ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๒๑] 	ในภัททกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะโดยพระโคตรเป็น
                          เผ่าพรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย เสด็จ
                          อุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ไม่มีธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ไม่มีเครื่อง
                          ยึดหน่วง มีพระทัยเสมอด้วยอากาศ มากด้วยสุญญตสมาธิ คงที่
                          ยินดีในอนิมิตตสมาธิ ประทับอยู่แล้ว พระองค์ผู้มีพระทัยรังเกียจ
                          ไม่มีตัณหาเครื่องฉาบทา ไม่เกี่ยวข้องในกุศล ในคณะ ประกอบด้วย
                          พระกรุณาใหญ่ เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดในอุบายเครื่องแนะนำ
                          ทรงขวนขวายในกิจของผู้อื่น ทรงแนะนำในหนทางอันยังสัตว์ให้ถึง
                          นิพพาน ซึ่งเป็นเหตุทำเปือกตมคือคติให้แห้ง ในโลกพร้อมทั้ง
                          เทวโลก ประทับนั่งแสดงอมตธรรมอันเป็นความแช่มชื่นอย่างยิ่ง
                          ซึ่งเป็นเครื่องห้ามชราและมรณะ ในท่ามกลางบริษัทใหญ่ ยังสัตว์
                          ให้ข้ามโลก พระวาจาไพเราะเหมือนนกการะเวก เป็นนาถะของโลก
                          มีพระสุรเสียงก้องประหนึ่งเสียงพรหม ผู้เสด็จมาด้วยประการนั้น
                          ถอนพระองค์ขึ้นจากมหันตทุกข์ ในเมื่อโลกปราศจากผู้แนะนำ ทรง
                          แสดงธรรมที่ปราศจากธุลี นำสัตว์ออกจากโลก เราได้เห็นแล้ว
                          ได้ฟังธรรมของพระองค์ จึงออกบวชเป็นบรรพชิตครั้นเราบวชแล้ว
                          ในกาลนั้น คิดถึงคำสอนของพระชินเจ้าถูกความเกี่ยวข้องบีบคั้น
                          จึงได้อยู่เสียในป่าที่น่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียวเท่านั้น การที่เรามีกายหลีก
                          ออกมาได้ เป็นเหตุแห่งการหลีกออกแห่งใจของเราผู้เห็นภัยใน
                          ความเกี่ยวข้อง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้
                          ทำเสร็จแล้วดังนี้.
             ทราบว่า ท่านพระเอกวิหาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกวิหาริยเถราปทาน.
เอกสังขิยเถราปทานที่ ๒
ว่าด้วยผลแห่งการเป่าสังข์เป็นพุทธบูชา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๖๙๑-๗๑๕ หน้าที่ ๓๐-๓๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=691&Z=715&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=21&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=21&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=21&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=21&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=21              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]