ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
             [๑๕๒๙] สกวาที ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีรักใคร่ในฌาน มีฌานเป็นอารมณ์
หรือ?
             ปรวาที ถูกแล้ว
             ส. ฌานนั้น เป็นอารมณ์แห่งฌานนั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. ฌานนั้น เป็นอารมณ์แห่งฌานนั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น จำ
สัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ตั้งเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิต
นั้น ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น ดื่มปิตินั้นด้วย
ปิตินั้น ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้แจ้งปัญญานั้นด้วยปัญญานั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. ความยินดีรักใคร่ในฌานก็สัมปยุตด้วยจิต ฌานก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นความประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. ความยินดีรักใคร่ในฌานเป็นอกุศล ฌานเป็นกุศล หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษ
ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มา
พบกัน หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษ
ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มา
พบกัน หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกัน
ไกลกันนัก ๔ ประการเป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้ประการแรก
ที่ไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ จึง
ไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรม
ที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและ
ธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกันมาพบกัน
             [๑๕๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีรักใคร่ในฌาน มีฌาน
เป็นอารมณ์ หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดแล้วจากามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ เธอยินดีในฌาน
นั้น รักใคร่ฌานนั้น และประสบความปลื้มใจด้วยฌานนั้น บรรลุ
ทุติยฌาน ภายในผ่องใส เพราะวิตกและวิจารสงบ ฯลฯ บรรลุถึงตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ เธอยินดีฌานนั้น รักใคร่ฌาน
นั้น และประสบความปลื้มใจด้วยฌานนั้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่
หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เข้าสมาบัติก็ยินดี ความยินดีรักใคร่ในฌาน ก็มีฌานเป็น
อารมณ์ น่ะสิ
สมาปันโน อัสสาเทติกถา จบ.
-----------------------------------------------------
อสาตราคกถา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๕๗๐๓-๑๕๗๕๒ หน้าที่ ๖๕๓-๖๕๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15703&Z=15752&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1529&items=2&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1529&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1529&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1529&items=2&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1529              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]