ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
เจตสิกกถา
[๑๑๓๖] สกวาที เจตสิกธรรมไม่มี หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดกับดับพร้อม มี วัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิตมีอยู่ มิใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๑.

ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดกับดับ พร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิต มีอยู่ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า เจตสิกธรรมไม่มี [๑๑๓๗] ส. ผัสสะเกิดร่วมกับจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ผัสสะ เป็นเจตสิก ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ฯลฯ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกับจิต หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า อโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อโนตตัปปะ เป็นเจตสิก ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับผัสสะ ก็ชื่อว่าผัสสสิกหรือ? ส. ถูกแล้ว ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิกหรือ? ส. ถูกแล้ว ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ กับสัญญา ฯลฯ กับเจตนา ฯลฯ กับสัทธา กับวิริยะ กับสติ กับสมาธิ กับปัญญา กับราคะ กับโทสะ กับโมหะ ฯลฯ กับอโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า อโนตตัปปสิก หรือ? ส. ถูกแล้ว ส. เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖๒.

ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า จิตนี้และบรรดาเจตสิกธรรมย่อมปรากฏ แก่ผู้ทราบชัดโดยความเป็นอนัตตา ครั้นทราบชัดธรรมทั้ง ๒ นั้น ทั้งที่หยาบและประณีตแล้ว ก็เป็นผู้มีความเห็นโดยชอบ ทราบชัดว่า มีอันแตกดับเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่น่ะสิ [๑๑๓๘] ส. เจตสิกธรรมไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ทายได้แม้ซึ่งจิต แม้ซึ่งเจตสิก แม้ซึ่งการที่ตรึก แม้ซึ่งการที่ตรอง ของสัตว์อื่นๆ ของบุคคลอื่นๆ ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจ ของท่านเป็นโดยประการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นฉะนี้บ้าง ดังนี้ ๑- เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่ น่ะสิ
เจตสิกกถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๑๐๗๘-๑๑๑๒๕ หน้าที่ ๔๖๐-๔๖๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=11078&Z=11125&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1136&items=3&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1136&items=3&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1136&items=3&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1136&items=3&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1136              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]