ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๑๐๔] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง
เบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร ฯ
             พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๓.

ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ เสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕๐ ประการ ฯ [๑๐๕] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิด ขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง วิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณา เห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่ง เวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ ฯ [๑๐๖] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิด ขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดรูปจึงเกิด เพราะ กรรมเกิดรูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ แห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๔.

[๑๐๗] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์โดยความดับ แห่งปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ เพราะตัณหาดับรูปจึงดับ เพราะ กรรมดับรูปจึงดับ เพราะอาหารดับรูปจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่ง ความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ เมื่อพิจารณา เห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๑๐ ประการนี้ ฯ [๑๐๘] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความ เกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดเวทนาจึง เกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด แม้เมื่อ พิจารณาเห็นลักษณะแห่งการเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น ลักษณะ ๕ ประการนี้ ฯ [๑๐๙] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ โดยความ ดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหาดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็น ลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๕.

ลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเวทนา ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ ฯ [๑๑๐] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งสัญญาขันธ์ แห่ง สังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความ เกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดวิญญาณ จึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะนามรูปเกิดวิญญาณจึงเกิด แม้ เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ ฯ [๑๑๑] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ฯ พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ โดย ความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับวิญญาณจึงดับ เพราะตัณหาดับวิญญาณ จึงดับ เพราะกรรมดับวิญญาณจึงดับ เพราะนามรูปดับวิญญาณจึงดับ แม้ เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป แห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ เมื่อ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ นี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๖.

นั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็น อุทยัพพยานุปัสนาญาณ ฯ รูปขันธ์เกิดเพราะอาหารเกิด ขันธ์ที่เหลือ คือ เวทนา สัญญา สังขาร เกิดเพราะผัสสะเกิด วิญญาณขันธ์เกิดเพราะนามรูปเกิด ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๒๗๕-๑๓๕๙ หน้าที่ ๕๒-๕๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1275&Z=1359&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=104&items=8&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=104&items=8&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=104&items=8&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=104&items=8&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=104              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]