ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
โสวัณณโกนตริกเถราปทานที่ ๑๐
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกะโหลกน้ำเต้า
[๒๐] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้อบรมใจ ฝึกพระองค์แล้ว มีพระทัยตั้งมั่น เสด็จดำเนินอยู่ในทางใหญ่ ทรงข้ามโอฆะได้แล้วทรงยินดีในการ สงบระงบจิต ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีใน ฌาน เป็นมุนี เข้าสมาบัติ สำรวมอินทรีย์ จึงเอากะโหลกน้ำเต้า ตักน้ำเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ล้างพระบาทของพระ พุทธเจ้าแล้วถวายน้ำเต้า และพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ได้ทรงบังคับว่า ท่านจงเอากะโหลกน้ำเต้านี้ ตักน้ำมาวางไว้ที่ ใกล้ๆ เท้าของเรา เรารับสนองพระพุทธดำรัสว่า สาธุ แล้วเอา กะโหลกน้ำเต้ามาวางไว้ใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เพราะความ เคารพต่อพระศาสดา พระศาสดาผู้ทรงความเพียรใหญ่ เมื่อจะทรง ยังจิตของเราให้ดับสนิท ได้ทรงอนุโมทนาว่า ด้วยการถวายน้ำเต้านี้ ขอความดำริของท่านจงสำเร็จ ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ เรารื่นรมย์ อยู่ในเทวโลก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๓ ครั้ง จะเป็น กลางวันหรือกลางคืนก็ตาม เมื่อเราเดินหรือยืนอยู่ คนทั้งหลายถือ ถ้วยทองยืนอยู่ข้างหน้าเรา เราได้ถ้วยทองเพราะการถวายน้ำเต้า แด่พระพุทธเจ้า สักการะที่ทำไว้ในท่านผู้คงที่ทั้งหลาย ถึงจะน้อย ก็ย่อมเป็นของไพบูลย์ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายน้ำเต้าใน กาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งน้ำเต้า เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโสวัณณโกนตริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โสวัณณโกนตริกเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน ๗. เอกธัมมสวนิยเถราปทาน ๓. เอกาสนทายกเถราปทาน ๘. สุจินติตเถราปทาน ๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน ๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน ๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๑๐. โสวัณณโกนตริกเถราปทาน
และในวรรคนี้ บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๑๗๒ คาถา.
จบสกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๕๔-๖๘๗ หน้าที่ ๒๘-๒๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=654&Z=687&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=20&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=20&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=20&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=20&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=20              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]