ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
อสาตราคกถา
[๑๕๓๑] สกวาที ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในทุกข์ มีอยู่บางพวกที่ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาทุกข์ หมกมุ่นทุกข์ ตั้งอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในสุข มีอยู่บางพวกที่ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข หมกมุ่นสุขตั้งอยู่ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในสุข มีอยู่บางพวกที่ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข หมกมุ่นสุข ตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าว ว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ ดังนี้ [๑๕๓๒] ส. ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุข- เวทนา หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกข- เวทนา มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ใน ทุกขเวทนา ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ ดังนี้ [๑๕๓๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้น ประสบความยินดีหรือความ ยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ตามทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เขาเพลิดเพลิน บ่นถึง หมกมุ่นเวทนานั้น ตั้งอยู่ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. ม. มู. ข้อ ๔๕๓ หน้า ๔๘๘ ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็มีอยู่ น่ะสิ
อสาตราคกถา จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๕๗๕๒-๑๕๗๘๔ หน้าที่ ๖๕๕-๖๕๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15752&Z=15784&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1531&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1531&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1531&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1531&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1531              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]