ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๗๔] 	เราสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ ณ ทิศทักษิณแห่งภูเขาหิมวันต์ ครั้ง
                          นั้น เราเสาะหาประโยชน์อันสูงสุด จึงอยู่ในป่าใหญ่ เรายินดีด้วย
                          ลาภและความเสื่อมลาภ คือ ด้วยเหง้ามันและผลไม้ ไม่เบียดเบียน
                          ใครๆ เที่ยวไป เราอยู่คนเดียว ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
                          สุเมธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์กำลังรื้อขนมหาชน
                          ประกาศสัจจะอยู่ เรามิได้สดับข่าวพระสัมพุทธเจ้า ถึงใครๆ ที่จะ
                          บอกกล่าวให้เรารู้ก็ไม่มี เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี เราจึงได้สดับข่าวพระ
                          นายกของโลก เรานำเอาไฟและฟืนออกไปเสียแล้ว กวาดอาศรม ถือ
                          เอาหาบสิ่งของออกจากป่าไป ครั้งนั้น เราพักอยู่ในบ้านและนิคม
                          แห่งละคืน เข้าไปใกล้พระนครจันทวดีโดยลำดับ สมัยนั้น พระผู้
                          มีพระภาคผู้นำของโลกพระนามว่าสุเมธะ กำลังรื้อขนสัตว์เป็นอัน
                          มาก ทรงแสดงอมตบท เราได้ผ่านหมู่ชนไปถวายบังคมพระชินเจ้า
                          ผู้เสด็จมาดี ทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วสรรเสริญพระผู้นำ
                          ของโลกว่า พระองค์เป็นพระศาสดาประหนึ่งยอด เป็นธงชัยและ
                          เป็นเสายัญของหมู่สัตว์ เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง และเป็นที่เกาะ
                          ของหมู่สัตว์ เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์.
จบ ภาณวารที่ ๒๑
พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในทัสนะ ทรงช่วยประชุมชน ให้ข้ามพ้นไปได้ ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่นที่จะช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นไปได้ ยิ่งไปกว่าพระองค์ ไม่มีในโลก สาครแสนลึกสุด ก็พึงอาจที่จะ ประมาณได้ด้วยปลายหญ้าคา ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณ ของพระองค์ ใครๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย แผ่นดินก็อาจที่จะวาง ในตาชั่งแล้วกำหนดได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ แต่สิ่งที่เสมอกับ พระปัญญาของพระองค์ไม่มีเลย อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือก และนิ้วมือ ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์ ใครๆ ไม่ อาจจะประมาณได้เลย น้ำในมหาสมุทร อากาศ และพื้นภูมิภาค ๓ อย่างนี้ประมาณเอาได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ พระองค์ย่อมเป็น ผู้อันใครๆ จะประมาณเอาไม่ได้ เรากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู ผู้มีพระยศใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว ประนมกรอัญชลี ยืนนิ่ง อยู่ในเวลานั้น พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน เป็น เมธีชั้นดี เขาขนานพระนามว่าสุเมธะ ประทับนั่งในท่ามกลาง พระภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีใจเลื่อมใส ได้กล่าวสรรเสริญญาณของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ กัป จักเป็นจอม เทวดาเสวยราชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า- จักรพรรดิเกินร้อยครั้ง และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน ไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็นผู้ ตั้งมั่นในบุญกรรม จักเป็นผู้มีความดำริแห่งใจไม่บกพร่อง มี ปัญญากล้า ในสามหมื่นกัป พระศาสดามีพระนามว่าโคตมะ ซึ่ง สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นี้จัก ไม่มีความกังวล ออกบวชเป็นบรรพชิต จักบรรลุอรหัต แต่อายุ ๗ ขวบ ในระหว่างเวลาที่เราระลึกถึงตน และได้บรรลุศาสนธรรม เจตนาที่ไม่น่ารื่นรมย์ใจ เราไม่รู้จักเลย เราท่องเที่ยวไปเสวยสมบัติ ในภพน้อยภพใหญ่ ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้ เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ ไฟ ๓ กอง เราดับสนิทแล้ว เราถอนภพทั้งปวงขึ้นหมดแล้ว เราเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่างแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก ในกัปที่สามหมื่น เราได้สรรเสริญพระญาณ ใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ก็เป็นผลแห่ง การสรรเสริญพระญาณ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระญาณถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ญาณถวิกเถราปทาน.
จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕
ว่าด้วยผลแห่งการถวายแก่นจันทน์และดอกรัง

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๑๕๗๐-๑๖๒๓ หน้าที่ ๖๙-๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=1570&Z=1623&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=74&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=74&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=74&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=74&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=74              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]