ คือ เป็นอัคคบุรุษ บุรุษสูงสุด บุรุษวิเศษ บุรุษประธาน อุดมบุรุษ บุรุษประเสริฐ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ? [๑๐๖] คำว่า ใครล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้ ความว่า ใครล่วง แล้ว คือ เข้าไปล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว พ้นแล้ว เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่อง เย็บไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ใครสันโดษแล้วในโลกนี้? ความหวั่นไหวของใครย่อมไม่มี? ใครรู้ส่วนสุดทั้งสองแล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา? พระองค์ย่อมตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ? ใครล่วงแล้วซึ่ง ตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้? [๑๐๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรเมตเตยยะ) ภิกษุมีพรหมจรรย์ในเพราะกาม ทั้งหลาย ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ ทราบแล้ว ดับแล้ว ไม่มีความหวั่นไหว ภิกษุนั้นรู้ ยิ่งซึ่งส่วนสุดทั้งสอง และท่ามกลางด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็น มหาบุรุษ. ภิกษุนั้น ล่วงเสียแล้วซึ่งตัณหา อันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้. [๑๐๘] โดยอุทานว่า กามา ในอุเทศว่า "กาเมสุพฺรหฺมจริยวา" ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม เหล่านี้เรียกว่ากิเลสกาม, คำว่า มีพรหมจรรย์ ความว่า ความงด ความเว้น ความเว้นขาด ความขับไล่เวร กิริยาที่ไม่กระทำ ความไม่ทำ ความไม่ต้อง ความไม่ล่วงแดน ซึ่งความถึงพร้อมด้วยอสัทธรรมเรียกว่า พรหมจรรย์. อีกอย่างหนึ่ง โดยตรงท่านเรียก อริยมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ว่าพรหมจรรย์. ภิกษุใดเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบ ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ภิกษุนั้น ท่านเรียกว่า มีพรหมจรรย์ เขาเรียกบุคคลว่า มีทรัพย์ เพราะทรัพย์ เรียกกันว่า มีโภคะ เพราะโภคะ เรียกกันว่ามียศ เพราะยศ เรียกกันว่า มีศิลป เพราะศิลป เรียกกันว่ามีศีล เพราะศีล เรียกกันว่า มีความเพียร เพราะความเพียร เรียกกันว่า มีปัญญา เพราะปัญญา เรียกกันว่ามีวิชชา เพราะวิชชา ฉันใด ภิกษุใดเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ภิกษุนั้นท่านก็ เรียกว่า มีพรหมจรรย์ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพรหมจรรย์ในเพราะกาม ทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตรว่า ดูกรเมตเตยยะ. คำว่า ภควา เป็น เครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรเมตเตยยะ. [๑๐๙] รูปตัณหา ... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า "ปราศจากตัณหา มีสติ ทุกเมื่อ". ภิกษุใดละตัณหานี้ขาดแล้ว คือ ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว มีความไม่ควร เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า ปราศจากตัณหา คือ สละตัณหาแล้ว คายตัณหาแล้ว ปล่อยตัณหาแล้ว ละตัณหาแล้ว สละคืนตัณหาแล้ว มีราคะไปปราศจากแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สละคืนราคะแล้ว เป็นผู้ไม่มี ความหิว เป็นผู้ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนเป็นเพียงดังพรหมอยู่. คำว่า สทา ความว่า ทุกเมื่อ คือ ทุกสมัย ตลอดกาลทั้งปวง กาลเป็นนิตย์ กาล ยั่งยืน ติดต่อ เนืองๆ เนื่องกัน ต่อลำดับไม่สับสนกัน ไม่ว่าง ประกอบด้วยความพร้อมเพรียง ถูกต้องกัน กาลเป็นปุเรภัต กาลเป็นปัจฉาภัต ตลอดยามต้น ตลอดยามกลาง ตลอดยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง. คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ชื่อว่า มีสติ เพราะเป็นผู้เจริญ สติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย ๑ ... การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๑ ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ๑ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ๑ ฯลฯ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า ผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ. [๑๑๐] คำว่า ญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ ความเลือกเฟ้น ฯลฯ ความไม่หลง ความ เลือกเฟ้นธรรม ปัญญาอันเห็นชอบ ชื่อว่า สังขา ในอุทเทศว่า สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกขุ. คำว่า ทราบแล้ว ความว่า ทราบ คือ รู้ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง แล้ว คือ ทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง ทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดังหัวผี ... เป็นลูกศร ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องออกไป. คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับราคะ โทสะ โมหะ ... มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ เดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ภิกษุนั้น ... อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... ทราบแล้ว ดับแล้ว. [๑๑๑] คำว่า ตสฺส ในอุเทศว่า "ตสฺส โน สนฺติ อิญฺชิตา" ความว่า พระอรหันต- *ขีณาสพไม่มีความหวั่นไหว คือ ความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความ หวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะกรรม. ความหวั่นไหว เหล่านี้ย่อมไม่มี ได้แก่ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่ภิกษุนั้น คือความหวั่นไหวเหล่านี้ภิกษุนั้น ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ไม่อาจเกิดขึ้นอีก เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นไม่มีความหวั่นไหวทั้งหลาย. [๑๑๒] คำว่า ที่สุด ในอุเทศว่า "โส อุภนฺตมภิญฺญาย มชฺเฌ มนฺตา น ลิมฺปติ" ดังนี้ ความว่า ผัสสะเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง เหตุให้เกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่สอง ความดับผัสสะ เป็นท่ามกลาง อดีตเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดที่สอง ปัจจุบัน เป็นท่ามกลาง สุขเวทนาเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่สอง อทุกขมสุขเวทนาเป็นท่ามกลาง นามเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดที่สอง วิญญาณเป็นท่ามกลาง อายตนะภายใน ๖ เป็น ส่วนสุดข้างหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่สอง วิญญาณเป็นท่ามกลาง สักกายะเป็น ส่วนสุดข้างหนึ่ง เหตุให้เกิดสักกายะเป็นส่วนสุดที่สอง ความดับสักกายะเป็นท่ามกลาง. ปัญญา ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ปัญญาอันเห็น ชอบ เรียกว่า มันตา. ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดเพราะตัณหา ๑ ความติดเพราะทิฏฐิ ๑ ชื่อว่า เลปา. ความติดเพราะตัณหาเป็นไฉน? การทำเขต การทำแดน การทำส่วน การทำความกำหนด ความหวงแหน ความยึดถือ โดยส่วนแห่งตัณหาว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ประมาณเท่านี้ของเรา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ไร่นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้านนิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว คลังของเรา บุคคลย่อมยึดถือเอามหาปฐพีแม้ทั้งสิ้นว่าเป็นของ เราด้วยสามารถแห่งตัณหา และตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ เป็นความติดเพราะตัณหา. ความติดเพราะ ทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความเห็น รกชัฏคือทิฏฐิ ทางกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ ความ ประกอบไว้คือทิฏฐิ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำ ทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยความแสวงหาผิด ความถืออันวิปริต ความถือ อันวิปลาส ความถือผิด ความถือในวัตถุอันไม่จริงว่าวัตถุจริง ทิฏฐิ ๖๒ เท่าใด นี้เป็นความติด เพราะทิฏฐิ. คำว่า ภิกษุนั้นรู้ยิ่งซึ่งส่วนสุดทั้งสองและท่ามกลาง ด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่ ความว่า ภิกษุนั้นรู้ยิ่ง ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งส่วนสุดทั้งสองและ ท่ามกลางด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ คือ ไม่เข้าไปติด ไม่ทา ไม่เปื้อน ออกไป สละไป หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีจิตปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นรู้ยิ่งซึ่ง ส่วนสุดทั้งสอง และท่ามกลางด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่. [๑๑๓] คำว่า ตํ พฺรูมิ มหาปุริโส ความว่า เราย่อมเรียก กล่าว สำคัญ บอก เห็น บัญญัติ ภิกษุนั้นว่า เป็นมหาบุรุษ คือ เป็นอัคคบุรุษ บุรุษสูงสุด บุรุษวิเศษ บุรุษเป็น ประธาน อุดมบุรุษ บุรุษประเสริฐ. ท่านพระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า มหาบุรุษ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล บุคคลจึง เป็นมหาบุรุษ? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสารีบุตร เรากล่าวว่า เป็นมหาบุรุษ เพราะ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น เราไม่กล่าวว่า เป็นมหาบุรุษเพราะเป็นผู้น้อมจิตเชื่อ. ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างไร? ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายใน กายเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุ นั้นพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ ถือมั่น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... ในจิต ... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรสารีบุตร ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ดูกรสารีบุตร เรากล่าวว่า เป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว เราไม่กล่าวว่า เป็นมหาบุรุษ เพราะ เป็นผู้น้อมจิตเชื่อ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า "เราย่อมเรียกภิกษุนั้นว่า มหาบุรุษ". [๑๑๔] คำว่า ภิกษุนั้นล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้ ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้. ตัณหา อันเป็นเครื่องเย็บไว้นั้น อันภิกษุใดละแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ไม่อาจเกิดขึ้น อีก เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นล่วงแล้ว คือ เข้าไปล่วงแล้ว ล่วงไปแล้ว ล่วงเลย ไปแล้ว ซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่าล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็น เครื่องเย็บไว้ในโลกนี้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุมีพรหมจรรย์ในเพราะกามทั้งหลาย ปราศจากตัณหา มี สติทุกเมื่อ ทราบแล้ว ดับแล้ว ไม่มีความหวั่นไหว. ภิกษุนั้น รู้ส่วนสุดทั้งสองและท่ามกลางด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่ติด อยู่. เราเรียกภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ. ภิกษุนั้นล่วงเสียแล้ว ซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้. [๑๑๕] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค) ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความอบรมวาสนาร่วมกันกับติสสเมตเตยยพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่ง หนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. และจิตของ ติสสเมตเตยยพราหมณ์นั้นพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น. หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้ำ ผมและหนวดของติสสเมตเตยยพราหมณ์หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุ อรหัต. ติสสเมตเตยยพราหมณ์นั้นเป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและ จีวร เพราะการปฏิบัติตามประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคประกาศว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๒
-----------------------------------------------------
ปุณณกมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านปุณณกะ
[๑๑๖] (ท่านปุณณกะทูลถามดังนี้ว่า) ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล. ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ และพราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้อาศัยอะไร จึงพากัน แสวงหายัญให้แก่เทวดาทั้งหลาย? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหา นั้นแก่ข้าพระองค์เถิด. [๑๑๗] คำว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ความหวั่นไหว. ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหว นั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละขาดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่มี ความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าอเนชะ เพราะพระองค์ทรงละตัณหาเครื่องหวั่นไหวขาดแล้ว ย่อมไม่ทรงหวั่นไหวเพราะลาภ แม้เพราะความเสื่อมลาภ แม้เพราะยศ แม้เพราะความเสื่อมยศ แม้เพราะสรรเสริญ แม้เพราะนินทา แม้เพราะสุข แม้เพราะทุกข์ ... ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่คลอนแคลน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อเนชะ. คำว่า มูลทสฺสาวี ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล คือ ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็น นิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็นอาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย ทรงเห็นสมุทัย. อกุศลมูล ๓ คือ โลภะอกุศลมูล ๑ โทสะอกุศลมูล ๑ โมหะอกุศลมูล ๑. สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเกิดขึ้น แห่งกรรม ๓ ประการนี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่ปรากฏเพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะกรรมเกิดแต่ โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือทุคติ อย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏ เพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะ กรรมเกิดแต่โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ. อกุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพ ในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มี- *พระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้. กุศลมูล ๓ ประการ คือ อโลภะกุศลมูล ๑ อโทสะกุศลมูล ๑ อโมหะกุศลมูล ๑. สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า กุศลมูล ๓ ประการนี้ ฯลฯ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่ปรากฏเพราะ กรรมเกิดแต่อโลภะ เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะกรรมเกิดแต่อโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เทวดา มนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏเพราะกรรมเกิดแต่อโลภะ เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะกรรมเกิดแต่อโมหะ. กุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิด แห่งอัตภาพในเทวดา และในมนุษย์. