ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มาติกา
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
[๑]
๑. กุสลติกะ
กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต
๒. เวทนาติกะ
สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๓. วิปากติกะ
วิปากา ธมฺมา ธรรมเป็นวิบาก วิปากธมฺมธมฺมา ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา ธรรมไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก
๔. อุปาทินนุปาทานิยติกะ
อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ เข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ ไม่เข้ายึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย ตัณหาทิฏฐิ ไม่เข้ายึดครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๕. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกติกะ
สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
๖. วิตักกติกะ
สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา ธรรมมีวิตกมีวิจาร อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
๗. ปีติติกะ
ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยปีติ สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
๘. ทัสสนติกะ
ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ธมฺมา ไม่ประหาณ
๙. ทัสสนเหตุกติกะ
ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและ ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา มรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ
๑๐. อาจยคามิติกะ
อาจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ อปจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เนวาจยคามิโน นาปจยคามิโน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุ ให้ถึงนิพพาน
๑๑. เสกขติกะ
เสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของเสกขบุคคล อเสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เนวเสกฺขา นาเสกฺขา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของ อเสกขบุคคล
๑๒. ปริตตติกะ
ปริตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นปริตตะ มหคฺคตา ธมฺมา ธรรมเป็นมหัคคตะ อปฺปมาณา ธมฺมา ธรรมเป็นอัปปมาณะ
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ
๑๔. หีนติกะ
หีนา ธมฺมา ธรรมทราม มชฺฌิมา ธมฺมา ธรรมปานกลาง ปณีตา ธมฺมา ธรรมประณีต
๑๕. มิจฉัตตติกะ
มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน อนิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลไม่แน่นอน
๑๖. มัคคารัมมณติกะ
มคฺคารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ มคฺคเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุคือมรรค มคฺคาธิปติโน ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี
๑๗. อุปปันนติกะ
อุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเกิดขึ้นแล้ว อนุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมยังไม่เกิดขึ้น อุปฺปาทิโน ธมฺมา ธรรมจักเกิดขึ้น
๑๘. อตีตติกะ
อตีตา ธมฺมา ธรรมเป็นอดีต อนาคตา ธมฺมา ธรรมเป็นอนาคต ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปัจจุบัน
๑๙. อตีตารัมมณติกะ
อตีตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
๒๐. อัชฌัตตติกะ
อชฺฌตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน พหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอก
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน พหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็นภายนอก
๒๒. สนิทัสสนติกะ
สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ จบ
-----------------------------------------------------
ทุกมาติกา ๑๔๒ ทุกะ
อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะ
เหตุโคจฉกะ
หมวดที่ ๑ มี ๖ ทุกะ คือ
[๒]
๑. เหตุทุกะ
เหตู ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุ นเหตู ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุ
๒. สเหตุทุกะ
สเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุ อเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีเหตุ
๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ
เหตุสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เหตุวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากเหตุ
๔. เหตุสเหตุกทุกะ
เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
เหตู เจว ธมฺมา เหตุสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เหตุสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา น จ เหตู ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๖. นเหตุสเหตุกทุกะ
น เหตู โข ปน ธมฺมา สเหตุกาปิ ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ (น เหตู โข ปน ธมฺมา) อเหตุกาปิ ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
จูฬันตรทุกะ
หมวดที่ ๒ มี ๗ ทุกะ คือ
[๓]
๗-๑. สัปปัจจยทุกะ
สปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมมีปัจจัย อปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมไม่มีปัจจัย
๘-๒. สังขตทุกะ
สงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นสังขตะ อสงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นอสังขตะ
๙-๓. สนิทัสสนทุกะ
สนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมที่เห็นได้ อนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้
๑๐-๔. สัปปฏิฆทุกะ
สปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบได้ อปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบไม่ได้
๑๑-๕. รูปิทุกะ
รูปิโน ธมฺมา ธรรมเป็นรูป อรูปิโน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูป
๑๒-๖. โลกิยทุกะ
โลกิยา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกิยะ โลกุตฺตรา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกุตตระ
๑๓-๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ
เกนจิ วิญฺเญยฺยา ธมฺมา ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ เกนจิ น วิญฺเญยฺยา ธมฺมา ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้
อาสวโคจฉกะ
หมวดที่ ๓ มี ๖ ทุกะ คือ
[๔]
๑๔-๑. อาสวทุกะ
อาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอาสวะ โน อาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอาสวะ
๑๕-๒. สาสวทุกะ
สาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ อนาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
๑๖-๓. อาสวสัมปยุตตทุกะ
อาสวสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ อาสววิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ
๑๗-๔. อาสวสาสวทุกะ
อาสวา เจว ธมฺมา สาสวา จ ธรรมเป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของอาสวะ สาสวา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ
๑๘-๕. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ
อาสวา เจว ธมฺมา อาสว สมฺปยุตตา จ ธรรมเป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ อาสวสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ
๑๙-๖. อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ
อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ (อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ อนาสวาปิ ของอาสวะ
สัญโญชนโคจฉกะ
หมวดที่ ๔ มี ๖ ทุกะ คือ
[๕]
๒๐-๑. สัญโญชนทุกะ
สญฺโญชนา ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์ โน สญฺโญชนา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์
