ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
สกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓
สกิงสัมมัชชกเถราปทานที่ ๑
ว่าด้วยผลแห่งการกวาดลานพระศรีมหาโพธิ
[๑๑] เราได้เห็นไม้แคฝอย ซึ่งเป็นไม้โพธิอันอุดมของพระผู้มีพระภาค พระนามว่าวิปัสสี แล้วยังใจให้เลื่อมใสในไม้โพธินั้น เราหยิบเอา ไม้กวาดมากวาด (ลานโพธิพฤกษ์) อันเป็นที่ตั้งแห่งไม้โพธิในกาล นั้น ครั้นแล้วได้ไหว้ไม้แคฝอยซึ่งเป็นไม้โพธินั้น เรายังจิตให้ เลื่อมใสในไม้โพธินั้น ประนมกรอัญชลีเหนือเศียรเกล้า นมัสการ ไม้โพธินั้นแล้ว กลับไปยังกระท่อม เราเดินนึกถึงไม้โพธิอันอุดมไป ตามหนทางสัญจร งูเหลือมซึ่งมีรูปร่างน่ากลัว มีกำลังมาก รัดเรา กรรมที่เราทำในเวลาใกล้จะตาย ได้ทำให้เรายินดีด้วยผล งูเหลือม กลืนกินร่างของเรา เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก จิตของเราไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ขาวสะอาดในกาลทุกเมื่อ ลูกศรคือความโศก ที่เป็นเหตุทำ จิตของเราให้เร่าร้อน เราไม่รู้จักมันเลย เราไม่มีโรคเรื้อน ฝี โรคกลาก ลมบ้าหมู คุดทะราด หิดเปื่อย และหิดด้าน นี้ก็เป็น ผลแห่งการกวาด ความโศก ความเร่าร้อน ไม่มีในหทัยของเรา จิตของเราตรง ไม่วอกแวก นี้เป็นผลแห่งการกวาด เราถึงสมาธิอีก ใจของเราเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ สมาธิที่เราปรารถนาย่อมสำเร็จแก่เรา เราไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองใน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความหลง นี้ก็เป็นผลแห่งการกวาด ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งการกวาด เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำ เสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระสกิงสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สกิงสัมมัชชกเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๓๗๗-๔๐๒ หน้าที่ ๑๗-๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=377&Z=402&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=11&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=11&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=11&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=11&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]