ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
อุปาทานโคจฉกะ
[๗๘๐] ธรรมเป็นอุปาทาน เป็นไฉน? อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๒.

[๗๘๑] บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน? ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ในกามทั้งหลาย อันใด นี้ชื่อว่ากามุปาทาน. [๗๘๒] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน? ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบาก ของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ที่จุติและ อุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลก นี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็น ไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน. เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานเสีย มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง จัดเป็นทิฏฐุปาทาน. [๗๘๓] สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน? ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต ของสมณพราหมณ์ ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความ พินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน. [๗๘๔] อัตตาวาทุปาทาน เป็นไฉน? ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูป ในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็น ตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๓.

ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร ย่อมเห็น วิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความ เห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทาน. [๗๘๕] ธรรมไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน? เว้นอุปาทานธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทาน. [๗๘๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ อุปาทาน. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน. [๗๘๗] ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน. ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน. [๗๘๘] ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? อุปาทานเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๔.

ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอุปาทาน โดยอุปาทานธรรมเหล่านั้น เว้นอุปาทานเหล่า นั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน. [๗๘๙] ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน? ทิฏฐุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยกามุปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยกามุปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยสีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยกามุปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยอัตตวาทุปาทาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน. ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น เว้นอุปาทานธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็น อุปาทาน. [๗๙๐] ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน. ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
อุปาทานโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๘๒๓-๖๙๐๓ หน้าที่ ๒๗๑-๒๗๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=6823&Z=6903&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=780&items=11&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=780&items=11&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=34&item=780&items=11&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=34&item=780&items=11&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=780              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]