ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
             [๑๗๘๑] สกวาที การได้ เป็นอสังขตะ หรือ?
             ปรวาที ถูกแล้ว
             ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็น
ฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. การได้ เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็เป็น ๒ อย่าง ที่
หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะก็เป็น
๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๗๘๒] ส. การได้จีวร เป็นอสังขตะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. การได้จีวร เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็เป็น ๒ อย่าง ที่
หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะก็เป็น ๒ อย่าง
นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. การได้บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เป็น
อสังขตะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. การได้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ
หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. การได้จีวรเป็นอสังขตะ การได้บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ การได้คิลาน-
ปัจจยเภสัชชบริขาร ก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ที่ต้านทานเป็น ๕ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๕ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๗๘๓] ส. การได้ปฐมฌานเป็นอสังขตะ หรือ พึงให้พิสดารเหมือนกันทุกอย่าง
การได้ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญา-
ณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิ
มรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อรหัตผล เป็นอสังขตะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. การได้อรหัตผล เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะหรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. การได้โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ การได้โสดาปัตติผลเป็นอสังขตะ
ฯลฯ การได้อรหัตมรรค เป็นอสังขตะ การได้อรหัตผลเป็นอสังขตะ
นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. อสังขตะเป็น ๙ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ส. อสังขตะเป็น ๙ อย่าง หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ที่ต้านทานเป็น ๙ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๙ อย่าง หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๑๗๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การได้เป็นอสังขตะ หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. การได้ เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ หรือ?
             ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             ป. ถ้าอย่างนั้น การได้เป็นอสังขตะ น่ะสิ
ปัตติกถา จบ
-----------------------------------------------------
ตถตากถา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๘๗๙๒-๑๘๘๗๗ หน้าที่ ๗๘๒-๗๘๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=18792&Z=18877&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1781&items=4&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1781&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1781&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1781&items=4&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1781              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]