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้. และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้นมีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นที่รวม มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด. พระผู้มี- *พระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการ อย่างนี้. และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นกุศล เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่ายกุศล ธรรมทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่รวม ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งสังขาร สังขาร เป็นมูลแห่งวิญญาณ วิญญาณเป็นมูลแห่งนามรูป นามรูปเป็นมูลแห่งสฬายตนะ สฬายตนะ- *เป็นมูลแห่งผัสสะ ผัสสะเป็นมูลแห่งเวทนา เวทนาเป็นมูลแห่งตัณหา ตัณหาเป็นมูลแห่งอุปาทาน อุปาทานเป็นมูลแห่งภพ ภพเป็นมูลแห่งชาติ ชาติเป็นมูลแห่งชราและมรณะ. พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการ อย่างนี้. และสมจริงตามพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้นมีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นที่รวม มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด. พระผู้มี- *พระภาคทรงเห็นมูล ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็นนิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็น อาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงเห็นมูล. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจจฺายสฺมา ปุณฺณโก เป็นบทสนธิ. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า ปุณฺณโก เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. [๑๑๘] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ความว่า ข้าพระองค์มี ความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า คือ ข้าพระองค์ประสงค์จะทูลถามปัญหาจึงมาเฝ้า ประสงค์ จะฟังปัญหาจึงมาเฝ้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายประสงค์จะทูลถามปัญหา คือ ประสงค์จะ ฟังปัญหาจึงมาเฝ้า คือ เข้ามาเฝ้า เข้าใกล้ นั่งใกล้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความ ต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า พระองค์ทรงมี ประสงค์ด้วยปัญหาจึงเสด็จมา คือ แม้พระองค์ก็ทรงอาจ ทรงสามารถ ทรงเป็นผู้ควรจะตรัส จะวิสัชนา จะทรงแสดง จะชี้แจง ซึ่งปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการฉะนี้. [๑๑๙] คำว่า กึนิสฺสิตา ในอุเทศว่า กึนิสฺสิตา อิสโย มนุชา ความว่า อาศัย คือ หวัง เยื่อใย เข้าไปใกล้ พัวพัน น้อมใจถึงซึ่งอะไร. บุคคลพวกใดพวกหนึ่งมีชื่อว่าฤาษี คือ ผู้ที่บวชเป็นฤาษี เป็นอาชีวก เป็นนิครนถ์ เป็นชฎิล เป็นดาบส ชื่อว่า อิสโย. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกมนุษย์ว่า มนุชา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฤาษี มนุษย์อาศัยอะไร? [๑๒๐] ผู้ที่เกิดเป็นชาติกษัตริย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่ากษัตริย์ ในอุเทศว่า "ขตฺติยา พฺราหฺมณา เทวตานํ" ผู้ที่ยกย่องสรรเสริญกันว่า มีวาทะเจริญ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่าพราหมณ์. คำว่า เทวตานํ ความว่า อาชีวกเป็นเทวดาของพวกอาชีวกสาวก นิครนถ์เป็นเทวดาของพวกนิครนถ์- *สาวก ชฎิลเป็นเทวดาของพวกชฎิลสาวก ปริพาชกเป็นเทวดาของพวกปริพาชกสาวก ดาบส เป็นเทวดาของพวกดาบสสาวก ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติหัตถีพรต ม้าเป็นเทวดาของ พวกประพฤติอัสสพรต โคเป็นเทวดาของพวกประพฤติโคพรต สุนัขเป็นเทวดาของพวกประพฤติ กุกกุรพรต กาเป็นเทวดาของพวกประพฤติกากพรต ท้าววาสุเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติ วาสุเทวพรต พลเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติพลเทพพรต ท้าวปุณณภัทร์เป็นเทวดาของ พวกประพฤติปุณณภัททพรต ท้าวมณิภัทร์เป็นเทวดาของพวกประพฤติมณิภัททพรต ไฟเป็นเทวดา ของพวกประพฤติอัคคิพรต นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤตินาคพรต ครุฑเป็นเทวดาของพวก ประพฤติสุบรรณพรต ยักษ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติยักขพรต อสูรเป็นเทวดาของพวก ประพฤติอสูรพรต คนธรรพ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติคันธัพพพรต ท้าวมหาราชเป็นเทวดา ของพวกประพฤติมหาราชพรต จันทเทวบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติจันทรพรต สุริยเทพบุตร เป็นเทวดาของพวกประพฤติสุริยพรต อินทเทพบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติอินทรพรต พรหมเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรหมพรต พวกเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติเทพพรต ทิศทั้งหลายเป็นเทวดาของพวกประพฤติทิศาพรต พระทัทขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมของ ชนเหล่าใด ก็เป็นเทวดาของชนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... เทวดา ทั้งหลาย. [๑๒๑] ไทยธรรม คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป ท่านเรียกว่า ยัญ ในอุเทศว่า "ยญฺญมกปฺปึสุ ปุถูธ โลเก". คำว่า แสวงหาแล้วซึ่งยัญ ความว่า แม้ชน เหล่าใดย่อมแสวงหา เสาะหา สืบหายัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า แสวงหายัญ. แม้ชนเหล่าใดย่อมจัดแจงยัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า แสวงหายัญ. แม้ชนเหล่าใดย่อมให้ ย่อมบูชา ย่อมบริจาคยัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า แสวงหายัญ. คำว่า เป็นอันมาก คือ ยัญเหล่านั้นก็มาก ผู้บูชายัญนั้นก็มาก หรือพระทักขิไณยบุคคล นั้นก็มาก. ยัญเหล่านั้นมากอย่างไร? ยัญเหล่านั้นมาก คือ จีวร ... เครื่องประทีป ยัญเหล่านั้น มากอย่างนี้. ผู้บูชายัญนั้นมากอย่างไร? ผู้บูชายัญนั้นมาก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ ผู้บูชายัญนั้นมากอย่างนี้. หรือพระทักขิไณยบุคคลนั้น มากอย่างไร? พระทักขิไณยบุคคลนั้นมาก คือ สมณะ พราหมณ์ ยาจก วณิพก สาวกหรือ พระทักขิไณยบุคคลนั้นมากอย่างนี้. คำว่า ในโลกนี้ คือในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มากในโลกนี้ ... แสวงหาแล้วซึ่งยัญ. [๑๒๒] การถามมี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ ชื่อว่าปุจฉา ในอุเทศว่า "ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ". อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เทียบเคียง ไม่พิจารณา ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ปรากฏ โดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อเทียบเคียง เพื่อ พิจารณา เพื่อต้องการให้แจ่มแจ้ง เพื่อต้องให้ปรากฏ ซึ่งลักษณะนั้น ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะที่รู้ เห็น เทียบเคียง พิจารณาแจ่มแจ้ง ปรากฏ โดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อต้องการสนทนากับบัณฑิตอื่นๆ ชื่อว่า ทิฏฐสัง- *สันทนาปุจฉา. วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลแล่นไปสู่ความสงสัย ความเคลือบแคลง มีใจเป็น สองว่า เรื่องนี้เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอ หรือเป็น อย่างไร ดังนี้ โดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อต้องการตัดความเคลือบแคลงเสีย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา. ปุจฉา ๓ ประการนี้. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ มนุสสปุจฉา ๑ อมนุสสปุจฉา ๑ นิมมิตปุจฉา ๑. มนุสสปุจฉาเป็นไฉน? มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูล ถามปัญหา ภิกษุทั้งหลาย ... ภิกษุณีทั้งหลาย ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลาย ... พระราชา ทั้งหลาย ... กษัตริย์ทั้งหลาย ... พราหมณ์ทั้งหลาย ... แพศย์ทั้งหลาย ... ศูทรทั้งหลาย ... คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ... บรรพชิตทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา นี้ชื่อว่า มนุสสปัญหา. อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน? อมนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ย่อมทูลถาม ปัญหา นาคทั้งหลาย ... ครุฑทั้งหลาย ... ยักษ์ทั้งหลาย ... อสูรทั้งหลาย ... คนธรรพ์ทั้งหลาย ... ท้าวมหาราชทั้งหลาย ... พระอินทร์ทั้งหลาย ... พระพรหมทั้งหลาย ... เทวดาทั้งหลาย เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคแล้ว ย่อมทูลถามปัญหา นี้ชื่อว่า อมนุสสปุจฉา. นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคทรงนิรมิตพระรูปใด อันสำเร็จด้วยพระทัย มี อวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง พระพุทธนิรมิตนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้ แล้ว ย่อมตรัสถามปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่า นิมมิตปุจฉา. ปุจฉา ๓ ประการนี้. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามประโยชน์ตน ๑ การถามประโยชน์ผู้อื่น ๑ การถาม ประโยชน์ทั้งสอง ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๑ การถามถึงสัมปรายิกัตถ- *ประโยชน์ ๑ การถามถึงปรมัตถประโยชน์ ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงเนื้อความอันไม่มีโทษ ๑ การถามถึงเนื้อความอัน ไม่มีกิเลส ๑ การถามถึงเนื้อความอันผ่องแผ้ว ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงเรื่องอดีต ๑ การถามถึงเรื่องอนาคต ๑ การถามถึง เรื่องปัจจุบัน ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องภายใน ๑ การถามเรื่องภายนอก ๑ การถาม เรื่องทั้งภายในภายนอก ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องกุศล ๑ การถามเรื่องอกุศล ๑ การถามเรื่อง อัพยากฤต ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องขันธ์ ๑ การถามเรื่องธาตุ ๑ การถามเรื่อง อายตนะ ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องสติปัฏฐาน ๑ การถามเรื่องสัมมัปปธาน ๑ การ ถามเรื่องอิทธิบาท ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องอินทรีย์ ๑ การถามเรื่องพละ ๑ การถามเรื่อง โพชฌงค์ ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องมรรค ๑ การถามเรื่องผล ๑ การถามเรื่อง นิพพาน ๑. คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ความว่า ข้าพระองค์ทูลถาม คือ ทูลขอ ทูล เชื้อเชิญ ทูลให้ประสาท ซึ่งปัญหานั้นว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหาแก่ข้าพระองค์ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. คำว่า ภควา นี้ เป็นคำกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ. คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์จงตรัส ... ขอพระองค์จง ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอ พระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่ หวั่นไหว ผู้เห็นมูล. ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์เป็น อันมากในโลกนี้ อาศัยอะไร จึงพากันแสวงหายัญให้แก่ เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม ปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เถิด. [๑๒๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณกะ) ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้ เป็น อันมากในโลกนี้ พากันแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย. ดูกร ปุณณกะ ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก ในโลกนี้ เหล่านั้น หวังความเป็นอย่างนี้ อาศัยชรา จึง พากันแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย. [๑๒๔] คำว่า เยเกจิเม ในอุเทศว่า "เยเกจิเม อิสโย มนุชา" ดังนี้ ความว่า ทั้งหมด โดยกำหนดทั้งหมด ทั้งหมดโดยประการทั้งหมด ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ คำว่า เยเกจิเม นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง มีชื่อว่า ฤาษี คือ พวกที่บวชเป็นฤาษี อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส ชื่อว่า ฤาษี. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกมนุษย์ว่า มนุชา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฤาษี มนุษย์ ... เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปุณณกะ. