ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๘๒๕] ธัมมญาณเป็นไฉน
             ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ
             พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปในอดีตและอนาคต
ด้วยธรรมนี้ที่พระองค์ทรงรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงบรรลุแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว
ทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์แล้ว
ได้รู้ทุกขสมุทัยแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแล้ว สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข-
*สมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง ในอนาคตกาล สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักรู้ทุกข์ จักรู้ทุกขสมุทัย จักรู้ทุกขนิโรธ จักรู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้เอง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขสมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้
ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการ
ส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น อันใด นี้เรียกว่า อันวยญาณ
             ปริจจญาณ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต
(ของตน) คือ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า จิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ  จิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า จิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า จิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน จิต
เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็น
มหัคคตะ จิตเป็นสอุตตระก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระก็รู้ชัดว่า จิต
เป็นอนุตตระ จิตตั้งมั่นก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิต
หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์
เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นนั้น อันใด นี้เรียกว่า ปริจจญาณ
             ยกเว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ ปัญญาที่เหลือ เรียกว่า
สัมมติญาณ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๑๑๗๖-๑๑๒๐๔ หน้าที่ ๔๘๑-๔๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=11176&Z=11204&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=825&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=825&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=825&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=825&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=825              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]