ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
             [๕๔] 	พระผู้มีพระภาคผู้อุดมบุรุษ เสด็จขึ้นภูเขาอันสูงสุดแล้ว ประทับนั่งอยู่
                          เราเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบมนต์ อยู่ในที่ไม่ไกลภูเขา ได้เข้าไปเฝ้าพระ-
                          มหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนราสภ ประนมกรอัญชลีแล้ว ชมเชย
                          พระผู้นายกของโลกว่า พระมหาวีรพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงประกาศธรรม
                          อันประเสริฐ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ พระผู้มี
                          พระภาคผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงกำเริบดังมหาสมุทร หาผู้ต้านทานได้ยาก ดุจ
                          อรรณพ ไม่ทรงครั่นคร้ามเหมือนราชสีห์ทรงแสดงธรรม พระศาสดา
                          พระนามว่าปทุมุตระ ทรงทราบความดำริของเรา ประทับยืนในท่ามกลาง
                          ภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้ถวายอัญชลีนี้ และเชยชม
                          พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติตลอด ๖ หมื่นกัลป
                          ในแสนกัลป พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอังคีรสะ ผู้มีกิเลสดังหลังคา
                          เปิด จักเสด็จอุบัติในภพนั้น ผู้นั้นจักเป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรมของ
                          พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันธรรมนิรมิตแล้ว จักเป็นพระอรหันต์มีชื่อว่า
                          สตรังสี เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด ออกบวชเป็นบรรพชิตมีชื่อว่าสตรังสี
                          รัศมีของเราแผ่ออกไป เรามักเพ่งฌานยินดีในฌานอยู่ที่มณฑปหรือโคนไม้
                          เราทรงกายอันเป็นที่สุด อยู่ในศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอด
                          ๖ หมื่นกัลป ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ พระองค์ ทรงพระนามว่าโรมะ
                          ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ
                          ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธ-
                          ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
             ทราบว่า ท่านพระสตรังสิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สตรังสิยเถราปทาน
สยนทายกเถราปทานที่ ๓ (๕๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายที่นอน

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๒๔๔๒-๒๔๖๕ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=2442&Z=2465&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=32&item=54&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=32&item=54&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=32&item=54&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=32&item=54&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=54              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32 https://84000.org/tipitaka/english/?index_32

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]