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ พระนามว่า ภควา นี้ เป็น สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณกะ. [๑๒๕] ผู้ที่เกิดเป็นชาติกษัตริย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่ากษัตริย์ ในอุเทศว่า "ขตฺติยา พฺราหมณา เทวตานํ". ผู้ที่ยกย่องสรรเสริญกันว่ามีวาทะเจริญเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่าพราหมณ์ คำว่า เทวตานํ ความว่า อาชีวกเป็นเทวดาของพวกอาชีวบสาวก ฯลฯ ทิศทั้งหลายเป็นเทวดาของพวกประพฤติ ทิศาพรต พระทักขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมของชนเหล่าใด ก็เป็นเทวดาของชนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย. [๑๒๖] ไทยธรรม คือ จีวร ... เครื่องประทีป ท่านเรียกว่ายัญ ในอุเทศว่า ยญฺญมกปฺปึสุ ปุถูธ โลเก. คำว่า แสวงหาแล้วซึ่งยัญ ความว่า แม้ชนเหล่าใดย่อมแสวงหา เสาะหา สืบหา ยัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าแสวงหายัญ. คำว่า เป็นอันมาก คือ ยัญเหล่านั้นก็มาก ผู้บูชายัญนั้นก็มาก หรือพระทักขิไณยบุคคลนั้นก็มาก. ยัญเหล่านั้นมาก อย่างไร? ฯลฯ หรือพระทักขิไณยบุคคลมากอย่างนี้. คำว่า ในโลกนี้ คือ ในมนุษยโลก เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มากในโลกนี้ ... แสวงหาแล้วซึ่งยัญ. [๑๒๗] คำว่า อาสึสมานา ในอุเทศว่า อาสึสมานา ปุณฺณก อิตฺถตํ ความว่า หวัง คือ หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้บุตร หวังได้ ภรรยา หวังได้ทรัพย์ หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลคฤหบดีมหาศาล หวังได้อัตภาพ ในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวดาวดึงส์ หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวยามา หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวดุสิต หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวนิมมานรดี หวังได้อัตภาพใน [๑๒๘] คำว่า ชรํ สิตา ในอุเทศว่า ชรํ สิตา ยญฺญมกปฺปึสุ ความว่า อาศัยชรา อาศัยพยาธิ อาศัยมรณะ อาศัยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส บุคคลพวกนั้นแสวง หายัญในเทวดา เพราะอาศัยชาติ หรือว่าอาศัยชาติจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยชรา หรือว่าอาศัยชราจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัย พยาธิ หรือว่าอาศัยพยาธิจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยมรณะ หรือว่าอาศัยมรณะจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส หรือว่าอาศัยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึง แสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยคติ หรือว่าอาศัยคติจึงแสวงหายัญใน เทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยอุปบัติ หรือว่าอาศัยอุปบัติจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยปฏิสนธิ หรือว่าอาศัยปฏิสนธิจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยภพ หรือว่าอาศัยภพจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญ ในเทวดา เพราะอาศัยสงสาร หรือว่าอาศัยสงสารจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยวัฏฏะ หรือว่าอาศัยวัฏฏะจึงแสวงหายัญในเทวดา ปรารถนา พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยชรา จึงแสวงหายัญ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้ เป็น อันมากในโลกนี้ แสวงหายัญ แก่เทวดาทั้งหลาย. ดูกรปุณณกะ ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้เหล่านั้น หวังความเป็นอย่างนี้ อาศัยชราจึงแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย". [๑๒๙] (ท่านปุณณกะทูลถามว่า) มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้ มีเป็นอันมาก ในโลกนี้ แสวงหาแล้วซึ่งยัญ แก่เทวดาทั้งหลาย. ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประมาทแล้ว ในทางยัญ ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติชราบ้างหรือ? ข้าแต่พระผู้มี- พระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอก ปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์เถิด. [๑๓๐] คำว่า เยเกจิเม ในอุเทศว่า เยเกจิเม อิสโย มนุชา ดังนี้ ฯลฯ คำว่า กจฺจิสุ เต ภควา ยญฺญปเถ อปฺปมตฺตา ความว่า การถามเพื่อตัดความสงสัย การถามเพื่อ ตัดความเคลือบแคลง การถามเพื่อตัดความมีใจเป็นสอง การถามโดยไม่ใช่ส่วนเดียว เรื่องนี้ เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉน หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บ้างหรือ. คำว่า เต ความว่า ผู้บูชายัญ. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควานี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุคคล พวกนั้น ... บ้างหรือ. คำว่า ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ ความว่า ยัญนั้นแหละท่านกล่าวว่าทางยัญ อริยมรรค ทางอริยะ มรรคเทวดา ทางเทวดา มรรคพรหม ทางพรหม ฉันใด ยัญนั่นแหละ ท่านกล่าว ว่าทางยัญ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า ไม่ประมาทแล้ว ความว่า ไม่ประมาทแล้ว คือ ทำโดย ความเคารพ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดฉันทะ ไม่ทอดธุระ ในทางยัญ คือ ประพฤติอยู่ในทางยัญนั้น มากอยู่ในทางยัญนั้น หนักอยู่ในทางยัญนั้น น้อม ไปในทางยัญนั้น โอนไปในทางยัญนั้น เงื้อมไปในทางยัญนั้น น้อมใจไปในทางยัญนั้น มีทาง ยัญนั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ. แม้ชนเหล่าใดแสวงหา สืบหา เสาะหายัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป เป็นผู้กระทำโดยเคารพ ฯลฯ มีทางยัญนั้นเป็น ใหญ่ แม้ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ. แม้ชนเหล่าใดจัดแจงยัญ คือ จีวร ... แม้ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ. แม้ชนเหล่าใดย่อมให้ ย่อมบูชา ย่อมบริจาค ยัญ คือ จีวร ... แม้ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ผู้บูชายัญเหล่านั้น ไม่ประมาทในทางยัญ ... บ้างหรือ. [๑๓๑] คำว่า "อตารุ ชาติญฺจ มาริส" ความว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้นได้ข้าม พ้นแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามทั่วแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงไปแล้วซึ่งชาติ ชรา และมรณะ. คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า มาริส นี้ เป็น เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มี- *พระภาคผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้น ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติและชรา. [๑๓๒] คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ในอุเทศว่า "ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ" ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ขอทูลวิงวอน ขอเชิญ ขอให้ทรงประสาท ขอจงตรัสบอก ปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คำว่า ภควา นั้น เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า พฺรูหิ เม ตํ ความว่า ขอพระองค์จงตรัส คือ ขอจงบอก ขอจงแสดง ขอจงบัญญัติ ขอจงแต่งตั้ง ขอจง เปิดเผย ขอจงจำแนก ขอจงทำให้ตื้น ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง มีเป็นอันมาก ในโลกนี้ แสวงหาแล้วซึ่งยัญแก่เทวดาทั้งหลาย. ข้าแต่ พระผู้- มีพระภาคผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประมาทแล้วในทางยัญ ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติและชราบ้างหรือ, ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์. [๑๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรปุณณกะ) ชนทั้งหลายย่อมหวัง ย่อมชม (ย่อมชอบ) ย่อมบูชา อาศัย ลาภแล้ว ย่อมชอบกามทั้งหลาย. เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่านั้น ประกอบการบูชายัญ กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. [๑๓๔] คำว่า อาสึสนฺติ ในอุเทศว่า อาสึสนฺติ โถมยนฺติ อภิชปฺปนฺติ ชุหนฺติ ดังนี้ ความว่า หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้ บุตร หวังได้ภรรยา หวังได้ทรัพย์ หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุล กษัตริย์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลคฤหบดีมหาศาล หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก ฯลฯ หวัง ยินดี ปรารถนา รักใคร่การได้อัตภาพ ในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง. คำว่า ย่อมชม ความว่า ย่อมชมยัญบ้าง ย่อมชมผลบ้าง ย่อมชมทักขิไณยบุคคลบ้าง. ย่อมชมยัญอย่างไร? ย่อมชม คือ ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า เราให้ของรัก เราให้ของเจริญใจ เราให้ของประณีต เราให้ของที่ควร เราเลือกให้ เราให้ของไม่มีโทษ เรา ให้เนืองๆ เมื่อกำลังให้ จิตก็เลื่อมใส ย่อมชมยัญ อย่างนี้. ย่อมชมผลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า เพราะยัญนี้เป็นเหตุ จักได้รูป ... จักได้โผฏฐัพพะ จักได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล ฯลฯ จักได้อัตภาพในเทวดา ที่นับเนื่องในหมู่พรหม ย่อมชมผลอย่างนี้. ย่อมชมทักขิไณยบุคคลอย่างไร? ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า พระทักขิไณยบุคคลเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ ถึงพร้อมด้วยโคตร เป็นผู้ ชำนาญมนต์ ทรงมนต์ เรียนจบไตรเพท พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกตุภศาสตร์ เป็น ประเภทอักขระ มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ห้า เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์ โลกายตนะและตำราทำนายมหาบุรุษลักษณะ เป็นผู้ปราศจากราคะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะบ้าง เป็นผู้ปราศจากโทสะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะบ้าง เป็นผู้ปราศจากโมหะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัด โมหะบ้าง ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมชม ทักขิไณยบุคคลอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง ย่อมชม. คำว่า อภิชปฺปนฺติ ความว่า ย่อมชอบการได้รูป ... ชอบการได้โผฏฐัพพะ ชอบการได้ อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล ฯลฯ ชอบการได้อัตภาพในเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง ย่อมชม ย่อมชอบ. คำว่า ชุหนฺติ ความว่า ย่อมบูชา คือ ย่อมให้ ย่อมสละ ย่อมบริจาค ซึ่งจีวร ... เครื่องประทีป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง ย่อมชม ย่อมชอบ ย่อมบูชา. คำว่า ปุณฺณกาติ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาค ย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดย ชื่อว่า ปุณณกะ. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรปุณณกะ. [๑๓๕] คำว่า อาศัยลาภแล้วย่อมชอบกามทั้งหลาย ความว่า อาศัยการได้รูปแล้วย่อม ชอบกามทั้งหลาย ฯลฯ อาศัยการได้อัตภาพในเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมแล้ว ย่อมชอบ คือ ยินดี ปรารถนากามทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อาศัยลาภแล้วย่อมชอบกามทั้งหลาย. [๑๓๖] คำว่า เต ในอุเทศว่า "เต ยาชโยคา ภวราครตฺตา นาตรึสุ ชาติชรนฺติ พฺรูมิ" ดังนี้ ความว่า ผู้บูชายัญ. คำว่า ยาชโยคา ความว่า ผู้ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วด้วยดี ในการ บูชาทั้งหลาย คือ ประพฤติในการบูชา มากอยู่ในการบูชา หนักอยู่ในการบูชา เอนไปในการ บูชา โอนไปในการบูชา เงื้อมไปในการบูชา น้อมใจไปในการบูชา มีการบูชาเป็นใหญ่ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ประกอบในการบูชายัญเหล่านั้น. คำว่า ภวราครตฺตา ความว่า ตัณหาท่านเรียกว่า ภวราคะ (อนึ่ง) ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ ความเยื่อใยในภพ ความกระหาย ในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย เรียกว่า ภวราคะ ผู้บูชายัญเหล่านั้นกำหนัดแล้ว คือ ติดใจ หลงใหล หมกมุ่น ข้อง เกี่ยวข้อง พัวพันแล้วในภพทั้งหลายด้วยความกำหนัดในภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ประกอบในการบูชา ยินดีแล้วด้วยภวราคะ. คำว่า นาตรึสุ ชาติชรนฺติ พฺรูมิ ความว่า เราย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ย่อมประกาศว่า ผู้บูชายัญ เหล่านั้น ประกอบในการบูชา กำหนัดแล้วด้วยภวราคะ ไม่ข้าม คือ ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวล่วง ไม่เป็นไปล่วงซึ่งชาติ ชรา และมรณะ คือ เป็นผู้ไม่ออก ไม่สลัดออก ไม่ล่วง ไม่พ้น ไม่เป็นไปล่วงจากชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร เป็นผู้เป็นไปตามชาติ อันชราแล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ประกอบในการบูชา ยินดีด้วยภวราคะ ไม่ข้ามพ้นซึ่งชาติ ชรา และมรณะไปได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรปุณณกะ ชนทั้งหลายย่อมหวัง ย่อมชม (ย่อมชอบ) ย่อมบูชา อาศัยลาภแล้ว ย่อมชอบกามทั้งหลาย. เราย่อม กล่าวว่า ชนเหล่านั้นประกอบการบูชายัญ กำหนัดแล้ว ด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. [๑๓๗] (ท่านปุณณกะทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้น ประกอบด้วยการบูชา ด้วยยัญทั้งหลาย ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนี้ บัดนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและชรา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ ข้าพระองค์. [๑๓๘] คำว่า เต เจ นาตรึสุ ยาชโยคา ความว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้นประกอบใน การบูชา กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ข้าม คือ ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวล่วง ไม่เป็นไปล่วง ซึ่งชาติ ชรา และมรณะ คือ เป็นผู้ไม่ออก ไม่สลัดออก ไม่ล่วง ไม่พ้น ไม่เป็นไปล่วง จากชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในชาติชราและมรณะ ย่อม วนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร เป็นผู้เป็นไปตามชาติ อันชราแล่นตาม พยาธิครอบยำ มรณะ ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าชนเหล่านั้นประกอบในการบูชา ไม่ข้ามพ้น. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจจายสฺมา ปุณฺณโก เป็นบทสนธิ ฯลฯ ท่านปุณณกะ. [๑๓๙] คำว่า ยญฺเญหิ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ความว่า ด้วยยัญเป็นอันมาก คือ ด้วยยัญต่างๆ ชนิด ด้วยยัญมากมาย. คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ยญฺเญหิ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส. [๑๔๐] คำว่า อถ โก จรหิ เทวมนุสฺสโลเก อตาริ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ความว่า เมื่อเป็นดังนั้น ใครเล่าในโลก พร้อมทั้งเทวโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งชาติ ชรา และมรณะ? คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนั้น ในบัดนี้ ใครเล่า ในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและ ชราไปได้? [๑๔๑] คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานี้ นั้น คือ ขอวิงวอน ขอเชื้อเชิญ ขอให้ทรงประสาทปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหา นั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็น สัจฉิกาบัญญัติ. คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์ จงตรัสบอก ... ขอจงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้น ประกอบในการ บูชาด้วยยัญทั้งหลาย ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. ข้าแต่ พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนี้ ใครเล่าในเทวโลกและ มนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและชรา? