ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
สัญโญชนโคจฉกะ
[๙๑๙] สัญโญชนธรรม เป็นไฉน? สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริย- *สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ กามราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง ปฏิฆสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง มานสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ทิฏฐิสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง วิจิกิจฉาสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สิลัพพตปรามาสสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง ภวราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง อิสสาสัญโญชน์ และมัจฉริยสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส- *เวทนา ๒ ดวง อวิชชาสัญโญชน์ บังเกิดอกุศลทั้งปวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัญโญชนธรรม. ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพ- *ยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์. [๙๒๐] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๗ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. [๙๒๑] ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน? โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์. [๙๒๒] ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? สัญโญชน์เหล่านั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็น สัญโญชน์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้. [๙๒๓] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน? สัญโญชน์ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์. ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วย สัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์. ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้. [๙๒๔] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของ สัญโญชน์ ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้.
สัญโญชนโคจฉกะ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๙๘๕-๘๐๔๒ หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=7985&Z=8042&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=919&items=6              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=34&item=919&items=6&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=34&item=919&items=6              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=34&item=919&items=6              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=919              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]