ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
มังคลพุทธวงศ์ที่ ๓
ว่าด้วยพระประวัติพระมงคลพุทธเจ้า
[๔] สมัยต่อมาจากพระโกณฑัญญะ มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามงคล ทรง กำจัดความมืดในโลกแล้ว ทรงชูคบเพลิงคือ พระธรรมสว่างไสว พระองค์มีพระรัศมีไม่มีอะไรเปรียบปาน ยิ่งกว่าพระพิชิตมารอื่นๆ ทรงกำจัดรัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ ส่องแสงไพโรจน์ในหมื่น จักวาล แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงประกาศจตุสัจธรรมอัน ประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์ได้ดื่มรสสัจธรรมแล้ว ย่อมบรรเทา ความมืดตื้อได้ ในคราวที่พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันไม่มี อะไรเปรียบแล้ว ทรงแสดงธรรมครั้งแรก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่พิภพของท้าว สักกะจอมอสูร ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ทวยเทพ แสนโกฏิ ในกาลเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า สุนันทะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าทรงตีกลองธรรมเภรีอันประเสริฐสุด และครั้งนั้น บริวารของพระเจ้าสุนันทะ มีประมาณเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๒ พระสาวกมาประชุมกันแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระสาวก มาประชุมกันเก้าสิบโกฏิ การประชุมครั้งนั้น ล้วนแต่พระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสุรุจิ เป็น ผู้เล่าเรียน ทรงมนต์ รู้จบไตรเพท เราได้เข้าเฝ้าพระศาสดาพระองค์ นั้น ได้ถึงพระองค์เป็นสรณะและได้บูชาพระสงฆ์ อันมีพระสัม- พุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของหอมและดอกไม้ อังคาสด้วยน้ำนมโค จนสำราญพระทัย แม้พระพุทธมงคลผู้อุดมกว่าสัตว์พระองค์นั้น ก็ พยากรณ์เราว่า ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ........... ..................... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เรา อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ยิ่งขึ้น ครั้งนั้น เราพอก พูนปีติ เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ จึงถวายเรือนของเรา แก่พระพุทธเจ้า แล้วออกบวชในสำนักของพระองค์ เราเล่าเรียน พระสูตรและพระวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์มีองค์ ๙ ประการแล้ว ทำพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม ครั้งนั้น เราเป็นผู้ไม่ประมาท เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงที่สุดในอภิญญาแล้วได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อว่าอุตระพระมหากษัตริย์พระนามว่าอุตระ เป็นพระชนก ของพระมงคลบรมศาสดาพระชนนีพระนามว่า อุตรา พระองค์ทรง ครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่ายสวา สุจิมาและสิริมา มีพระสนมนารีกำนัล ในสามหมื่นนาง ล้วนแต่ประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระ- นามว่ายสวดี พระราชโอรสพระนามว่าสีวละ พระชินเจ้าทรงเห็น นิมิต ๕ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยอัสสวราชยานต้น ทรง บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระมงคลมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายก ของโลกอุดมกว่าสัตว์ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ พระธรรมจักร พระองค์มีพระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระเป็น อัครสาวก พระเถระชื่อปาลิตะ เป็นอุปัฏฐากพระสีวลาเถรีและพระ- อโสกาเถรีเป็นอัครสาวิกา ไม้โพธิ์ของพระผู้มีพระภาคนั้น เรียก กันว่าต้นกากะทิง นันทอุบาสก และวิสาขอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก อนุฬาอุบาสิกาและสุมนาอุบาสิกาเป็นอุปัฏฐายิกา พระมงคลมหามุนี สูง ๘๐ ศอก พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระองค์ ไปไกลหลายแสน โลกธาตุในขณะนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดำรง พระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มาก มาย สาวกของพระองค์ใครๆ ไม่สามารถจะนับได้ ฉะนั้น ครั้งนั้น พระสัมพุทธมงคลผู้เป็นนายกของโลก ทรงดำรงพระชน มายุอยู่เพียงนั้น ในพระศาสนาของพระองค์ไม่มีการตายอย่างคนมี กิเลสเลย พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่ทรงชูดวงไฟคือพระธรรมสว่างจ้า ทรงช่วยมหาชนให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ทรงรุ่งเรืองเหมือนดาวธุมเกต แล้วเสด็จนิพพาน ทรงแสดงสภาวะแห่งสังขาร ในมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ทรงรุ่งเรืองเหมือนกองไฟ แล้วเสด็จเข้านิพพาน เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต ฉะนั้น พระพุทธมงคลเสด็จปรินิพพาน ที่พระราชอุทยานชื่อเวสสระ พระสถูปของพระองค์สูง ๓๐ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ในพระราชอุทยานนั้น.
จบมังคลพุทธวงศ์ที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๓๒๐-๗๓๗๘ หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=7320&Z=7378&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.2&item=4&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.2&item=4&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.2&item=4&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.2&item=4&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]