ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
             [๙๓๗] สกวาที ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
             ปรวาที ถูกแล้ว
             ส. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว ระงับไปแล้ว
ก็กลับเป็นผู้มิใช่พุทธะ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๓๘] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๓๙] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๐] ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ยังกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๑] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๒] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๓] ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น
หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๔] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึง
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต กระทำกิจที่พึงทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๕] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ
ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๖] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึง
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต กระทำกิจ
ที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น
หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๗] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๘] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่กระทำกิจ
ที่พึงทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น
หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่กระทำกิจที่
พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น
หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๔๙] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้
ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๕๐] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่กระทำ
กิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่กระทำ
กิจที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
นั้นหรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๕๑] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้
ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๕๒] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต ชื่อ ว่า พุทธะ
เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญา
เป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สาม หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๕๓] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สาม หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ประกอบ ตั้งมั่น ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งสาม ปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ทั้งสาม ปรากฏเนื่องๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคนกัน หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
             [๙๕๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ มิใช่หรือ?
             ส. ถูกแล้ว
             ป. หากว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
             [๙๕๕] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ?
             ป. ถูกแล้ว
             ส. ชื่อว่า โพธิ (ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้) ก็เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ หรือ?
             ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โพธิยา พุทโธติกถา จบ
-----------------------------------------------------
ลักษณกถา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๙๑๙๖-๙๓๑๐ หน้าที่ ๓๘๑-๓๘๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=9196&Z=9310&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=937&items=19&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=937&items=19              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=937&items=19&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=937&items=19&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=937              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]