๒๑-๒. สัญโญชนิยทุกะ
สญฺโญชนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ อสญฺโญชนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์
๒๒-๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ สญฺโญชนวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์
๒๓-๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
สญฺโญชนา เจว ธมฺมา สญฺโญชนิยา จ ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ สญฺโญชนิยา เจว ธมฺมา โน จ สญฺโญชนา ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์
๒๔-๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
สญฺโญชนา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา จ สญฺโญชนสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ จ สญฺโญชนา
๒๕-๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
สญฺโญชนวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ สญฺโญชนิยาปิ ของสัญโญชน์ (สญฺโญชนวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ อสญฺโญชนิยาปิ ของสัญโญชน์
คันถโคจฉกะ
หมวดที่ ๕ มี ๖ ทุกะ คือ
[๖]
๒๖-๑. คันถทุกะ
คนฺถา ธมฺมา ธรรมเป็นคันถะ โน คนฺถา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นคันถะ
๒๗-๒. คันถนิยทุกะ
คนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ อคนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
๒๘-๓. คันถสัมปยุตตทุกะ
คนฺถสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ คนฺถวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากคันถะ
๒๙-๔. คันถคันถนิยทุกะ
คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถนิยา จ ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ คนฺถนิยา เจว ธมฺมา โน จ คนฺถา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ
๓๐-๕. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ
คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ คนฺถสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ จ คนฺถา
๓๑-๖. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ
คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ คนฺถนิยาปี (คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็นอารมณ์ อคนฺถนิยาปี ของคันถะ
โอฆโคจฉกะ
หมวดที่ ๖ มี ๖ ทุกะ คือ
[๗]
๓๒-๑. โอฆทุกะ
โอฆา ธมฺมา ธรรมเป็นโอฆะ โน โอฆา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโอฆะ
๓๓-๒. โอฆนิยทุกะ
โอฆนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะ อโนฆนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
๓๔-๓. โอฆสัมปยุตตทุกะ
โอฆสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ โอฆวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ
๓๕-๔. โอฆโอฆนิยทุกกะ
โอฆา เจว ธมฺมา โอฆนิยา จ ธรรมเป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะ โอฆนิยา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะแต่ไม่เป็นโอฆะ
๓๖-๕. โอฆโอฆสัมปยุตตทุกะ
โอฆา เจว ธมฺมา โอฆสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นโอฆะ และสัมปยุตด้วยโอฆะ โอฆสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ แต่ไม่เป็นโอฆะ โอฆา
๓๗-๖. โอฆวิปปยุตตโอฆนิยทุกะ
โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ แต่เป็นอารมณ์ของโอฆะ โอฆนิยาปิ (โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ และไม่เป็นอารมณ์ อโนฆนิยาปิ ของโอฆะ
โยคโคจฉกะ
หมวดที่ ๗ มี ๖ ทุกะ คือ
[๘]
๓๘-๑. โยคทุกะ
โยคา ธมฺมา ธรรมเป็นโยคะ โน โยคา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโยคะ
๓๙-๒. โยคนิยทุกะ
โยคนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะ อโยคนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ
๔๐-๓. โยคสัมปยุตตทุกะ
โยคสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะ โยควิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโยคะ
๔๑-๔. โยคโยคนิยทุกะ
โยคา เจว ธมฺมา โยคนิยา จ ธรรมเป็นโยคะ และเป็นอารมณ์ของโยคะ โยคนิยา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะ แต่ไม่เป็นโยคะ
๔๒-๕. โยคโยคสัมปยุตตทุกะ
โยคา เจว ธมฺมา โยคสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นโยคะ และสัมปยุตด้วยโยคะ โยคสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะ แต่ไม่เป็นโยคะ
๔๓-๖. โยควิปปยุตตโยคนิยทุกะ
โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโยคะ แต่เป็นอารมณ์ของโยคะ โยคนิยาปิ (โยควิปฺปยุตฺตา โข ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากโยคะ และไม่เป็นอารมณ์ อโยคนิยาปิ ของโยคะ
นีวรณโคจฉกะ
หมวดที่ ๘ มี ๖ ทุกะ คือ
[๙]
๔๔-๑. นีวรณทุกะ
นีวรณา ธมฺมา ธรรมนิวรณ์ โน นีวรณา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นนิวรณ์
๔๕-๒. นีวรณิยทุกะ
นีวรณิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อนีวรณิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
๔๖-๓. นีวรณสัมปยุตตทุกะ
นีวรณสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ นีวรณวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์
๔๗-๔. นีวรณนีวรณิยทุกะ
นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณิยา จ ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ นีวรณิยา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์
๔๘-๕. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ
นีวรณา เจว ธมฺมา นิวรณสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ นีวรณสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์
๔๙-๖. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ
นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ นีวรณิยาปิ (นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของ อนีวรณิยาปิ นิวรณ์
ปรามาสโคจฉกะ
หมวดที่ ๙ มี ๕ ทุกะ คือ
[๑๐]
๕๐-๑. ปรามาสทุกะ
ปรามาสา ธมฺมา ธรรมเป็นปรามาสะ (ทิฏฐิ) โน ปรามาสา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นปรามาสะ
๕๑-๒. ปรามัฏฐทุกะ
ปรามฏฺฐา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ อปรามฏฺฐา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
๕๒-๓. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ
ปรามาสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ ปรามาสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ
๕๓-๔. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ
ปรามาสา เจว ธมฺมา ปรามฏฺฐา จ ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ ปรามฏฺฐา เจว ธมฺมา โน จ ปรามาสา ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นของ ปรามาสะ
๕๔-๕. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ
ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ ปรามฏฺฐาปิ ปรามาสะ (ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ อปรามฏฺฐาปี ของปรามาสะ
มหันตรทุกะ
หมวดที่ ๑๐ มี ๑๔ ทุกะ คือ
[๑๑]
๕๕-๑. สารัมมณทุกะ
สารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์ อนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมไม่มีอารมณ์
๕๖-๒. จิตตทุกะ
จิตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นจิต โน จิตฺตา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นจิต
๕๗-๓. เจตสิกทุกะ
เจตสิกา ธมฺมา ธรรมเป็นเจตสิก อเจตสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเจตสิก
๕๘-๔. จิตตสัมปยุตตทุกะ
จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยจิต จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากจิต
๕๙-๕. จิตตสังสัฏฐทุกะ
จิตฺตสํสฏฺฐา ธมฺมา ธรรมเจือกับจิต จตฺตวิสํสฏฺฐา ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิต
๖๐-๖. จิตตสมุฏฐานทุกะ
จิตฺตสมุฏฺฐานา ธมฺมา ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน โน จิตฺตสมุฏฺฐานา ธมฺมา ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๖๑-๗. จิตตสหภูทุกะ
จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ธรรมเกิดร่วมกับจิต โน จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต
๖๒-๘. จิตตานุปริวัตติทุกะ
จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมเกิดคล้อยตามจิต โน จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต
๖๓-๙. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ
จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานา ธมฺมา ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานา ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
๖๔-๑๐. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ
จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานสหภุโน ธมฺมา ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วม กับจิต โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานสหภุโน ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และ ธมฺมา ไม่เกิดร่วมกับจิต
๖๕-๑๑. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ
จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมเจือกับจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดคล้อยตามจิต โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานานุปริวตฺติ โน ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และ ธมฺมา ไม่เกิดคล้อยตามจิต
๖๖-๑๒. อัชฌัตติกทุกะ
อชฺฌตฺติกา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน พาหิรา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก
๖๗-๑๓. อุปาทาทุกะ
อุปาทา ธมฺมา ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด โน อุปาทา ธมฺมา ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด
๖๘-๑๔. อุปาทินนทุกะ
อุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหา ทิฏฐิ เข้ายึดครอง อนุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหา ทิฏฐิ ไม่เข้ายึดครอง
อุปาทานโคจฉกะ
หมวดที่ ๑๑ มี ๖ ทุกะ คือ
[๑๒]
๖๙-๑. อุปาทานทุกะ
อุปาทานา ธมฺมา ธรรมเป็นอุปาทาน โน อุปาทานา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอุปาทาน
๗๐-๒. อุปาทานิยทุกะ
อุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน อนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๗๑-๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
อุปาทานสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน อุปาทานวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน
๗๒-๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
อุปาทานา เจว ธมฺมา อุปาทานิยา จ ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน อุปาทานิยา เจว ธมฺมา โน จ ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน อุปาทานา
๗๓-๕. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
อุปาทานา เจว ธมฺมา อุปาทาน- ธรรมเป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน สมฺปยุตฺตา จ อุปาทานสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็นอุปาทาน โน จ อุปาทานา
๗๔-๖. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยทุก
อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ ธมฺมา อุปาทานิยาปิ ของอุปาทาน (อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็น อนุปาทานิยาปิ อารมณ์ของอุปาทาน
กิเลสโคจฉกะ
หมวดที่ ๑๒ มี ๘ ทุกะ คือ
[๑๓]
๗๕-๑. กิเลสทุกะ
กิเลสา ธมฺมา ธรรมเป็นกิเลส โน กิเลสา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นกิเลส
๗๖-๒. สังกิเลสิกทุกะ
สงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส อสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
๗๗-๓. สังกิลิฏฐทุกะ
สงฺกิลิฏฐา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมอง อสงฺกิลิฏฐา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมอง
๗๘-๔. กิเลสสัมปยุตตทุกะ
กิเลสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส กิเลสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากกิเลส
๗๙-๕. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ
กิเลสา เจว ธมฺมา สงฺกิเลสิกา จ ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส สงฺกิเลสิกา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส
๘๐-๖. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ
กิเลสา เจว สงฺกิลิฏฺฐา จ ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง สงฺกิลิฏฺฐา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส
๘๑-๗. กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ
กิเลสา เจว ธมฺมา กิเลสสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส กิเลสสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส
๘๒-๘. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ
กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากกิเลส แต่เป็นอารมณ์ของ สงฺกิเลสิกาปิ สังกิเลส (กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) ธรรมวิปปยุตจากกิเลส และไม่เป็นอารมณ์ของ อสงฺกิเลสิกาปิ สังกิเลส
ปิฏฐิทุกะ
หมวดที่ ๑๓ มี ๑๘ ทุกะ คือ
[๑๔]
๘๓-๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ
ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ น ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ
๘๔-๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ
๘๕-๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ น ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะ ประหาณ
๘๖-๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ น ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะ ประหาณ
๘๗-๕. สวิตักกทุกะ
สวิตกฺกา ธมฺมา ธรรมมีวิตก อวิตกฺกา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตก
๘๘-๖. สวิจารทุกะ
สวิจารา ธมฺมา ธรรมมีวิจาร อวิจารา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิจาร
๘๙-๗. สัปปืติกทุกะ
สปฺปีติกา ธมฺมา ธรรมมีปีติ อปฺปีติกา ธมฺมา ธรรมไม่มีปีติ
๙๐-๘. ปืติสหคตทุกะ
ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยปีติ น ปีติสคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ
๙๑-๙. สุขสหคตทุกะ
สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา น สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา
๙๒-๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ
อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา น อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
๙๓-๑๑. กามาวจรทุกะ
กามาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นกามาวจร น กามาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นกามาวจร
๙๔-๑๒. รูปาวจรทุกะ
รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นรูปาวจร น รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูปาวจร
๙๕-๑๓. อรูปาวจรทุกะ
อรูปาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นอรูปาวจร น อรูปาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร
๙๖-๑๔. ปริยาปันนทุกะ
ปริยาปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปริยาปันนะ อปริยาปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นอปริยาปันนะ
๙๗-๑๕. นิยยานิกทุกะ
นิยฺยนิกา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ อนิยฺยานิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ
๙๘-๑๖. นิยตทุกะ
นิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลแน่นอน อนิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลไม่แน่นอน
๙๙-๑๗. สอุตตรทุกะ
สอุตฺตรา ธมฺมา ธรรมมีธรรมอื่นยิ่งกว่า อนุตฺตรา ธมฺมา ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๑๐๐-๑๘. สรณทุกะ
สรณา ธมฺมา ธรรมเกิดกับกิเลส อรณา ธมฺมา ธรรมไม่เกิดกับกิเลส
อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะ จบ
-----------------------------------------------------
สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ
[๑๕]
๑. วิชชาภาคีทุกะ
วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา
๒. วิชชูปมทุกะ
วิชฺชูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าแลบ วชิรูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าผ่า
๓. พาลทุกะ
พาลา ธมฺมา ธรรมทำให้เป็นพาล ปณฺฑิตา ธมฺมา ธรรมทำให้เป็นบัณฑิต
๔. กัณหทุกะ
กณฺหา ธมฺมา ธรรมดำ สุกฺกา ธมฺมา ธรรมขาว
๕. ตปนิยทุกะ
ตปนิยา ธมฺมา ธรรมทำให้เร่าร้อน อตปนิยา ธมฺมา ธรรมไม่ทำให้เร่าร้อน
๖. อธิวจนทุกะ
อธิวจนา ธมฺมา ธรรมเป็นชื่อ อธิวจนปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นชื่อ
๗. นิรุตติทุกะ
นิรุตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นนิรุตติ นิรุตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นนิรุตติ
๘. ปัญญัติติทุกะ
ปญฺญตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นบัญญัติ ปญฺญตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นบัญญัติ
๙. นามรูปทุกะ
นามญฺจ นามธรรม รูปญฺจ รูปธรรม
๑๐. อวิชชาทุกะ
อวิชฺชา จ ความไม่รู้แจ้ง ภวตณฺหา จ ความปรารถนาภพ
๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ
ภวทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าเกิด วิภวทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าไม่เกิด
๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ
สสฺสตทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าเที่ยง อุจฺเฉททิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าสูญ
๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ
อนฺตวาทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่ามีที่สุด อนนฺตวาทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด
๑๔. ปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ
ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐิ จ ความเห็นปรารภส่วนอดีต อปรนฺตานุทิฏฺฐิ จ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต
๑๕. อหิริกทุกะ
อหิริกญฺจ ความไม่ละอาย อโนตฺตปฺปญฺจ ความไม่เกรงกลัว
๑๖. หิริทุกะ
หิริ จ ความละอาย โอตฺตปฺปญฺจ ความเกรงกลัว
๑๗. โทวจัสสตาทุกะ
โทวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
๑๘. โสวจัสสตาทุกะ
โสวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่าง่าย กลฺยาณมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรดี
๑๙. อาปัตติกุสลตาทุกะ
อาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ อาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ
๒๐. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
สมาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ สมาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
๒๑. ธาตุกุสลตาทุกะ
ธาตุกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ มนสิการกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการพิจารณา
๒๒. อายตนกุสลตาทุกะ
อายตนกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ
ฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ อฏฺฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ
๒๔. อาชชวทุกะ
อาชฺชโว จ ความซื่อตรง มทฺทโว จ ความอ่อนโยน
๒๕. ขันติทุกะ
ขนฺติ จ ความอดทน โสรจฺจญฺ จ ความสงบเสงี่ยม
๒๖. สาขัลยทุกะ
สาขลฺยญฺจ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ปฏิสนฺถาโร จ การปฏิสันถาร
๒๗. อินทริยอคุตตทวารตาทุกะ
อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา จ ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ โภชเน อมตฺตญฺญุตา จ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร
๒๘. อินทริยคุตตทวารตาทุกะ
อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตา จ ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ๖ โภชเน มตฺตญฺญุตา จ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
มุฏฺฐสจฺจญฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสมฺปชญฺญญฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๓๐. สติทุกะ
สติ จ สติ สมฺปชญฺญญฺจ สัมปชัญญะ
๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
ปฏิสงฺขานพลญฺจ กำลังคือการพิจารณา ภาวนาพลญฺจ กำลังคือภาวนา
๓๒. สมถฑุกะ
สมโถ จ สมถะ วิปสฺสนา จ วิปัสสนา
๓๓. นิมิตตทุกะ
สมถนิมิตฺตญฺจ นิมิตคือสมถะ ปคฺคาหนิมิตฺตญฺจ นิมิตคือความเพียร
๓๔. ปัคคาหทุกะ
ปคฺคาโห จ ความเพียร อวิกฺเขโป จ ความไม่ฟุ้งซ่าน
๓๕. วิปัตติทุกะ
สีลวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งศีล ทิฏฺฐิวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ
๓๖. สัมปทาทุกะ
สีลสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งศีล ทิฏฺฐิสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ
๓๗. วิสุทธิทุกะ
สีลวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งศีล ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิทุกะ
ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ยถาทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด
๓๙. สังเวคทุกะ
สํเวโค จ สํเวชนิเยสุ ฐาเนสุ ความสลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ ความพยายามโดยแยบคายของบุคคลผู้มีความ สลดใจ
๔๐. อสันตุฏฐตาทุกะ
อสนฺตุฏฺฐตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ ความไม่ท้อถอยในความพยายาม
๔๑. วิชชาทุกะ
วิชฺชา จ ความรู้แจ้ง วิมุตฺติ จ ความหลุดพ้น
๔๒. ขยญาณทุกะ
ขเย ญาณํ ญาณในอริยมรรค อนุปฺปาเท ญาณํ ญาณในอริยผล
สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ จบ
มาติกา จบ
-----------------------------------------------------
จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส ๑- สัมปยุตด้วยญาณ ๒- มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียง เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัส สินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล [๑๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น. [๑๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น. @๑. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ๒. ประกอบด้วยปัญญา [๑๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น. [๒๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น. [๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑- มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น. [๒๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิท อยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น. [๒๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่อ อารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจารมีในสมัยนั้น. [๒๔] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปีติมีในสมัยนั้น. [๒๕] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโต- สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุขมีในสมัยนั้น. [๒๖] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น. @๑. ธรรมชาติที่ผ่องใส [๒๗] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา อินทรีย์คือศรัทธา สัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์มีในสมัยนั้น. [๒๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยะพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ในสมัยนั้น. [๒๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๓๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๓๑] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่าง คือ ปัญญา แสงสว่าง คือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์มีในสมัยนั้น. [๓๒] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือ มโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น. [๓๓] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโต- *สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอัน เกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๓๔] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความ ประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์ของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น. [๓๕] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น. [๓๖] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิต แนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น. [๓๗] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารถความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น. [๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมา สติ มีในสมัยนั้น [๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น. [๔๐] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ กำลังคือ ศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น. [๔๑] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือ วิริยะ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้มีชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น. [๔๒] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่ เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น. [๔๓] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น. [๔๔] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น. [๔๕] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบ อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริพละ มีในสมัยนั้น. [๔๖] โอตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการ ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตัปปพละ มีในสมัยนั้น. [๔๗] อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความไม่ กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะ มีในสมัยนั้น. [๔๘] อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะ มีในสมัยนั้น. [๔๙] อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคือ อโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะ มีในสมัยนั้น. [๕๐] อนภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความไม่ กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนภิชฌา มีในสมัยนั้น. [๕๑] อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัพยาปาทะ มีในสมัย นั้น. [๕๒] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความ เห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น. [๕๓] หิริ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งน่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบ อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริ มีในสมัยนั้น. [๕๔] โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการ ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น. [๕๕] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น. [๕๖] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่ง วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น. [๕๗] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่งเวทนาขันธ์ สัญญา ขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายลหุตา มีในสมัยนั้น. [๕๘] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่งวิญญาณขันธ์ ใน สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น. [๕๙] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายมุทุตา มีในสมัยนั้น. [๖๐] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัย นั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น. [๖๑] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น. [๖๒] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น. [๖๓] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น. [๖๔] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งวิญญาณขันธ์ ใน สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น [๖๕] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายุชุกตา มีในสมัยนั้น. [๖๖] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งวิญญาณขันธ์ ใน สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น. [๖๗] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่ เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติ มีในสมัยนั้น. [๖๘] สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น. [๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น. [๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น. [๗๑] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น. [๗๒] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น. [๗๓] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ปทภาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวาร จบ
โกฏฐาสวาร
[๗๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มานายตนะ ๑ มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน สมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล [๗๕] ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์. เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโต- *สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น. สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น. สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น. วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น. [๗๖] อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? มนายตนะ ธัมมายตนะ มนายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ มีในสมัยนั้น. ธัมมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น. [๗๗] ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? มโนวิญญาณธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มโนวิญญาธาตุ มีในสมัยนั้น. ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น. [๗๘] อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความถูกต้อง อาการที่ถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น. มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การคิด กิริยาที่คิด ความคิด สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มโนสัญเจตนาหาร มีใน สมัยนั้น. วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น. [๗๙] อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสิน- *ทรีย์ ชีวิตินทรีย์. สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา อินทรีย์ คือศรัทธา สัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น. วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น. สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่ เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น. สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น. ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น. มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น. โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโต- *สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น. ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ ใน สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น. [๘๐] ฌานมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิต แนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น. วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่อ อารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจาร มีในสมัยนั้น. ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปีติ มีในสมัยนั้น. สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโต- *สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุข มีในสมัยนั้น. เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ฌานมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น. [๘๑] มรรคมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้ แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญา เหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น. สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิต แนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น. สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น. สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติ มีในสมัยนั้น. สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบแห่งจิต สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความ ตั้งจิตไว้ชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมนี้ชื่อว่า มรรคมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น. [๘๒] พละ ๗ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ. สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ กำลัง คือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น. วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือวิริยะ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น. สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ สัมมาสติ มีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น. สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น. ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลัง คือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น. หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบ อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริพละ มีในสมัยนั้น. โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการ ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พละ ๗ มีในสมัยนั้น. [๘๓] เหตุ ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? อโลภะ อโทสะ อโมหะ. อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความ ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคือความไม่โลภ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะ มีในสมัยนั้น. อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคือความไม่คิดประทุษร้าย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะ มีในสมัยนั้น. อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญา เหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคือ อโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะ มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เหตุ ๓ มีในสมัยนั้น. [๘๔] ผัสสะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การกระทบ กิริยาที่กระทบ อาการที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสส ๑ มีในสมัยนั้น. [๘๕] เวทนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโต- *สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา ๑ มีในสมัยนั้น. [๘๖] สัญญา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา ๑ มีในสมัยนั้น. [๘๗] เจตนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การคิด กิริยาที่คิด ความคิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา ๑ มีในสมัยนั้น. [๘๘] จิต ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต ๑ มีในสมัยนั้น. [๘๙] เวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโต- *สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๐] สัญญาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๑] สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๒] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๓] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๔] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๕] มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๖] ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้นเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๗] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น. [๙๘] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
โกฏฐาสวาร จบ
-----------------------------------------------------
สุญญตวาร
[๙๙] ก็ ธรรม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร อินทรีย์ ฌาน มรรค พละ เหตุ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๐๐] ธรรม มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรม มีในสมัยนั้น. [๑๐๑] ขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ขันธ์มีในสมัยนั้น. [๑๐๒] อายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? มนายตนะ ธัมมาตนะ เหล่านี้ชื่อว่า อายตนะ มีในสมัยนั้น. [๑๐๓] ธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? มโนวิญญาณธาตุ ธรรมธาตุ เหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ มีในสมัยนั้น. [๑๐๔] อาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้ชื่อว่า อาหาร มีในสมัยนั้น. [๑๐๕] อินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ เหล่านี้ชื่อว่า อินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๑๐๖] ฌาน มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา นี้ชื่อว่า ฌาน มีในสมัยนั้น. [๑๐๗] มรรค มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้ชื่อว่า มรรค มีในสมัยนั้น. [๑๐๘] พละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ เหล่านี้ชื่อว่า พละ มีในสมัยนั้น. [๑๐๙] เหตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? อโลภะ อโทสะ อโมหะ เหล่านี้ชื่อว่า เหตุ มีในสมัยนั้น. [๑๑๐] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น. [๑๑๑] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น. [๑๑๒] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น. [๑๑๓] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น. [๑๑๔] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า จิต มีในสมัยนั้น. [๑๑๕] เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น. [๑๑๖] สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น. [๑๑๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น. [๑๑๘] วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น. [๑๑๙] มนายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า มนายตนะ มีในสมัยนั้น. [๑๒๐] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น. [๑๒๑] มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น. [๑๒๒] ธัมมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ มีในสมัยนั้น. [๑๒๓] ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น. [๑๒๔] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
