ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๘๐๒] คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นปัจจุบัน มีอารมณ์เป็น
ปัจจุบัน นั้น คือ เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น
             คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน นั้น คือ
เมื่อวัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น
             คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก
นั้น คือ วัตถุของวิญญาณ ๕ เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ ๕ เป็นภายนอก
             คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุยังไม่แตกดับ มีอารมณ์ยังไม่แตกดับ
นั้น คือ วิญญาณ ๕ เกิดขึ้น ในเมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ ในเมื่ออารมณ์ยังไม่
แตกดับ
             คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน นั้น มี
อธิบายว่า วัตถุและอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของ
โสตวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง
วัตถุ และ อารมณ์ของชิวหาวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ ของกาย
วิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง
             คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน นั้น มีอธิบาย
ว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่
เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวย
อารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวย
อารมณ์ของกายวิญญาณ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ
จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวย
อารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ
แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณย่อมไม่เสวย
อารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวย
อารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้
กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ
             คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด เพราะไม่พิจารณา  นั้น คือ เมื่อ
พิจารณาอารมณ์ วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น
             คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด เพราะไม่ทำไว้ในใจ นั้น คือ เมื่อ
ทำอารมณ์ไว้ในใจ วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น
             คำว่า วิญญาณ ๕ จะเกิดขึ้นโดยไม่สับสนกันก็หาไม่ นั้น คือ
วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน
             คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน นั้น คือ วิญญาณ ๕ ไม่
เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน
             คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นต่อจากลำดับของกันและกัน นั้น
มีอธิบายว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุ-
*วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อ
จากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญ-
*ญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณ
ก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด กายวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับ
ที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด
จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่
เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่
ชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด
แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด โสตวิญญาณย่อมไม่
เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่
โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กาย-
*วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อ
จากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญ-
*ญาณเกิด
             คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความคิดนึก นั้น คือ ความนึก ความคิด
ความพิจารณา หรือความกระทำไว้ในใจ ย่อมไม่มีแก่วิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ
บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕
             คำว่า วิญญาณ ๕ สักแต่ว่าเป็นที่ตกไปแห่งอารมณ์อันใดอัน
หนึ่ง นั้น คือ เป็นแต่สักว่าคลองแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่งเท่านั้น
             คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญ-
*ญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจากลำดับ
แห่งวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยวิญ-
*ญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ การเดิน
การยืน การนั่ง การนอน ด้วยวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งแม้ต่อจาก
ลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจากลำดับแห่งวิญ-
*ญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม
ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม วจีกรรม ด้วยวิญ-
*ญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม
แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม
วจีกรรม แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม ด้วย
วิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม ด้วยวิญ-
*ญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม แม้ต่อ
จากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและอกุศล-
*ธรรม แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ ด้วย
วิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจากสมาบัติ ด้วยวิญ-
*ญาณ ๕
             คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ แม้ต่อ
จากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจาก
สมาบัติ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่เกิดด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคล
มิได้จุติ มิได้เกิด ด้วยวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่เกิดแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
นั้น คือ บุคคลมิได้จุติ มิได้เกิด แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น
คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕
             คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน แม้ด้วยมโนธาตุ
ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
             ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้  ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญ-
*ญาณ ๕ ตามความเป็นจริง ญาณวัตถุ หมวดละ ๑ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๐๘๔๓-๑๐๙๓๙ หน้าที่ ๔๖๗-๔๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=10843&Z=10939&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=802&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=802&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=802&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=802&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=802              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]