ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๖๑๒] ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและถอยกลับ
มาข้างหลัง เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา
เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการคู้อวัยวะเข้าและเหยียดอวัยวะออก เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดย
ปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการกิน ดื่ม เคี้ยว
และลิ้มรส เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่
โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง เป็นอย่างไร
             ภิกษุในศาสนานี้ มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะ
ถอยกลับมาข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะเหลียวดู
ข้างซ้ายข้างขวา มีสติสัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะเหยียดอวัยวะออก
มีสติสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร มีสติสัมปชัญญะในการกิน
ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ มีสติ-
*สัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง
             ในบทเหล่านั้น บทว่า มีสติ มีอธิบายว่า สติ เป็นไฉน
             สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใด
นี้เรียกว่า สติ
             บทว่า มีสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน
             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่
ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญา
เหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง
ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน
ศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญา
เหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
             ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยสติและสัมปชัญญะ
นี้ ด้วยประการฉะนี้
             ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มี
สติสัมปชัญญะถอยกลับมาข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัมป-
*ชัญญะเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา มีสติสัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะ
เหยียดอวัยวะออก มีสติสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร มีสติสัม-
*ปชัญญะในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระ
และปัสสาวะ มีสติสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๘๐๒๙-๘๐๖๑ หน้าที่ ๓๔๗-๓๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=8029&Z=8061&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=612&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=612&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=612&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=612&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=612              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]