สุญญตวาร จบ
จิตดวงที่ ๑ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๒
[๑๒๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหครคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๓
[๑๒๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๒๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๕ มรรค มีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือ นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๒๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๔
[๑๒๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวะธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๕
[๑๓๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียง เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๓๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น ฯลฯ อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่ สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขา มีในสมัยนั้น ฯลฯ อุเบกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่ สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๓๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๓๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๕ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๖
[๑๓๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๖ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๗
[๑๓๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่ อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๓๖] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๓๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๗ จบ
-----------------------------------------------------
จิตดวงที่ ๘
[๑๓๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จิตดวงที่ ๘ จบ
กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จบ
ทุติยภาณวาร จบ
-----------------------------------------------------
รูปวาจรกุศล กสิณ ฌาน
จตุกกนัย
[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติ ผุดขึ้นดวงเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๔๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมี องค์ ๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๓ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๔๒] สังขารขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็น ผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าว สรรเสริญบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌาน นั้น ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๔๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๔๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทใน ก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๔๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๔๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
จตุกกนัย จบ
-----------------------------------------------------
ปัญจกนัย
[๑๔๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๕๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๕๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๕๒] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๕๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุตติยฌาน ที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๕๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๕๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล [๑๕๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๕๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๕๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๕๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๖๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ [๑๖๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ปัญจกนัย จบ
-----------------------------------------------------
ปฏิปทา ๔
[๑๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๖๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ- *ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขา- *ปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มี ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ปฏิปทา ๔ จบ
-----------------------------------------------------
อารมณ์ ๔
[๑๖๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๖๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๖๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อารมณ์ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
แจกฌานอย่างละ ๑๖
[๑๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๗๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๗๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. [๑๗๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
แจกฌานอย่างละ ๑๖ จบ
-----------------------------------------------------
[๑๗๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
กสิณ ๘ แจกอย่างละ ๑๖
-----------------------------------------------------
อภิภายตนะ
[๑๗๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ใน สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
-----------------------------------------------------
ปฏิปทา ๔
[๑๗๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา- *ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ปฏิปทา ๔ จบ
-----------------------------------------------------
อารมณ์ ๒
[๑๘๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน มีกำลังน้อย มีอารมณ์ เล็กน้อย ฯลฯ มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อารมณ์ ๒ จบ
-----------------------------------------------------
แจกฌานอย่างละ ๘
[๑๘๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็ก น้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
แจกฌานอย่างละ ๘ จบ
-----------------------------------------------------
[๑๘๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย มีสีงามหรือสีไม่งาม ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย มีสีงามหรือสีไม่งาม ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุ- *ทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อภิภายตนะแม้นี้ก็แจกอย่างละ ๘
