ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๘๔๕] ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่ง
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต
เป็นไฉน
             โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก ชื่อว่า ฌายี คือโยคาวจรบุคคล
ผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนได้แล้วว่ายังไม่ได้ก็มี โยคาวจร-
*บุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนยังไม่ได้ว่าได้แล้วก็มี โยคา-
*วจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌานที่ตนได้แล้วว่า ได้แล้วก็มี
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌานที่ตนยังไม่ได้ว่า ยังไม่ได้
ก็มี เหล่านี้ชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก
             ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกเร็วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้า
ฌานเร็วออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกช้าก็มี
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานเร็วออกเร็วก็มี เหล่านี้ชื่อว่า โยคาวจร-
*บุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก
             ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญ
ฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิ
ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนด
สมาธิในสมาธิ และฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน
บางคน ไม่ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ และไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี
เหล่านี้ชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก
             คำว่า ฌาน ได้แก่ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
             คำว่า วิโมกข์ ได้แก่วิโมกข์ ๘ คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดย
ทำบริกรรมในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๑ โยควจร-
*บุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายนอก ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๒ โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้จัดเป็นวิโมกข์
ที่ ๓ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆ-
*สัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากาสานัญ-
*จายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๔
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็น
วิโมกข์ที่ ๕ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจร-
*บุคคลจึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๖ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๗ เพราะ
ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุสัญญา
เวทยิตนิโรธ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๘
             คำว่า สมาธิ ได้แก่สมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจาร-
*มัตตสมาธิ อวิตักกาวิจารสมาธิ
             คำว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ปฐมฌานสมาบัติ
ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌานสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน-
*สมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
             คำว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ธรรมข้างฝ่ายเสื่อม
             คำว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ธรรมข้างฝ่ายวิเศษ
             คำว่า ความออก ได้แก่แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า ความออก แม้ความ
ออกจากสมาธินั้นๆ ก็ชื่อว่า ความออก
             ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๑๖๓๐-๑๑๖๘๐ หน้าที่ ๕๐๐-๕๐๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=11630&Z=11680&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=845&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=845&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=845&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=845&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=845              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]