ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
เอกจินติกเถราปทานที่ ๗ (๑๘๗)
ว่าด้วยผลแห่งการที่กุศลตักเตือน
[๑๘๙] ในกาลใด เทวดาจะจุติจากหมู่เทพเพราะสิ้นอายุ ในกาลนั้น เทวดาผู้ พลอยยินดีย่อมเปล่งเสียงออก ๓ ประการว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านจากนี่ จงไปสู่สุคติ จงได้ความเป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาชั้นเยี่ยม ในสัทธรรม ศรัทธาของท่านผู้ตั้งมั่นแล้วนั้นจงมั่นคงเป็นมูลไว้ อย่าคลอน แคลนในสัทธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศดีแล้ว ตลอดชีวิต ท่านจงกระทำ กุศลอันไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีอุปธิด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ให้มาก แต่นั้นท่านก่อสร้างบุญ ทำบุญนั้นด้วยทานให้มาก จงแนะนำแม้สัตว์อื่นๆ ให้ตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ในสัทธรรม สัตว์อื่นๆ ผู้รู้ตามความเป็นจริง พลอย ยินดีตามท่าน ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดา เพราะความอนุเคราะห์นี้ ขอท่าน จงกลับมาบ่อยๆ นะในกาลนั้น เราเป็นผู้สลดใจอยู่ในหมู่เทวดาที่มาประชุม กัน ด้วยคิดว่า เราเป็นอะไรเล่า จุติจากนี่แล้วจึงจักไปยังกำเนิดมนุษย์ได้ ในกาลนั้น พระสมณะสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้อบรม อินทรีย์แล้ว มีนามชื่อว่าสุมนะ รู้ความสลดใจของเรา ปรารถนาจะช่วย เหลือเรา ท่านจึงมาในสำนักของเรา พร่ำสอนอรรถธรรมแล้ว ยังเราให้ สลดใจ เราได้ฟังคำของท่านแล้ว ทำให้จิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เราเพียง แต่ได้ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น เรานั้นอัน กุศลมูลตักเตือนแล้ว ได้อุปบัติในเทวโลกนั้นเอง ไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอด แสนกัลป คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกจินติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกจินติกเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๔๗๕๗-๔๗๗๙ หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=4757&Z=4779&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=32&item=189&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=32&item=189&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=32&item=189&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=32&item=189&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=189              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32 https://84000.org/tipitaka/english/?index_32

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]