ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
             [๑๕๕๐] สกวาที กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ?
             ปรวาที ถูกแล้ว
             ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. กุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
อันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า กุศล
มูล สืบต่ออกุศลมูล
             [๑๕๕๑] ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อกุศลย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. กุศลย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย มิใช่หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า
กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ ดังนี้
             [๑๕๕๒] ส. กุศลมูลย่อมสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งกามสัญญา อัพยาปาทสัญญาเกิดขึ้น
ได้ในลำดับแห่งพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำแห่งวิหงสา-
สัญญา เมตตาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งพยาบาท กรุณาเกิดขึ้นได้ในลำดับ
แห่งวิหิงสา มุทิตาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอรติ อุเบกขาเกิดขึ้นได้ในลำดับ
แห่งปฏิฆะ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๕๕๓] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล ความนึก
ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลมูล หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
อันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อกุศลมูลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า
อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้
             [๑๕๕๔] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อกุศลเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย มิใช่ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายก็ต้องไม่กล่าว
ว่า อกุศลมูล ย่อมสืบต่อกุศลมูลได้ ดังนี้
             [๑๕๕๕] ส. อกุศลมูล สืบต่อกุศลมูลได้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กามสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งเนกขัมมสัญญา พยาปาทสัญญาเกิดขึ้น
ได้ในลำดับแห่งอัพยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง
อวิหิงสาสัญญา พยาบาทเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งเมตตา วิหิงสาเกิดขึ้น
ได้ในลำดับแห่งกรุณา อรติเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งมุทิตา ปฏิฆะเกิดขึ้น
ได้ในลำดับแห่งอุเบกขา หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๕๕๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้
หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. จิตกำหนัดในวัตถุนั้นเทียว ก็คลายกำหนัดในวัตถุนั้นเทียว ก็กำหนัดใน
วัตถุนั้นเทียว มิใช่หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. หากว่า จิตกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็คลายกำหนัดในวัตถุนั้นเทียว
คลายกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็กำหนัดในวัตถุนั้นเทียว ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูล
ได้
กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ
-----------------------------------------------------
สฬายตนุปปัตติกถา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๕๙๒๒-๑๖๐๐๐ หน้าที่ ๖๖๒-๖๖๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15922&Z=16000&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1550&items=7&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1550&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1550&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1550&items=7&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1550              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]