ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
จูฬันตรทุกะ
[๙๐๖] สัปปัจจยธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัปปัจจยธรรม. อัปปัจจยธรรม เป็นไฉน? นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัปปัจจยธรรม. [๙๐๗] สังขตธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สังขตธรรม. อสังขตธรรม เป็นไฉน? นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อสังขตธรรม. [๙๐๘] สนิทัสสนธรรม เป็นไฉน? รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สนิทัสสนธรรม. อนิทัสสนธรรม เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยา อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ แต่นับเนื่องในธัมมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อนิทัสสนธรรม. [๙๐๙] สัปปฏิฆธรรม เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัปปฏิฆธรรม. อัปปฏิฆธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบ ไม่ได้ แต่นับเนื่องในธัมมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัปปฏิฆธรรม. [๙๑๐] รูปิธรรม เป็นไฉน? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า รูปิธรรม. อรูปิธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และนิพพาน สภาว- *ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อรูปิธรรม, [๙๑๑] โลกิยธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า โลกิยธรรม. โลกุตตรธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า โลกุตตรธรรม. [๙๑๒] ธรรมทั้งหมดแล จัดเป็นเกนจิวิญเญยยธรรม เกนจินวิญเญยยธรรม.
จูฬันตรทุกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๘๙๘-๗๙๓๓ หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=7898&Z=7933&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=906&items=7              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=906&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=34&item=906&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=34&item=906&items=7              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=906              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]