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอก ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. [๑๔๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรปุณณกะ) เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่ พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ ขจัดทุจริต เพียงดัง ว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้ามแล้ว ซึ่งชาติ และชรา. [๑๔๓] ญาณ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ตรัสว่า สังขา ในอุเทศว่า "สงฺขาย โลกสฺมึ ปโรปรานิ". คำว่า ปโรปรานิ ความว่า มนุษยโลกตรัสว่าฝั่งนี้. เทวโลกตรัสว่าฝั่งโน้น. กามธาตุ ตรัสว่าฝั่งนี้. รูปธาตุและอรูปธาตุตรัสว่าฝั่งโน้น. กามธาตุ รูปธาตุ ตรัสว่าฝั่งนี้. อรูปธาตุตรัสว่า ฝั่งโน้น. คำว่า สงขาย โลกสฺมึ ปโรปรานิ ความว่า เพราะทราบ คือ รู้เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งฝั่งนี้และฝั่งโน้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออกได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเพราะ ทราบฝั่งโน้นและฝั่งนี้ในโลก. คำว่า ปุณฺณกาติ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปุณณกะ. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณกะ. [๑๔๔] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺสิญฺชิตํ นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก" ดังนี้ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า อิญฺชิตํ คือความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกรรม ความหวั่นไหว เหล่านั้นไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพใด คือ ความหวั่นไหว เหล่านี้ พระอรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจ เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. คำว่า กุหิญฺจิ ความว่า ไหนๆ คือ แห่งไหน แห่งไร ภายใน หรือภายนอก หรือ ทั้งภายในภายนอก. คำว่า โลเก คือในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ หวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด. [๑๔๕] คำว่า สนฺโต ในอุเทศว่า "สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ" ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า สันตะ เพราะเป็นผู้มีราคะสงบ มีโทสะสงบ มี โมหะสงบ ชื่อว่าสงบแล้ว คือ เข้าไปสงบแล้ว ระงับแล้ว ดับแล้ว ระงับเฉพาะแล้ว เพราะ เป็นผู้สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เผาแล้ว ดับแล้ว ปราศจากแล้ว ระงับ เฉพาะแล้วซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา- *ภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสงบ. คำว่า วิธูโม ความว่า กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อันพระอรหันตขีณาสพขจัด แล้ว กำจัดแล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ... ความประมาท กิเลสทั้งปวง ... อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันพระอรหันตขีณาสพขจัดแล้ว กำจัด แล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว. อนึ่ง ความโกรธท่านกล่าวว่า เป็นดังควัน ดูกรพราหมณ์ ท่านมีมานะเปรียบเหมือนดังเครื่องหาบ มี ความโกรธเปรียบเหมือนควัน มีการพูดเท็จเปรียบเหมือนเถ้า มีลิ้นเปรียบเหมือนทัพพี หฤทัยของสัตว์ทั้งหลายเปรียบ เหมือนสถานที่บูชายัญของท่าน ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นกำเนิด ของบุรุษ. อนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธเกิดด้วยผูกใจว่า คนโน้น ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่ เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจะ ประพฤติซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑. อีกอย่างหนึ่ง ความ โกรธย่อมเกิดในฐานะอันไม่ควร ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความโกรธตอบ ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความ พยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่พอใจของจิต นี้เรียกว่า ความโกรธ. อนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก โกรธน้อย ความโกรธเป็นแต่เพียงทำจิตให้ขุ่นมัวใน บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้มีหน้าเง้าหน้างอ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอ ใน บางครั้งก็มี แต่ไม่ถึงให้คางสั่น. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่นในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ ถึงเปล่งผรุสวาจา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เปล่งผรุสวาจาในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้ เหลียวดูทิศทางต่างๆ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เหลียวดูทิศต่างๆ ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ ถึงการจับท่อนไม้และศาตรา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้จับท่อนไม้และศาตราในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงเงื้อท่อนไม้และศาตรา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เงื้อท่อนไม้และศาตราในบางครั้ง ก็มี แต่ยังไม่ถึงตีฟัน. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ตีฟันในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงฉีกขาดเป็น บาดแผล. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ถึงฉีกขาดเป็นบาดแผลในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้หัก ให้แหลก. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หักให้แหลกในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่ เคลื่อนที่. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่เคลื่อนที่ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้ชีวิต ดับ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ชีวิตดับในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงความสละบริจาคอวัยวะ ทั้งหมด. เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วให้ฆ่าตน เมื่อนั้น ความโกรธถึงความเป็น ความโกรธแรงยิ่ง ถึงความเป็นความโกรธมากยิ่ง โดยอาการอย่างนี้ ความโกรธนั้น อันพระ- *อรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้นอีก เผาเสีย แล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่าผู้กำจัดกิเลสเพียงดังควัน. พระอรหันต- *ขีณาสพชื่อว่า วิธูมะ เพราะเป็นผู้ละความโกรธ เพราะเป็นผู้กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะ เป็นผู้ตัดขาดซึ่งเหตุแห่งความโกรธ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิธูมะ. คำว่า อนีโฆ ความว่า ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะเป็นทุกข์ ความโกรธ เป็นทุกข์ ความผูกโกรธเป็นทุกข์ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์. ทุกข์เหล่านั้น อัน พระอรหันตขีณาสพใดละได้แล้ว ... เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า ผู้ไม่มีทุกข์. คำว่า ไม่มีความหวัง ความว่า ตัณหาเรียกว่าความหวัง ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าความหวัง. ตัณหาอันเป็นความหวังนั้น อันพระอรหันตขีณาสพใดละ ได้แล้ว เผาเสียได้แล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า ผู้ไม่มีความหวัง. ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิด ความเกิดเฉพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ทั้งหลาย ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่า ชาติ. ความแก่ ความเสื่อม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่า ชรา. คำว่า สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติ ชรนฺติ พฺรูมิ ความว่า เราย่อม กล่าว ... ย่อมประกาศว่า พระอรหันตขีณาสพใด เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่าควัน ไม่มี ทุกข์ และไม่มีความหวัง พระอรหันตขีณาสพนั้นข้ามได้แล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามทั่วแล้ว ล่วงแล้ว เป็นไปล่วงแล้วซึ่งชาติ ชรา และมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า พระอรหันต- *ขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ข้ามได้แล้วซึ่ง ชาติและชรา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่ พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่า ควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติ และชรา. พร้อมด้วยเวลาจบคาถา ฯลฯ ท่านพระปุณณกะนั้น เป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค ประกาศว่า ข้าแต่- *พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบ ปุณณกมาณวกปัญหานิทเทส ที่ ๓.
-----------------------------------------------------
เมตตคูมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านเมตตคู
[๑๔๖] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า) ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอ พระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์ ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ว่าเป็นผู้จบเวท มีพระองค์อันให้เจริญ แล้ว. ทุกข์มีชนิดเป็นอันมาก เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ในโลก เกิดมาแต่ที่ไหนหนอ? [๑๔๗] การถามมี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ ฯลฯ (เหมือนในข้อ ๑๒๒) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา เมตฺตคู เป็นคำเชื่อมบท ฯลฯ ชื่อว่า อิจฺจายสฺมา เมตฺตคู. [๑๔๘] คำว่า มญฺญามิ ตํ เวทคุ ภาวิตตฺตํ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ ว่า ผู้จบเวท ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ว่า มีพระองค์อันอบรมแล้ว คือ ข้าพระองค์ย่อมสำคัญ ย่อมรู้ ย่อมรู้ทั่ว ย่อมรู้แจ้ง ย่อมรู้แจ้งเฉพาะ ย่อมแทงตลอดอย่างนี้ว่า พระองค์เป็นผู้จบเวท มีพระองค์อันให้เจริญแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคทรงจบเวทอย่างไร? ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรียกว่าเวท. พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุถึงที่สุด ทรงไปสู่ที่สุด ทรงบรรลุซึ่งที่สุด ทรง ถึงส่วนสุดรอบ ถึงส่วนสุดแล้ว ทรงถึงความจบ ทรงบรรลุความจบแล้ว แห่งชาติ ชรา และ มรณะ ทรงถึงที่ต้านทาน ทรงบรรลุถึงที่ต้านทาน ทรงถึงที่เร้น ทรงบรรลุถึงที่เร้น ทรงถึงที่พึ่ง ทรงบรรลุถึงที่พึ่ง ทรงถึงความไม่มีภัย ทรงบรรลุถึงความไม่มีภัย ทรงถึงความไม่เคลื่อน ทรง บรรลุถึงความไม่เคลื่อน ทรงถึงความไม่ตาย ทรงบรรลุความไม่ตาย ทรงถึงนิพพาน ทรงบรรลุ นิพพาน ด้วยเวทเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุดแห่งเวททั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเวทคู. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเวทคู. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ชื่อว่าเวทคู เพราะพระองค์ทรงทราบแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ คือ ทรงทราบสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และพระองค์ทรงทราบอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป. (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสภิยะ) บุคคลเลือกเวทเหล่าใดทั้งสิ้น เวทเหล่านั้น ของสมณพราหมณ์ ก็มีอยู่ บุคคลนั้นปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ล่วงเวททั้งปวง แล้ว ชื่อว่าเวทคู. พระผู้มีพระภาค มีพระองค์อันให้เจริญแล้วอย่างไร? พระผู้มีพระภาคมีพระกาย มีศีล มีจิต มีปัญญา มีสติปัฏฐาน มีสัมมัปปธาน มี อิทธิบาท มีอินทรีย์ มีพละ มีโพชฌงค์ มีมรรค อันให้เจริญแล้ว ทรงละกิเลสแล้ว ทรง แทงตลอดอกุปปธรรมแล้ว มีนิโรธอันทรงทำให้แจ่มแจ้งแล้ว พระองค์ทรงกำหนดรู้ทุกข์ ทรง ละสมุทัย ทรงเจริญมรรค ทรงทำให้แจ้งนิโรธแล้ว ทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงกำหนด รู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ทรงละธรรมที่ควรละ ทรงเจริญธรรมที่ควรเจริญ ทรงทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง. พระองค์มีธรรมไม่น้อย มีธรรมมาก มีธรรมลึก มีธรรมประมาณไม่ได้ มีธรรม ยากที่จะหยั่งลงได้ มีธรรมรัตนะมาก เปรียบเหมือนทะเลหลวง ทรงประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา พระองค์ทรงเห็นรูปด้วยพระจักษุแล้ว ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติ สัมปชัญญะอยู่ ทรงได้ยินเสียงด้วยพระโสตแล้ว ทรงดมกลิ่นด้วยพระฆานะแล้ว ทรงลิ้มรส ด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกายแล้ว ทรงทราบธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แล้ว ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ทรงเห็นรูปอันน่าพอใจ ด้วยพระจักษุแล้ว ไม่ทรงติดใจ ไม่ทรงรักใคร่ ไม่ทรงยังราคะให้เกิด. พระองค์มีพระกายคงที่ มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในกายใน พ้นกิเลสดีแล้ว. ทรงเห็นรูปนั้นอันไม่เป็นที่ชอบใจด้วย พระจักษุแล้ว ไม่ทรงเก้อเขิน มีพระทัยมิได้ขัดเคือง มีพระทัยไม่หดหู่ มีพระทัยไม่พยาบาท พระองค์มีพระกายคงที่ มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นกิเลสดีแล้ว. ทรงได้ยิน เสียงอันน่าพอใจด้วยพระโสตแล้ว ทรงดมกลิ่นอันน่าพอใจด้วยพระฆานะแล้ว ทรงลิ้มรสอันน่า พอใจด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าพอใจด้วยพระกายแล้ว ทรงทราบธรรมา- *รมณ์อันน่าพอใจด้วยพระมนัสแล้ว ไม่ทรงติดใจ ไม่ทรงรักใคร่ ไม่ทรงยังราคะให้เกิด. พระองค์ มีพระกายคงที่ มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นกิเลสดีแล้ว. ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ อันไม่เป็นที่พอใจด้วยพระมนัสแล้ว ไม่ทรงเก้อเขิน มีพระทัยมิได้ขัดเคืองมี พระทัยไม่หดหู่ มีพระทัยไม่พยาบาท. พระองค์มีพระกายคงที่ มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษ ดีแล้ว. ทรงเห็นรูปด้วยพระจักษุแล้ว มีพระกายคงที่ในรูป ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ มีพระทัย คงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ทรงได้ยินเสียงด้วยพระโสตแล้ว ทรงดมกลิ่น ด้วยพระฆานะแล้ว ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกายแล้ว ทรงทราบธรรมารมณ์ด้วยพระมนัสแล้ว มีพระกายคงที่ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบ ใจ มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. ทรงเห็นรูปด้วยพระจักษุแล้ว ไม่ ทรงรักในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่ทรงชังในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความชัง ไม่ทรงหลงในรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่ทรงโกรธในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่ทรงมัวเมาในรูปอัน เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ไม่ทรงเศร้าหมองในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง. ทรงได้ยิน เสียงด้วยพระโสตแล้ว ทรงดมกลิ่นด้วยพระฆานะแล้ว ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูก ต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกายแล้ว ทรงทราบธรรมารมณ์ด้วยพระมนัสแล้ว ไม่ทรงรักในธรรมอัน เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่ทรงขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่ทรงหลงในธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่ทรงโกรธในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่ทรงมัวเมา ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ไม่ทรงเศร้าหมองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง พระผู้มีพระภาคเป็นแต่เพียงทรงเห็นรูปที่ทรงเห็น เป็นแต่เพียงทรงได้ยินในเสียงที่ทรงได้ยิน เป็นแต่เพียงทรงทราบในอารมณ์ที่ทรงทราบ เป็นแต่เพียงทรงรู้ในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรง ติดในรูปที่ทรงเห็น ในเสียงที่ทรงได้ยิน ในอารมณ์ที่ทรงทราบ ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่ทรง เข้าถึง ไม่ทรงอาศัย ไม่ทรงเกี่ยวข้อง ทรงพ้นวิเศษแล้ว. ไม่ทรงเกี่ยวข้องในรูปที่ทรงเห็น มี พระทัยอันไม่ให้มีเขตแดนอยู่ ไม่ทรงเข้าถึง ... ไม่ทรงเกี่ยวข้อง ในเสียงที่ทรงได้ยิน ในอารมณ์ ที่ทรงทราบ ในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง มีพระทัยอันไม่มีเขตแดนอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงมี พระจักษุ ทรงเห็นรูปด้วยพระจักษุ แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว, พระผู้มี พระภาคทรงมีพระโสต ทรงสดับเสียงด้วยพระโสต แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษ ดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฆานะ ทรงสูดกลิ่นด้วยพระฆานะ แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มี พระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงมีพระชิวหา ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา แต่ไม่ทรงมี ฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงมีพระกาย ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย พระกาย แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงมีพระมนัส ทรงรู้ แจ้งธรรมด้วยพระมนัส แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระจักษุอันชอบใจในรูป ยินดีในรูป พอใจในรูป และ ทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมจักษุนั้น, ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระโสตอัน ชอบใจในเสียง ยินดีในเสียง ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระฆานะอัน ชอบใจในกลิ่น ยินดีในกลิ่น ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระชิวหาอันชอบใจ ในรส ยินดีในรส ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระกายอันชอบใจในโผฏฐัพพะ ยินดีในโผฏฐัพพะ ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระมนัสอันชอบใจในธรรมา- *รมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ พอใจในธรรมารมณ์ และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั้น. ชนทั้งหลาย ย่อมนำยานที่ตนฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม. พระราชา ย่อมทรงประทับยานที่สารถีฝึกแล้ว. บุคคลที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐ ในหมู่มนุษย์, บุคคลใดย่อมอดทนคำที่ล่วงเกินได้ บุคคลนั้นเป็น ผู้ประเสริฐ. ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่คือกุญชร ที่เขาฝึกแล้ว จึงประเสริฐ. บุคคลฝึกตนแล้วประเสริฐกว่ายานมีม้า อัสดร ที่สารถีฝึกแล้วเป็นต้นนั้น. ใครๆ พึงไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านี้ เหมือนบุคคลที่มีตนฝึก (ด้วยความฝึกอินทรีย์) ฝึกดี (ด้วยอริยมรรคภาวนา) ฝึกแล้ว ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ฉะนั้น หาได้ไม่. พระขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะ มานะทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นจากกรรมกิเลส อันเป็นเหตุให้ เกิดบ่อยๆ บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว (อรหัตผล). พระขีณาสพ เหล่านั้น เป็นผู้มีความชนะในโลก อินทรีย์ทั้งหลาย. พระขีณาสพใด ให้เจริญแล้ว อายตนะภายใน อายตนะภายนอก พระขีณาสพนั้น ทำให้หมดเสพติดแล้ว พระขีณาสพนั้น ล่วงแล้วซึ่งโลกนี้และ โลกอื่น ในโลกทั้งปวง มีธรรมอันให้เจริญแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อม หวังมรณกาล. คำว่า เอวํ ภควา ภาวิตตฺโต ความว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ว่า จบเวท มีพระองค์อันให้เจริญแล้ว. [๑๔๙] คำว่า กุโตนุ ในอุเทศว่า "กุโตนุ ทุกฺขา สมุปาคตา เม" ความว่า เป็น การถามด้วยความสงสัย เป็นการถามด้วยความเคลือบแคลง เป็นการถามสองแง่ ไม่เป็นการถาม โดยส่วนเดียวว่า เรื่องนี้เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้? เรื่องนี้เป็นไฉนหนอ หรือเป็นอย่างไร? เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่อะไรหนอ. ชื่อว่าทุกข์ คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือ ความโศก ความ ร่ำไร ความทุกข์ ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ทุกข์ในนรก ทุกข์ในดิรัจฉานกำเนิดทุกข์ ในปิตติวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีการตั้งอยู่ในครรภ์ เป็นมูล ทุกข์มีความออกจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์เนื่องแต่สัตว์ผู้เกิด ทุกข์เนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์ เกิดแต่ความเพียรของตน ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของผู้อื่น ทุกข์ในทุกข์ สังสารทุกข์ วิปริณาม- *ทุกข์ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคในศีรษะ โรคที่หู โรคในปาก โรคฟัน โรคไอ โรคมองคร่อ โรคริดสีดวงจมูก โรคร้อนใน โรคชรา โรคในท้อง โรคสลบ โรคลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน โรคฝี กลาก โรคหืด โรคลมบ้าหมู หิดด้าน หิดเปื่อย คุดทะราด รำราบ คุดทะราดใหญ่ โรครากเลือด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวงทวาร โรคต่อม บานทะโรค อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็น สมุฏฐาน อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิดเพราะเปลี่ยน อิริยาบถไม่สม่ำเสมอกัน อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ความหนาว ความ ร้อนความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์แต่เหลือบยุง ลม แดด และ สัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ความตายของมารดาก็เป็นทุกข์ ความตายของบิดาก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่ชายน้องชายก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่หญิงน้องหญิงก็เป็นทุกข์ ความตายของ บุตรก็เป็นทุกข์ ความตายของธิดาก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งญาติก็เป็นทุกข์ ความฉิบหาย แห่งโภคทรัพย์ก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งศีลก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิก็เป็นทุกข์ รูปาทิธรรมเหล่าใดมีความเกิดในเบื้องต้นปรากฏรูปาทิธรรมเหล่านั้น ก็มีความดับไปในเบื้องปลาย ปรากฏ. วิบากอาศัยกรรม กรรมอาศัยวิบาก รูปอาศัยนาม นามก็อาศัยรูป นามรูปไปตามชาติ ชราก็ติดตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มีอะไรเป็น ที่เร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เหล่านี้เรียกว่าทุกข์. ท่านพระเมตตคูย่อมทูลถาม ทูลวิงวอน ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาทซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งทุกข์เหล่านี้ ทุกข์เหล่านี้เข้ามาถึงพร้อม เกิด ประจักษ์ บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วแต่อะไร มีอะไร เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์เหล่านี้ เกิด มาแต่ที่ไหนหนอ? [๑๕๐] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า "เยเกจิ โลกสฺมึ อเนกรูปา" ความว่า ทั้งปวง โดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ มีส่วนไม่เหลือ บทว่า เยเกจิ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า โลกสฺมึ ความว่า ในอบายโลก ในมนุษยโลก ในเทวโลก ในขันธโลก ใน ธาตุโลก ในอายตนโลก. คำว่า อเนกรูปา ความว่า ทุกข์ทั้งหลายมีอย่างเป็นอเนก คือ มีประการต่างๆ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์ทั้งหลายมีชนิดเป็นอเนกอย่างใดอย่างหนึ่งในโลก. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอ พระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์ ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ว่าเป็นผู้จบเวท มีพระองค์อันให้เจริญ แล้ว. ทุกข์ทั้งหลายมีชนิดเป็นอันมาก เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในโลก เกิดมาแต่ที่ไหนหนอ? [๑๕๑] (พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูกรเมตตคู) ท่านถามถึงเหตุแห่งทุกข์กะเราแล้ว. เรารู้อยู่อย่างไร ก็จะ บอกเหตุนั้นแก่ท่าน. ทุกข์ทั้งหลายมีชนิดเป็นอันมาก อย่าง ใดอย่างหนึ่งในโลก มีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมเกิดขึ้น. [๑๕๒] คำว่า ทุกฺขสฺส ในอุเทศว่า "ทุกฺขสฺส เว มํ ปภวํ อปุจฺฉิ" ความว่า แห่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าแห่งทุกข์. คำว่า เว มํ ปภวํ อปุจฺฉสิ ความว่า ท่านถาม วิงวอน เชื้อเชิญ ให้ประสาทซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งทุกข์กะเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านถามถึงเหตุแห่งทุกข์กะเราแล้ว. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า เมตตคู. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่อง กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรเมตตคู. [๑๕๓] คำว่า ตนฺเต ปวกฺขามิ ในอุเทศว่า "ตนฺเต ปวกฺขามิ ยถา ปชานํ" ดังนี้ ความว่า เราจักกล่าว ... จักประกาศ ซึ่งมูล ... สมุทัยแห่งทุกข์นั้นแก่ท่าน เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า เราจักกล่าวซึ่งมูลแห่งทุกข์นั้นแก่ท่าน. คำว่า ยถา ปชานํ ความว่า เรารู้อยู่ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดอย่างไร จะบอกธรรมที่ประจักษ์แก่ตนที่เรารู้เฉพาะด้วยตนเอง โดยจะไม่บอกว่า กล่าวกันมาดังนี้ๆ ไม่ บอกตามที่ได้ยินกันมา ไม่บอกตามลำดับสืบๆ กันมา ไม่บอกโดยการอ้างตำรา ไม่บอกตามที่ นึกเดาเอาเอง ไม่บอกตามที่คาดคะเนเอาเอง ไม่บอกด้วยความตรึกตามอาการ ไม่บอกด้วย ความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรารู้อย่างไร. [๑๕๔] คำว่า อุปธิ ในอุเทศว่า "อุปธินิทานา ปภวนฺติ ทุกฺขา" ดังนี้ ได้แก่อุปธิ ๑๐ ประการ คือ ตัณหูปธิ ทิฏฐูปธิ กิเลสูปธิ กัมมูปธิ ทุจจริตูปธิ อาหารูปธิ ปฏิฆูปธิ อุปธิคืออุปาทินนธาตุ ๔ อุปธิคืออายตนะภายใน ๖ อุปธิคือหมวดวิญญาณ ๖ ทุกข์แม้ทั้งหมดก็ เป็นอุปธิ เพราะอรรถว่า ยากที่จะทนได้ เหล่านี้เรียกว่าอุปธิ ๑๐. คำว่า ทุกฺขา คือชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เหล่านี้เรียกว่าทุกข์. ทุกขืเหล่านี้มีอุปธิเป็นนิทาน มีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิ เป็นปัจจัย มีอุปธิเป็นการณ์ ย่อมมี ย่อมเป็น เกิดขึ้น เกิดพร้อม บังเกิด ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์ทั้งหลาย มีอุปธิเป็นเหตุย่อมเกิดขึ้น. [๑๕๕] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า "เยเกจิ โลกสฺมึ อเนกรูปา" ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ มีส่วนไม่เหลือ คำว่า เยเกจิ นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า โลกสฺมึ ความว่าในอบายโลก ในมนุษยโลก ในเทวโลก ในขันธโลก ในธาตุโลก ในอายตนโลก. คำว่า อเนกรูปา ความว่า ทุกข์ทั้งหลายมีอย่างเป็น อเนก มีประการต่างๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์ทั้งหลายมีชนิดเป็นอันมาก อย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ท่านได้ถามเหตุแห่งทุกข์กะเราแล้ว. เรารู้อยู่อย่างไร ก็จะ บอกเหตุนั้นแก่ท่าน. ทุกข์ทั้งหลาย มีชนิดเป็นอันมาก อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก มีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมเกิดขึ้น. [๑๕๖] ผู้ใดแล มิใช่ผู้รู้ ย่อมทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมเข้า ถึงทุกข์บ่อยๆ. เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้รู้อยู่ ไม่พึงทำอุปธิ เป็นผู้พิจารณาเหตุเกิดแห่งทุกข์. [๑๕๗] คำว่า โย ในอุเทศว่า "โย เว อวิทฺวา อุปธึ กโรติ" ดังนี้ ความว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือ มนุษย์ผู้ใด คือ เช่นใด ควรอย่างไร ชนิดใด ประการใด ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด. คำว่า อวิทฺวา ความว่า ไม่รู้ คือ ไปแล้วในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทราม. คำว่า อุปธึ กโรติ ความว่า กระทำซึ่งตัณหูปธิ ... อุปธิ คือ หมวดวิญญาณ ๖ คือ ให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิใช่ผู้รู้กระทำอุปธิ. [๑๕๘] คำว่า ปุนปฺปุนํ ทุกฺขมุเปติ ในอุเทศว่า "ปุนปฺปุนํ ทุกฺขมุเปติ มนฺโท" ดังนี้ ความว่า ย่อมถึง คือ เข้าถึง เข้าไปถึง ย่อมจับ ย่อมลูบคลำ ย่อมยึดมั่น ซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจบ่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เข้าถึงทุกข์บ่อยๆ. คำว่า มนฺโท ความว่า เป็นคนเขลา คือ เป็นคนหลงมิใช่ผู้รู้ ไปแล้ว ในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทราม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นคนเขลา เข้าถึง ทุกข์บ่อยๆ. [๑๕๙] คำว่า ตสฺมา ในอุเทศว่า "ตสฺมา ปชานํ อุปธึ น กยิรา" ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณ์ เหตุ ปัจจัย นิทานนั้น บุคคลเมื่อเห็นโทษนี้ในอุปธิทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น. คำว่า ปชานํ คือ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด คือ รู้ ... แทงตลอดว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า อุปธึ น กยิรา ความว่า ไม่พึงกระทำ ... ไม่พึงกระทำตัณหูปธิ ... อุปธิ คือ อายตนะภายใน ๖ คือ ไม่พึงให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะ เหตุนั้น รู้อยู่ ไม่พึงทำอุปธิ. [๑๖๐] คำว่า ทุกฺขสฺส ความว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นแดนเกิด คือ เป็นผู้พิจารณา เห็นมูล เหตุ นิทาน สมภพ แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่ง ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์ คือ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ. ปัญญา คือ ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความ เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า อนุปัสสนา. บุคคลเป็นผู้เข้าไป คือ เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยปัญญาอันพิจารณาเห็นนี้ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้พิจารณาเห็น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พิจารณาเห็นแดนเกิดแห่งทุกข์. