ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
             [๖๔๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของ
ร้อน อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุ
เป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน
จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความรู้สึกเสวยอารมณ์ อันใด เป็นสุขก็
ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัย แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อนด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟ
คือราคะ ด้วยไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ ด้วย
ชรา มรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส ด้วย
อุปายาส เรากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ โสตะเป็นของร้อน
เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลาย
เป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ มโน
เป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน มโนวิญญาณเป็นของร้อน
มโนสัมผัสเป็นของร้อน ความรู้สึกเสวย อารมณ์ อันใด เป็นสุข
ก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม เกิดขึ้นเพราะมโน
สัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อนด้วยอะไร ร้อน
ด้วยไฟคือราคะ ด้วยไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ
ด้วยชรา มรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส
ด้วยอุปายาส เรากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ ดังนี้ ๑-
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
@๑. วิ. ม. เล่ม ๑ ข้อ ๕๕ หน้า ๖๒
             ส. ถูกแล้ว
             ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้ารึง ไม่มีระยะว่างเว้นน่ะสิ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๖๗๙๘-๖๘๒๒ หน้าที่ ๒๘๑-๒๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=6798&Z=6822&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=641&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=641&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=641&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=641&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=641              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]