ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ปัญหาปุจฉกะ
[๔๖๒] สติปัฏฐาน ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐานไหนเป็นกุศล สติปัฏฐานไหนเป็นอกุศล สติปัฏฐานไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ สติปัฏฐานไหนเป็นสรณะ สติปัฏฐานไหน เป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๔๖๓] สติปัฏฐาน ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็น วิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นปีติสหคตะ ก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นเนวทัสสนน- *ภาวนาปหาตัพพะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏ- *ฐาน ๔ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็น เสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปมาณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็น อัปปมาณารัมมณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นปณีตะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัมมัตตนิตยะ ก็มี เป็นอนิตยะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคารัมมณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคค- *เหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคา- *ธิปติก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้ เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็น พหิทธารัมมณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๖๔] สติปัฏฐาน ๔ เป็นนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสเหตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุสัมปยุต สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นแต่ สเหตุกนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นแต่เหตุ- *สัมปยุตตนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนเหตุสเหตุกะ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสังขตะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนิทัสสนะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอรูป สติปัฏฐาน ๔ เป็นโลกุตตระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาสววิปปยุต สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็น สาสวโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ
๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ สติ ปัฏฐาน ๔ เป็นสารัมมณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนจิตตะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเจตสิกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสหภู สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏ- *ฐานสหภู สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐมุฏฐานานุปริวัตติ สติปัฏฐาน ๔ เป็น พาหิระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนอุปาทา สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุปาทินนะ
๑๑, ๑๒, ๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอุปาทานะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ สติ- *ปัฏฐาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนภาวนาปหาตัพพเห- *ตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิจาระ ก็มี เป็นอวิจาระก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี สติปัฏ- *ฐาน ๔ เป็นนปีติสหคตะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะ ก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นกามาวจร สติปัฏฐาน ๔ เป็นรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔ เป็นน- *อรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔ เป็นอปริยาปันนะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็น อนิยยานิกะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็น อนุตตระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สติปัฏฐานวิภังค์ จบบริบูรณ์

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๖๓๘๕-๖๔๕๕ หน้าที่ ๒๗๖-๒๗๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=6385&Z=6455&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=462&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=462&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=462&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=462&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=462              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]