-----------------------------------------------------
[๑๘๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่บริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ- *ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
-----------------------------------------------------
ปฏิปทา ๔
[๑๘๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น ทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา- *ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ปฏิปทา ๔ จบ
-----------------------------------------------------
อารมณ์ ๒
[๑๘๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ- *ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อารมณ์ ๒ จบ
-----------------------------------------------------
แจกฌานอย่างละ ๘ อีกอย่างหนึ่ง
[๑๘๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์- *ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์- *ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์- *ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์- *ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์- *ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์- *ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
แจกฌานอย่างละ ๘ อีกอย่าง จบ
-----------------------------------------------------
[๑๘๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ มีสีงามหรือมีสีไม่งาม ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัด- *จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ทั้งมีสีงามและมีสีไม่งาม ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อภิภายตนะแม้นี้ ก็แจกอย่างละ ๘
-----------------------------------------------------
[๑๘๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีวรรณเขียว เขียวแท้ มีรัศมีเขียว ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองแท้ มีรัศมีเหลือง ฯลฯ เห็นรูปภายนอกที่แดง มีวรรณแดง แดงแท้ มีรัศมีแดง ฯลฯ เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีวรรณขาว ขาวแท้ มีรัศมีขาว ตั้งใจว่า จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ- *ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อภิภายตนะแม้เหล่านี้ ก็แจกอย่างละ ๑๖
-----------------------------------------------------
วิโมกข์ ๓
[๑๘๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เป็นผู้ได้ฌานมีรูปภายในเป็น อารมณ์ เห็นรูปทั้งหลาย สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอก สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ผูกใจอยู่ในวรรณกสิณว่า งาม สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
แม้วิโมกข์ ๓ นี้ ก็แจกอย่างละ ๑๖
-----------------------------------------------------
พรหมวิหารฌาน ๔
[๑๙๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วย เมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุตติยฌานนั้น ที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มี ในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วย เมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุตติยฌาน ที่สหรคตด้วย เมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่สหรคต ด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌาน ที่สหรคตด้วย อุเบกขา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
พรหมวิหารฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖
-----------------------------------------------------
อสุภฌาน ๑๐
[๑๙๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยอุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยวินีลกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิปุพพกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิจฉิททกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วย วิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยหตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโลหิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยปุฬุวกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อสุภฌานแจกอย่างละ ๑๖
รูปาวจรกุศล จบ
-----------------------------------------------------
อรูปาวจรกุศล
อรูปฌาน ๔
[๑๙๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุ จตุตถฌาน อันสหรคตต้องอากาสานัญจายตนสัญญาสหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วย อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา สหรคตด้วย อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สหรคต ด้วยอุเบกขาไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อรูปฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖
อรูปาวจรกุศล จบ
-----------------------------------------------------
เตภูมิกกุศลธรรม ๓ ประเภท
กามาวจรกุศล
[๑๙๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นเป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็น จิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจาก ญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี อย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี อย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี อย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
กามาวจรกุศล จบ
-----------------------------------------------------
รูปาวจรกุศล
[๑๙๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็น ฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็น วิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็น วิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็น ฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
รูปาวจรกุศล จบ
-----------------------------------------------------
อรูปาวจรกุศล
[๑๙๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุ จตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็น อย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็น จิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อรูปาวจรกุศล จบ
-----------------------------------------------------
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญาตัญญัส- *สามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล [๑๙๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง มีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น. [๑๙๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความ เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่ เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น. [๑๙๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น. [๒๐๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๑-๒๑๔๙ หน้าที่ ๑-๘๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=1&Z=2149&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=1&items=987              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=1&items=987&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=34&item=1&items=987              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=34&item=1&items=987              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]