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ใดแล มิใช่ผู้รู้ ย่อมทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึง ทุกข์บ่อยๆ. เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้รู้อยู่ ไม่พึงทำอุปธิ เป็นผู้พิจารณาเห็นแดนเกิดแห่งทุกข์. [๑๖๑] ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้วซึ่งปัญหาใด พระองค์ได้ตรัสบอก ปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะขอ ทูลถามปัญหาข้ออื่น. ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น. ธีรชนทั้งหลายย่อมข้ามซึ่งโอฆะ ชาติ ชรา โสกะและ ปริเทวะได้อย่างไรหนอ? พระองค์เป็นพระมุนี ขอทรงโปรด แก้ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยดี. แท้จริง ธรรมนั้น อันพระองค์ทรงทราบแล้ว. [๑๖๒] คำว่า ยนฺตํ อปุจฺฉิมฺห อกิตฺติยี โน ความว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทูลถาม คือ ทูลวิงวอน ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาทแล้วซึ่งปัญหาใด. คำว่า อกิตฺติยี โน ความว่า พระองค์ได้ตรัส คือ บอก ... ทรงทำให้ง่าย ทรงประกาศ แล้ว ซึ่งปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ ทูลถามปัญหาใดแล้ว พระองค์ได้ตรัสแก้ปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย. [๑๖๓] คำว่า กถํ นุ ในอุเทศว่า "อญฺญํ ตํ ปุจฉาม ตทิงฺฆ พฺรูหิ กถํ นุ ธีรา วิตรนฺติ โอฆํ ชาติชฺชรํ โสกปริเทวญฺจ" ดังนี้ ความว่า เป็นการด้วยความสงสัย เป็นการถามด้วยความเคลือบแคลง เป็นการถามสองแง่ ไม่เป็นการถามโดยส่วนเดียวว่า เรื่องนี้ เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้? เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล หรือเป็นอย่างไร? เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อย่างไรหนอ? คำว่า ธีรา คือ นักปราชญ์ บัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า โอฆํ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏฺโฐฆะ อวิชโชฆะ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความได้เฉพาะ ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่าชาติ. ความแก่ ความเสื่อม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่าชรา. ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้โศก ความโศก ณ ภายใน ความกรมเกรียม ณ ภายใน ความร้อน ณ ภายใน ความเร่าร้อน ณ ภายใน ความเกรียมกรอมแห่งจิต โทมนัส ลูกศรคือความโศก ของคนที่ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้า หรือของคนที่ถูกความฉิบหาย แห่งโภคะกระทบเข้า ของคนที่ถูกความฉิบหายเพราะโรคกระทบเข้า หรือของคนที่ถูกความฉิบหาย แห่งศีลกระทบเข้า ของคนที่ถูกความฉิบหายแห่งทิฏฐิกระทบเข้า ของคนที่ประจวบกับความ ฉิบหายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือของคนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้า ชื่อว่า ความโศก. ความร้องไห้ ความรำพัน กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่รำพัน ความเป็นผู้ร้องไห้ ความเป็น ผู้รำพัน ความพูดถึง ความพูดเพ้อ ความพูดบ่อยๆ ความร่ำไร กิริยาที่ร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ของคนที่ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้า ... หรือของคนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบเข้า ชื่อว่า ปริเทวะ. คำว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะได้ อย่างไรหนอ ความว่า ธีรชนทั้งหลาย ย่อมข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งโอฆะ ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะได้อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธีรชนทั้งหลาย ย่อมข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะได้อย่างไรหนอ? [๑๖๔] คำว่า ตํ ในอุเทศว่า "ตมฺเม มุนี สาธุ วิยากโรหิ" ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมทูลถาม ทูลวิงวอน ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท. ญาณ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี. พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยญาณนั้น จึงเป็นพระมุนี คือ ถึงความเป็นพระมุนี. โมเนยยะ (ความเป็นมุนี) ๓ ประการ คือ กายโมเนยยะ วจีโมเนยยะ มโนโมเนยยะ. กายโมเนยยะ เป็นไฉน? การละกายทุจริต ๓ อย่าง เป็นกายโมเนยยะ กายสุจริต ๓ อย่าง เป็นกายโมเนยยะ ญาณมีกายเป็นอารมณ์ เป็นกายโมเนยยะ ความกำหนดรู้กาย เป็นกายโมเนยยะ มรรคอันสหรคตด้วยความกำหนดรู้ เป็นกายโมเนยยะ ความละฉันทราคะในกาย เป็นกาย- *โมเนยยะ ความดับกายสังขาร ความเข้าจตุตถฌาน เป็นกายโมเนยยะ นี้ชื่อว่า กายโมเนยยะ. วจีโมเนยยะ เป็นไฉน? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง เป็นวจีโมเนยยะ วจีสุจริต ๔ อย่าง เป็นวจีโมเนยยะ ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ เป็นวจีโมเนยยะ การกำหนดรู้วาจา เป็นวจีโมเนยยะ มรรคอันสหรคตด้วยการกำหนดรู้ เป็นวจีโมเนยยะ การละฉันทราคะในวาจา เป็นวจีโมเนยยะ ความดับวจีสังขาร ความเข้าทุติยฌาน เป็นวจีโมเนยยะ นี้ชื่อว่า วจีโมเนยยะ. มโนโมเนยยะ เป็นไฉน? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง เป็นมโนโมเนยยะ มโนสุจริต ๓ อย่าง เป็นมโนโมเนยยะ ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ เป็นมโนโมเนยยะ การกำหนดรู้จิต เป็น มโนโมเนยยะ มรรคอันสหรคตด้วยความกำหนดรู้ เป็นมโนโมเนยยะ การละฉันทราคะในจิต ความดับจิตสังขาร ความเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ นี้ชื่อว่า มโนโมเนยยะ. บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงมุนี ผู้เป็นมุนีโดยกาย เป็นมุนีโดย วาจา เป็นมุนีโดยใจ ผู้ไม่มีอาสวะถึงพร้อมด้วยความเป็น มุนีว่า เป็นผู้ละอกุศลธรรมทั้งปวง. บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึง มุนี ผู้เป็นมุนีโดยกาย เป็นมุนีโดยวาจา เป็นมุนีโดยใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนีว่า เป็นผู้มีบาปอัน ลอยแล้ว. มุนีผู้ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นมุนีเหล่านี้ เป็นมุนี ๖ จำพวก คือ เป็นอาคารมุนี ๑ อนาคารมุนี ๑ เสกขมุนี ๑ อเสกขมุนี ๑ ปัจเจกมุนี ๑ มุนิมุนี ๑. อาคารมุนี เป็นไฉน? คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน มีบทอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้ง นี้ชื่อว่า อาคารมุนี. อนาคารมุนี เป็นไฉน? บรรพชิตผู้มีบทอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว นี้ชื่อว่า อนาคารมุนี. พระเสกข- *บุคคล ๗ จำพวก ชื่อเสกขมุนี. พระอรหันต์ชื่ออเสกขมุนี. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อปัจเจกมุนี. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อมุนิมุนี. บุคคลย่อมไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นผู้หลง มิใช่ผู้รู้ ก็ไม่เป็นมุนี. ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ เหมือนบุคคลประคองตราชั่ง ย่อมละเว้นบาปทั้งหลาย บุคคลนั้นเป็นมุนี โดยเหตุนั้น บุคคลนั้นเป็นมุนี. บุคคล ใด รู้จักโลกทั้ง ๒ บุคคลนั้นท่านเรียกว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น. บุคคลใด รู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษในโลก ทั้งปวง ทั้งในภายในทั้งในภายนอก อันเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายบูชาแล้ว บุคคลนั้นล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็น เครื่องข้อง และตัณหาดังว่าข่าย ชื่อว่าเป็นมุนี. คำว่า สาธุ วิยากโรหิ ความว่า ขอพระองค์ตรัสบอก คือ ทรงแสดง ... ทรง ประกาศด้วยดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์เป็นพระมุนี ขอทรงโปรดแก้ปัญหานั้นของ ข้าพระองค์ด้วยดี. [๑๖๕] คำว่า ตถา หิ เต วิทิโต เอส ธมฺโม ความว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนั้น อันพระองค์ทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว ทรงเทียบเคียงแล้ว ทรงพิจารณาแล้ว ทรงให้เจริญแล้ว ทรงแจ่มแจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนี้อันพระองค์ทรงทราบแล้ว. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้วซึ่งปัญหาใด พระองค์ได้ตรัสบอก ปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์ทั้งหลายจงขอทูล ถามปัญหาข้ออื่น. ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น. ธีรชนทั้งหลายย่อมข้ามซึ่งโอฆะ ชาติ ชรา โสกะ และ ปริเทวะได้อย่างไรหนอ? พระองค์เป็นพระมุนี ขอทรงโปรด แก้ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยดี. แท้จริง ธรรมนั้น อันพระองค์ทรงทราบแล้ว. [๑๖๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมตตคู) เราจักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์แก่ตน ที่บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอัน เกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในโลกแก่ท่าน. [๑๖๗] คำว่า เราจักบอกธรรม ... แก่ท่าน ความว่า เราจักบอก ... ประกาศซึ่งพรหมจรรย์ อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง และสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักบอกธรรมแก่ท่าน. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า เมตตคู. [๑๖๘] คำว่า ทิฏเฐ ธมฺเม ในอุเทศว่า "ทิฏเฐ ธมฺเม อนีติหํ" ดังนี้ ความว่า ในธรรมที่เราเห็น รู้ เทียบเคียง พิจารณา ให้เจริญแล้ว ปรากฏแล้ว คือ ในธรรมอันเราเห็นแล้ว ... ปรากฏแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราจักบอกธรรมในธรรม ที่เราเห็นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เราจักบอกทุกข์ในทุกข์ที่เราเห็นแล้ว จักบอกสมุทัยในสมุทัยที่ เราเห็นแล้ว จักบอกมรรคในมรรคที่เราเห็นแล้ว จักบอกนิโรธในนิโรธที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วย เหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า จักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เราจักบอกธรรมที่จะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วยเหตุ อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราจักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในธรรม ที่เราเห็นแล้ว. คำว่า อนีติหํ ความว่า เราจักบอกซึ่งธรรมอันประจักษ์แก่ตน ที่เรารู้เฉพาะด้วยตนเอง โดยไม่บอกว่ากล่าวกันมาอย่างนี้ ไม่บอกตามที่ได้ยินกันมา ไม่บอกตามลำดับสืบๆ กันมา ไม่ บอกโดยการอ้างตำรา ไม่บอกตามที่นึกเดาเอาเอง ไม่บอกตามที่คาดคะเนเอาเอง ไม่บอกโดย ความตรึกตามอาการ ไม่บอกโดยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใน ธรรมที่เราเห็นแล้วอันประจักษ์แก่ตน. [๑๖๙] คำว่า ยํ วิทิตฺวา สโต จรํ ความว่า กระทำให้รู้แจ้ง คือ เทียบเคียง พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง คือ ทำให้รู้ ... ทำให้แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐานเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ. คำว่า จรํ คือ เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไป รักษาบำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมใดแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป. [๑๗๐] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา. ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในอุเทศว่า "ตเร โลเก วิสตฺติกํ" ชื่อว่า วิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่ากระไร? เพราะอรรถว่า แผ่ไป เพราะอรรถว่า กว้างขวาง เพราะอรรถว่า ซ่านไป เพราะอรรถว่า ครอบงำ เพราะอรรถว่า นำไปผิด เพราะอรรถว่า ให้กล่าวผิด เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ เพราะ อรรถว่า มีการบริโภคเป็นพิษ. อนึ่ง ตัณหานั้นกว้างขวาง ซ่านไป แผ่ซ่านไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย- *เภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ธรรม คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่รู้แจ้ง เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า โลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ตเร โลเก วิสตฺติกํ ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ พึงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราจักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์แก่ตน ที่บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอัน เกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในโลก แก่ท่าน. [๑๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ชอบใจ พระดำรัสของพระองค์นั้น และธรรมอันสูงสุดที่บุคคลทราบ แล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันเกาะเกี่ยวใน อารมณ์ต่างๆ ในโลกได้. [๑๗๒] คำว่า ตํ ในอุเทศว่า "ตญฺจาหํ อภินนฺทามิ" ความว่า ซึ่งพระดำรัส คือ ทางแห่งถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์. คำว่า อภินนฺทามิ คือ ข้าพระองค์ย่อมยินดี ชอบใจ เบิกบาน อนุโมทนา ปรารถนา พอใจ ขอ ประสงค์ รักใคร่ ติดใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระดำรัส ของพระองค์นั้น. [๑๗๓] คำว่า มเหสี ในอุเทศว่า มเหสี ธมฺมมุตฺตมํ ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่ากระไร? ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ ซึ่งสมาธิขันธ์ใหญ่ ซึ่งปัญญาขันธ์ใหญ่ ซึ่งวิมุตติขันธ์ใหญ่ ซึ่งวิมุตติญาณ- *ทัสสนขันธ์ใหญ่ ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา แล้วซึ่งความทำลายกองมืดใหญ่ ซึ่งความทำลายวิปลาสใหญ่ ซึ่งความถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ ซึ่งความตัดความสืบต่อทิฏฐิใหญ่ ซึ่งความให้มานะเป็นเช่นธงใหญ่ตกไป ซึ่งความระงับ อภิสังขารใหญ่ ซึ่งความสละโอฆะใหญ่ ซึ่งความปลงภาระใหญ่ ซึ่งความตัดสังสารวัฏใหญ่ ซึ่งการ ให้ความเร่าร้อนใหญ่ดับไป ซึ่งความสงบระงับความเดือดร้อนใหญ่ ซึ่งความยกขึ้นซึ่งธรรมเป็น ดังว่าธงใหญ่ ซึ่งสติปัฏฐานใหญ่ ซึ่งสัมมัปปธานใหญ่ ซึ่งอิทธิบาทใหญ่ ซึ่งอินทรีย์ใหญ่ ซึ่ง พละใหญ่ ซึ่งโพชฌงค์ใหญ่ ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ใหญ่ ซึ่งอมตนิพพานเป็น ปรมัตถ์ใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า อันสัตว์ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ ใหญ่แสวงหา เสาะหา สืบหาว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาประทับ ณ ที่ไหน พระนราศภประทับ ณ ที่ไหน. อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า เป็น ธรรมอุดม ในคำว่า ธมฺมมุตฺตมํ. คำว่า อุตฺตมํ คือ ธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน สูงสุด อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ... ซึ่งธรรมอุดม. [๑๗๔] คำว่า ยํ วิทิตฺวา สโต จรํ ความว่า ทำให้ทราบ คือ เทียบเคียง พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ ทำให้ทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐานเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้นท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีสติ. คำว่า จรํ คือ เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ... เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป. [๑๗๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในอุเทศว่า "ตเร โลเก วิสตฺติกํ" วิสัตติกา ในบทว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่ากระไร? ฯลฯ ซ่านไป แผ่ซ่านไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรม คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ และ ธรรมที่รู้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า โลเก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก. คำว่า ตเร โลเก วิสตฺติกํ ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ พึงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งตัณหา อันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่างๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ชอบใจ พระดำรัสของพระองค์นั้น และธรรมอันสูงสุดที่บุคคล ทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอันเกาะเกี่ยว ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้. [๑๗๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรเมตตคู) ท่านย่อมรู้ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง ส่วนกว้าง ท่านจงบรรเทาความยินดี ความพัวพัน และ วิญญาณในธรรมเหล่านั้นเสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ. [๑๗๗] คำว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ท่านย่อมรู้ คือ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดซึ่งธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านย่อมรู้ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า เมตตคู. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรเมตตคู. [๑๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสอนาคตว่า ชั้นสูง ในอุเทศว่า "อุทธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ" ดังนี้. ตรัสอดีตว่า ชั้นต่ำ. ตรัสปัจจุบันว่า ชั้นกลาง ส่วนกว้าง. ตรัสเทวโลกว่า ชั้นสูง. ตรัสนิรยโลกว่า ชั้นต่ำ. ตรัสมนุษยโลกว่า ชั้นกลาง ส่วนกว้าง. ตรัสกุศลธรรมว่า ชั้นสูง. ตรัสอกุศลธรรมว่า ชั้นต่ำ. ตรัสอพยากตธรรมว่า ชั้นกลาง ส่วนกว้าง. ตรัสอรูปธาตุว่า ชั้นสูง ตรัสกามธาตุว่า ชั้นต่ำ. ตรัสรูปธาตุว่า ชั้นกลาง ส่วนกว้าง. ตรัสสุขเวทนาว่า ชั้นสูง. ตรัสทุกขเวทนาว่า ชั้นต่ำ. ตรัสอทุกขมสุขเวทนาว่า ชั้นกลาง ส่วนกว้าง. ตรัสส่วนเบื้องบน ตลอดถึงพื้นเท้าว่า ชั้นสูง. ตรัสส่วนเบื้องต่ำตลอดถึงปลายผมว่า ชั้นต่ำ. ตรัสส่วนกลางว่า ชั้นกลาง ส่วนกว้าง. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง ส่วนกว้าง. [๑๗๙] คำว่า เอเตสุ ในอุเทศว่า "เอเตสุ นนฺทิญฺจ นิเวสนญฺจ ปนุชฺช วิญฺญาณํ ภเว น ติฏฺเฐ" ดังนี้ ความว่า ในธรรมทั้งหลายที่เราบอกแล้ว ... ประกาศแล้ว ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่าความยินดี. ความพัวพันในบทว่า นิเวสนํ มี ๒ อย่าง คือ ความพัวพันด้วยตัณหา ๑ ความพัวพัน ด้วยทิฏฐิ ๑. ความพัวพันด้วยตัณหาเป็นไฉน? ความถือว่าของเราอันทำให้เป็นแดน ... ด้วยส่วน ตัณหาเท่าใด ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความพัวพันด้วยตัณหา. ความพัวพันด้วยทิฏฐิเป็นไฉน? สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความพัวพันด้วยทิฏฐิ. คำว่า ปนุชฺช วิญฺญาณํ ความว่า วิญญาณอันสหรคตด้วยปุญญาภิสังขาร วิญญาณอัน สหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วยอเนญชาภิสังขาร. ท่านจงบรรเทา คือ จงสลัด จงถอน จงถอนทิ้ง จงละ จงทำให้ไกล จงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความยินดี ความพัวพัน และวิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขารในธรรมเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน จงบรรเทาความยินดี ความพัวพัน และวิญญาณในธรรมเหล่านี้. ภพมี ๒ คือ กรรมภพ ๑ ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ๑ ชื่อว่าภพในอุเทศว่า "ภเวน น ติฏเฐ". กรรมภพเป็นไฉน? ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้เป็นกรรมภพ. ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิเป็นไฉน? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีในปฏิสนธิ นี้เป็นภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ. คำว่า ภเว น ติฏฺเฐ ความว่า เมื่อละขาด บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความยินดี ความพัวพัน วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขาร กรรมภพ และภพใหม่อันมีใน ปฏิสนธิ ไม่พึงตั้งอยู่ในกรรมภพ ไม่พึงดำรงอยู่ ไม่พึงประดิษฐานอยู่ในภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงบรรเทา ... วิญญาณไม่พึงตั้งอยู่ในภพ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลางส่วนกว้าง. ท่านจงบรรเทาความยินดี ความพัวพัน และวิญญาณในธรรมเหล่านั้นเสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ. [๑๘๐] ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท มีความรู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว เที่ยวไป พึงละชาติ ชรา ความโศกและความรำพันอันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้เสียทีเดียว. [๑๘๑] คำว่า เอวํวิหารี ในอุเทศว่า "เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต" ดังนี้ ความว่า ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความยินดี ความพัวพัน วิญญาณอันสหรคต ด้วยอภิสังขาร กรรมภพ และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้. คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐานเครื่อง- *พิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นผู้มีสติ. คำว่า อปฺปมตฺโต ความว่า ภิกษุเป็นผู้ทำด้วยความเต็มใจ คือ ทำเนืองๆ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่ประมาทในกุศลธรรม คือ ความพอใจ ความพยายาม ความหมั่น ความเป็นผู้มีความหมั่น ความไม่ถอยหลัง สติ สัมปชัญญะ ความเพียรให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรชอบ ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ใด ในกุศลธรรม นั้นว่า เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่ บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น ... เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น ... เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญปัญญา- *ขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรม นั้น ... เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น ... เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น. ความ พอใจเป็นต้นนั้น ชื่อว่าความไม่ประมาทในกุศลธรรม ความพอใจ ความพยายาม ... ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ใดในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไรเราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ เราพึง ละกิเลสทั้งหลายที่ยังไม่ได้ละ เราพึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือเราพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง ความพอใจเป็นต้นนั้น ชื่อว่าความไม่ประมาทในกุศลธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ เป็นผู้มีสติไม่ประมาท. [๑๘๒] ภิกษุเป็นกัลยาณปุถุชนก็ดี ภิกษุเป็นพระเสขะก็ดี ชื่อว่า ภิกษุ ในอุเทศว่า "ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ" ดังนี้. คำว่า จรํ ความว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไปทั่ว ... เยียวยา. ความยึดถือว่าของเรามี ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเรา ด้วยอำนาจตัณหา ๑ ความ ยึดถือว่าของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ชื่อว่าความยึดถือว่าของเรา. ละความยึดถือว่าของเราด้วย อำนาจตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความยึดถือว่าของเราทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... ละแล้วซึ่งความ ยึดถือว่าของเราทั้งหลายเที่ยวไป. [๑๘๓] ความเกิด ความเกิดพร้อม ... ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะทั้งหลายในหมู่สัตว์ นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่าชาติ ในอุเทศว่า "ชาติชฺชรํ โสกปริทฺเทวญฺจ อิเมว วิทฺวา ปชฺชเหยฺย ทุกขํ" ดังนี้. ความแก่ ความเสื่อม ... ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่าชรา. ความโศก กิริยาที่โศก ... หรือของคนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้า ชื่อว่า ความโศก. ความร้องไห้ ความรำพัน ... หรือของคนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้า ชื่อว่า ปริเทวะ. คำว่า อิธ ความว่า ในทิฏฐินี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้. คำว่า วิทฺวา ความว่า ผู้รู้แจ้ง คือถือความรู้แจ้ง มีญาณ มีความแจ่มแจ้ง เป็น นักปราชญ์. ชาติทุกข์ ฯลฯ ทุกข์คือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ชื่อว่าทุกข์. คำว่า ชาติชฺชรํ โสกปริทฺเทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชฺชเหยย ทุกฺขํ ความว่า ผู้รู้แจ้ง คือ ถึงความรู้แจ้ง มีญาณ มีความแจ่มแจ้ง เป็นปราชญ์ พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งชาติ ชรา ความโศก และความร่ำไรในอัตภาพนี้เทียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้รู้แจ้งพึงละชาติ ชรา ความโศก และความร่ำไรอันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้เทียว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท มีความรู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเรา แล้วเที่ยวไป พึงละชาติ ชรา ความโศกและความรำพันอันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้เสียทีเดียว. [๑๘๔] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัส ของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ที่ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมไม่มีอุปธิ. พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่.จริงอย่างนั้น ธรรม นั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว. [๑๘๕] คำว่า เอตํ ในอุเทศว่า "เอตาภินนฺทามิ วโจ มเหสิโน" ดังนี้ ความว่า ถ้อยคำ ทางถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิของพระองค์. คำว่า อภินนฺทามิ ความว่า ย่อมยินดี คือ ชอบใจ เบิกบาน อนุโมทนา ปรารถนา พอใจ ขอประสงค์ รักใคร่ ติดใจ. คำว่า มเหสิโน ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาศีลขันธ์ใหญ่ ฯลฯ พระนราศภประทับที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่. [๑๘๖] คำว่า สุกิตฺติตํ ในอุเทศว่า "สุกิตฺติตํ โคตม นูปธีกํ" ดังนี้ ความว่า อันพระองค์ตรัสแล้ว คือ ตรัสบอก ... ทรงประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตรัสดีแล้ว. กิเลสทั้งหลายก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ท่านกล่าวว่า อุปธิ ในอุเทศว่า "โคตม นูปธีกํ" เป็นธรรมที่ละอุปธิ คือ เป็นที่สงบอุปธิ ที่สละคืนอุปธิ ที่ระงับอุปธิ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระโคตม ... ตรัสดีแล้ว เป็นธรรมไม่มีอุปธิ. [๑๘๗] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า "อทฺธา หิ ภควา ปหาสิ ทุกขํ" ดังนี้ เป็น เครื่องกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่มีความ เคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่เป็นสองแง่ เป็นเครื่องกล่าวแน่นอน เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวแน่แท้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภวคา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. คำว่า ปหาสิ ทุกขํ ความว่า พระองค์ทรงละ คือ ทรงละขาด ทรงบรรเทา ทรงทำ ให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งชาติทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคทรง ละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่. [๑๘๘] คำว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว ความว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบ คือ ทรงรู้ ทรงเทียบเคียง ทรงพิจารณา ทรงให้แจ่มแจ้ง ปรากฏแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว. เพราะ ฉะนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระโคตม ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ที่ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมไม่มี อุปธิ. พระผู้มีพระภาคทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่. จริง อย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว. [๑๘๙] พระองค์เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดบ่อยๆ ก็ชนแม้ เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่. ข้าพระองค์มาพบแล้วซึ่ง พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ จักขอนมัสการพระองค์. ขอ พระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์บ่อยๆ บ้าง. [๑๙๐] คำว่า เต จาปิ ในอุเทศว่า "เต จาปิ นูน ปชเหยฺยุ ทุกฺขํ" ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์ พึงละได้. คำว่า ทุกฺขํ ความว่า พึงลง คือ พึงบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่ง ชาติทุกข์ ... ความคับแค้นใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็แม้ชนเหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่. [๑๙๑] คำว่า เย ในอุเทศว่า "เย ตฺวํ มุนี อฏฺฐิตํ โอวเทยฺย" ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์ เมตตคูพราหมณ์ย่อมกล่าวกับ พระผู้มีพระภาคว่า ตฺวํ. ญาณ เรียกว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ฯลฯ บุคคลนั้นล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็น เครื่องข้อง และตัณหาเป็นดังว่าข่าย ย่อมเป็นมุนี. คำว่า อฏฺฐิตํ โอวเทยฺย ความว่า ตรัสสอนโดยเอื้อเฟื้อ คือ ตรัสสอนเนืองๆ ตรัสสอน พร่ำสอนบ่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์เป็นพระมุนี ตรัสสอนชนเหล่าใด บ่อยๆ. [๑๙๒] เมตตคูพราหมณ์กล่าวกับพระผู้มีพระภาคว่า ตํ ในอุเทศว่า ตนฺตํ นมสฺสามิ สเมจฺจ นาคํ. คำว่า นมสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์ขอนมัสการ คือ ขอ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาด้วยกาย ด้วยจิต ด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นไปตามประโยชน์ หรือด้วยการปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม. คำว่า สเมจฺจ ความว่า ข้าพระองค์มาพบ คือ มาประสบ มาหา มาเฝ้าแล้ว ขอ นมัสการพระองค์เฉพาะพระพักตร์. คำว่า นาคํ ความว่า ผู้ไม่มีความชั่ว, พระผู้มีพระภาคไม่ทรงทำความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค. ไม่เสด็จไปสู่ความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค. ไม่เสด็จ มาสู่ความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงทำความชั่วอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค. อกุศล- *ธรรมทั้งปวงอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ท่านกล่าวว่าความชั่ว. บุคคลไม่ทำความชั่วน้อยหนึ่งในโลก สลัดแล้วซึ่งกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ทั้งปวง ซึ่งเครื่องผูกทั้งหลาย เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องในที่ทั้งปวง. บุคคลนั้นท่านกล่าวว่าเป็น นาค ผู้คงที่ มีจิตอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงทำความชั่วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค. พระผู้มีพระภาคไม่เสด็จไปอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค? พระผู้มี- *พระภาคไม่เสด็จไปสู่ฉันทาคติ ไม่เสด็จไปสู่โทสาคติ ไม่เสด็จไปสู่โมหาคติ ไม่เสด็จไปสู่ ภยาคติ. พระองค์ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจราคะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจ โมหะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจมานะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจอนุสัย ไม่ดำเนิน ไม่เสด็จออก ไม่ถูก พัดไป ไม่ถูกนำไป ไม่ถูกเคลื่อนไปด้วยธรรมอันเป็นพวก พระผู้มีพระภาคไม่เสด็จไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค. พระผู้มีพระภาคไม่เสด็จมาอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค? พระผู้มี- *พระภาคไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสทั้งหลาย ที่พระองค์ทรงละได้แล้วด้วยโสดาปัตติ- *มรรค ... ด้วยสกทาคามิมรรค ... ด้วยอนาคามิมรรค ... ด้วยอรหัตมรรค. พระผู้มีพระภาค ไม่เสด็จมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ มาพบพระผู้มีพระภาคผู้เป็นนาค จึงขอนมัสการพระองค์. [๑๙๓] คำว่า อปฺเปว มํ ภควา อฏฺฐิตํ โอวเทยฺย ความว่า ขอพระผู้มีพระภาค พึงตรัสสอนข้าพระองค์บ่อยๆ คือ โปรดตรัสสอนโดยเอื้อเฟื้อ ตรัสสอนเนืองๆ ตรัสสอน พร่ำสอนบ่อยๆ บ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์บ่อยๆ บ้าง. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า พระองค์เป็นพระมุนี ตรัสสอนชนเหล่าใดบ่อยๆ ก็ชน แม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่. ข้าพระองค์มาพบแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ จักขอนมัสการพระองค์. ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสสอนข้าพระองค์บ่อยๆ บ้าง. [๑๙๔] บุคคลพึงรู้จักผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ถึงเวท ไม่มีกิเลสเครื่อง กังวล ไม่ข้องเกี่ยวในกามภพ ผู้นั้นข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะนี้ โดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีความ สงสัย. [๑๙๕] คำว่า พฺราหฺมณํ ในอุเทศว่า ยํ พฺราหฺมณํ เวทคุ อภิชญญา ความว่า ชื่อว่า เป็นพราหมณ์เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ. เป็นผู้ลอยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ. เป็นผู้ลอยอกุศลบาปธรรมอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ ต่อไป. (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสภิยะ) พระผู้มีพระภาค ลอยเสียแล้วซึ่งธรรมอันลามกทั้งปวง ปราศจากมลทิน มีจิต ตั้งมั่นดี มีจิตคงที่ ล่วงแล้วซึ่งสงสาร เป็นผู้บริบูรณ์. พระผู้มีพระภาคนั้นอันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ประเสริฐ. ญาณในมรรค ๔ ตรัสว่าเวท ในคำว่า เวทคุ ฯลฯ พราหมณ์นั้นเป็นเวทคู เพราะล่วง เสียซึ่งเวททั้งปวง. คำว่า อภิชญฺญา ความว่า พึงรู้จัก คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงรู้จักผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ผู้ถึงเวท. [๑๙๖] คำว่า อกิญฺจนํ ในอุเทศว่า อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ ดังนี้ ความว่า เครื่องกังวล คือ ราคะ เครื่องกังวล คือ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต. เครื่องกังวลเหล่านี้อันผู้ใดละขาดแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล. โดยอุทานว่า กาม กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. ฯลฯ เหล่านี้ตรัสว่า วัตถุกาม. ฯลฯ เหล่านี้ตรัสว่า กิเลสกาม. ชื่อว่าภพ คือ ภพ ๒ อย่าง. คือ กรรมภพ ๑ ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ๑. ฯลฯ นี้ ชื่อว่าภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ. คำว่า อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ ความว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องเกี่ยว คือ ไม่ข้องแวะ ไม่เกาะเกี่ยว ไม่พัวพัน ในกามภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องเกี่ยวในกามภพ. [๑๙๗] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า อทฺธา หิ โส โอฆมิมํ อตาริ ดังนี้ เป็นเครื่อง กล่าวโดยส่วนเดียว ฯลฯ คำว่า อทฺธา นี้เป็นเครื่องกล่าวแน่แท้. คำว่า โอฆํ คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ. คำว่า อตาริ ความว่า ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้าม พ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็นไปล่วงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นได้ข้ามแล้วซึ่งโอฆะนี้ โดยแท้. [๑๙๘] คำว่า ติณฺโณ ในอุเทศว่า "ติณฺโณ จ ปารํ อขิโล อกงฺโข" ดังนี้ ความว่า ผู้นั้นข้ามได้แล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงพ้นแล้ว เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ มีความอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว มีทางไกลอันถึงแล้ว มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว ถึงแล้วซึ่งทิฏฐิอันอุดม มีมรรค อันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีอกุปปธรรมอันแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว. ผู้นั้นกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว เจริญมรรคแล้ว ทำนิโรธให้แจ่มแจ้งแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละซึ่งธรรมที่ควรละแล้ว เจริญซึ่งธรรมที่ ที่ควรเจริญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว. ผู้นั้นมีอวิชชาเพียงดังกลอนอันถอด ออกแล้ว มีชาติสงสารเพียงดังคูอันกลบแล้ว มีตัณหาเพียงดังเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว ไม่มี ลิ่มสลัก เป็นผู้ไกลจากกิเลสดังข้าศึก มีอัสมิมานะดังว่าธงล้มไปแล้ว มีภาระปลงเสียแล้ว เป็น ผู้ไม่เกี่ยวข้อง ละนิวรณ์มีองค์ ๕ เสียแล้ว ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ มีสติเป็นเครื่องรักษา อย่างเอก มีธรรมเป็นที่พึ่งพิง ๔ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งๆ บรรเทาเสียแล้ว มีความ แสวงหาอันประเสริฐบริบูรณ์โดยชอบ มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารระงับแล้ว มีจิตพ้น วิเศษดีแล้ว มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เป็นบุรุษอุดม เป็นบุรุษประเสริฐ เป็นผู้ถึงอรหันตผลอันประเสริฐ. ผู้นั้นย่อมไม่ก่อ ไม่ทำลาย ทำลายเสร็จแล้วดำรงอยู่ ไม่ต้องละ ไม่ต้องยึดถือ ละเสร็จ แล้วดำรงอยู่ ย่อมไม่เย็บ ไม่ยก ตัดเสร็จแล้วดำรงอยู่ ไม่ต้องกำจัด ไม่ต้องก่อ ก่อเสร็จ แล้วดำรงอยู่ ชื่อว่าดำรงอยู่แล้ว เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ยังอริยสัจทั้งปวงให้ถึงเฉพาะแล้ว ดำรงอยู่ ล่วงเสียอย่างนี้แล้วดำรงอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่วนเวียน ยึดถือความชนะเสร็จแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ในความซ่องเสพวิมุติ ดำรงอยู่ในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในความบริสุทธิ์ส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่มี กัมมัญญะ (ตัณหา ทิฏฐิ มานะ) ดำรงอยู่เพราะความเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว ดำรงอยู่เพราะความ เป็นผู้มีจิตสงบ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งขันธ์ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งธาตุ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งอายตนะ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งคติ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งอุปบัติ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งปฏิสนธิ ดำรงอยู่ใน ที่สุดแห่งภพ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งสังขาร ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพอันมีในที่สุด ดำรงอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด เป็นพระอรหันต์ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด. พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นครั้งหลัง มีอัตภาพนี้และมีสงสาร คือ ชาติ ชราและมรณะเป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีภพใหม่. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว. อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ตรัสว่าฝั่ง ในบทว่า ปารํ ดังนี้. ผู้นั้นถึงแล้วซึ่งฝั่ง คือ บรรลุถึงฝั่ง ไปสู่ส่วนสุด ถึงส่วนสุด ไปสู่ที่สุด ถึงที่สุด ไปสู่ส่วนสุดรอบ ถึงส่วนสุดรอบ ไปสู่ที่จบ ถึงที่จบ ไปสู่ที่ต้านทาน ถึงที่ต้านทาน ไปสู่ ที่เร้น ถึงที่เร้น ไปสู่ที่พึ่ง ถึงที่พึ่ง ไปสู่ที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่มีภัย ไปสู่ที่ไม่เคลื่อน ถึงที่ไม่เคลื่อน ไปสู่อมตะ ถึงอมตะ ไปสู่นิพพาน ถึงนิพพาน. ผู้นั้นมีพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องอยู่ อยู่จบแล้ว มีจรณะประพฤติแล้ว ฯลฯ ไม่มีสงสาร คือ ชาติ ชราและมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง. คำว่า ไม่มีเสาเขื่อน คือ ราคะเป็นเสาเขื่อน โทสะเป็นเสาเขื่อน โมหะเป็นเสาเขื่อน ความโกรธเป็นเสาเขื่อน ความผูกโกรธเป็นเสาเขื่อน ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงเป็นเสาเขื่อน. ผู้ใดละเสาเขื่อนเหล่านี้แล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ ผู้นั้นตรัสว่า เป็นผู้ไม่มีเสาเขื่อน. คำว่าผู้ไม่มีความสงสัย คือ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในทุกขสมุทัย ความ สงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความสงสัยในเงื่อนเบื้องต้น ความ สงสัยในเงื่อนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปันนธรรม คือ ความเป็นปัจจัยแห่งสงขารา- *ทิธรรมนี้ ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความไม่ตกลง ความเป็นสองแง่ ความเป็นสองทาง ความลังเล ความไม่ถือเอาโดยส่วนเดียว ความระแวง ความระแวงรอบ ความตัดสินไม่ลง ความมีจิตครั่นคร้าม ความมีใจสนเท่ห์ เห็นปานนี้. ผู้ใด ละความสงสัยเหล่านี้ ... เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือ ญาณ ผู้นั้นตรัสว่า เป็นผู้ไม่มีความสงสัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีความสงสัย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลพึงรู้จักผู้ใดว่า เป็นพราหมณ์ ผู้ถึงเวท ไม่มีกิเลสเครื่อง กังวล ไม่ข้องเกี่ยวในกามภพ ผู้นั้นได้ข้ามแล้วซึ่งโอฆะนี้ โดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีความ สงสัย. [๑๙๙] นรชนใดในศาสนานี้ มีความรู้ เป็นเวทคู สลัดแล้วซึ่ง บาปธรรมเป็นเครื่องข้องนี้ ในภพน้อยและภพใหญ่ นรชน นั้นเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง. เรา กล่าวว่า นรชนนั้นได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชรา. [๒๐๐] คำว่า วิทฺวา ในอุเทศว่า "วิทฺวา จ โย เวทคู นโร อิธ" ดังนี้ ความว่า ไปแล้วในวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า โย ความว่า ฯลฯ มนุษย์ใด คือ เช่นใด. ญาณในมรรค ๔ ตรัสว่าเวท ในบทว่า เวทคู นรชน นั้น ชื่อว่าเป็นเวทคู เพราะล่วง เสียซึ่งเวททั้งปวง. คำว่า นโร ได้แก่ สัตว์ นระ มาณพ ผู้อันเขาเลี้ยง บุคคล ผู้เป็นอยู่ ผู้ถึงชาติ สัตว์เกิด ผู้ถึงความเป็นใหญ่ ชนผู้เกิดแต่พระมนู. คำว่า อิธ คือ ในทิฏฐินี้ ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนใดใน ศาสนานี้ มีความรู้ เป็นเวทคู.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๑-๑๙๗๓ หน้าที่ ๑-๗๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=1&Z=1973&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=1&items=821              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=1&items=821&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=30&item=1&items=821              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=30&item=1&items=821              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]