ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๑๙] 	ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม ผู้ไม่มีใครเปรียบ
                          เสมอเหมือน พระนามว่าปุสสะ เป็นนายกชั้นเลิศของโลก แม้
                          พระองค์ก็ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ทรงสางความรกชัฏเป็นอันมาก
                          แล้ว ทรงยังน้ำอมฤตให้ตก ช่วยให้มนุษย์พร้อมด้วยเทวดาได้ดื่ม
                          จนสำราญ เมื่อพระองค์ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ เดือน
                          ผุสสนักขัตมงคล ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้แก่สัตว์แปดโกฏิ
                          ครั้งที่ ๒ เก้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดโกฏิ พระปุสสบรมศาสดา ทรง
                          มีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตระงับ ผู้คงที่
                          ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ผู้ตัด
                          ธรรมเครื่องสืบต่อขาด มาประชุมกันหกโกฏิ ครั้งที่ ๒ ห้าโกฏิ
                          ครั้งที่ ๓ สี่โกฏิ สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าวิชิต ละทิ้ง
                          ราชสมบัติเป็นอันมากแล้วออกผนวช ในสำนักของพระองค์ แม้
                          พระปุสสพุทธเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลกพระองค์นั้น ก็ทรง
                          พยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
                          ในโลก ....... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์
                          แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการ
                          บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
                          อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์จบทุกอย่างแล้ว ยังพระศาสนาของ
                          พระชินเจ้าให้งาม เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น เจริญพรหม
                          วิหารภาวนา ถึงความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก
                          พระนครชื่อว่ากาสิกะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าชยเสนะ เป็น
                          พระชนกของพระปุสสศาสดา พระนางสิริมา เป็นพระชนนี พระองค์
                          ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
                          ปราสาท ชื่อว่าคุฬะ หังสะ และสุวรรณดารา มีพระสนมนารีกำนัล
                          ในสองหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสี
                          พระนามว่ากีสาโคตมี พระราชโอรสพระนามว่าอานันทะ พระองค์
                          ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยคชสารราชยาน
                          ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระปุสสมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศ
                          ของโลก อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
                          พระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน ทรงมีพระสุรักขิตเถระและพระธรรม
                          เสนเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อสภิยะ เป็นพระพุทธ
                          อุปัฏฐาก พระจาลาเถรีและพระอุปจาลาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้
                          โพธิพฤกษ์เรียกกันว่าไม้มะขามป้อม อนัญชยอุบาสกและวิสาขอุบาสก
                          เป็นอัครอุปัฏฐาก ปทุมาอุบาสิกาและสิรินาคาอุบาสิกา เป็นอัคร-
                          อุปัฏฐายิกา พระมุนีพระองค์นั้นมีพระองค์สูง ๕๘ ศอก ทรงงาม
                          สง่าดังพระอาทิตย์ เหมือนพระจันทร์เต็มดวง ฉะนั้น ในกาลนั้น
                          มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่
                          เพียงนั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย
                          พระศาสดาผู้มีพระยศไม่มีเทียมพระองค์นั้น ตรัสสอนสัตว์เป็น
                          อันมาก ทรงช่วยให้ประชาชนมากมายข้ามไปแล้ว พระองค์
                          เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระปุสสชินศาสดาผู้ประเสริฐ
                          เสด็จนิพพาน ณ เสนาราม พระธาตุของพระองค์แผ่ไพศาลไปใน
                          ประเทศนั้นฉะนี้แล.
จบปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘
วิปัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๙
ว่าด้วยพระประวัติพระวิปัสสีพุทธเจ้า

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๘๑๔๖-๘๑๙๑ หน้าที่ ๓๔๘-๓๕๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=8146&Z=8191&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.2&item=19&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.2&item=19&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.2&item=19&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.2&item=19&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=19              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]