ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             [๒๓๖] กุศลธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๓ เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ขันธ์ ๑ เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒
เกิดร่วมกับขันธ์ ๒
             อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศล
             กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ขันธ์ ๑ และ
จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒
             [๒๓๗] อกุศลธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๓ เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ขันธ์ ๑ เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒
เกิดร่วมกับขันธ์ ๒
             อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอกุศล
             อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ
ปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ขันธ์ ๑ และ
จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒
             [๒๓๘] อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ
อัพยากตกิริยา ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
เกิดร่วมกับขันธ์ ๒ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
*วิบาก ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒
หทยวัตถุเกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายเกิดร่วมกับหทยวัตถุ มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับ
มหาภูตรูป ๑ มหาภูตรูป ๑ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๒ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๒
จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย
             [๒๓๙] อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย
             คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย
             อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ-
*เหตุปัจจัย
             คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย
             พึงให้พิสดารเหมือนอย่างในปฏิจจวาร
             [๒๔๐] ในเหตุปัจจัย	มีวาระ ๙
             ในอารัมมณปัจจัย	มี "   ๓
             ในอธิปติปัจจัย	มี "   ๙
             ในอนันตรปัจจัย	มี "   ๓
             ในสมนันตรปัจจัย	มี "   ๓
             ในสหชาตปัจจัย	มี "   ๙
             ในอัญญมัญญปัจจัย	มี "   ๓
             ในนิสสยปัจจัย	มี "   ๙
             ในอุปนิสสยปัจจัย	มี "   ๓
             ในปุเรชาตปัจจัย	มี "   ๓
             ในอาเสวนปัจจัย	มีวาระ ๓
             ในกัมมปัจจัย	มี "   ๙
             ในวิปากปัจจัย	มี "   ๑
             ในอาหารปัจจัย	มี "   ๙
             ในอินทริยปัจจัย	มี "   ๙
             ในฌานปัจจัย	มี "   ๙
             ในมัคคปัจจัย	มี "   ๙
             ในสัมปยุตตปัจจัย	มี "   ๓
             ในวิปปยุตตปัจจัย	มี "   ๙
             ในอัตถิปัจจัย	มี "   ๙
             ในนัตถิปัจจัย	มี "   ๓
             ในวิคตปัจจัย	มี "   ๓
             ในอวิคตปัจจัย	มี "   ๙
อนุโลม จบ.
พึงนับวาระ เหมือนการนับวาระในปฏิจจวาร
[๒๔๑] อกุศลธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่ไม่ใช่ เหตุปัจจัย คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ [๒๔๒] อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะปัจจัย ที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและ อัพยากตกิริยา ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒ หทยวัตถุ เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายเกิดร่วมกับหทยวัตถุ มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑ มหาภูตรูป ๑ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๒ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๒ จิตตสมุฏฐาน- *รูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับ มหาภูตรูปทั้งหลาย สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย พึงให้พิสดารเหมือนอย่างในปฏิจจวาร. [๒๔๓] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๕ " อธิปติปัจจัย มี " ๙ " อนันตรปัจจัย มี " ๕ " สมนันตรปัจจัย มี " ๕ " อัญญมัญญปัจจัย มี " ๕ " อุปนิสสยปัจจัย มี " ๕ " ปุเรชาตปัจจัย มี " ๗ " ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ " อาเสวนปัจจัย มี " ๙ " กัมมปัจจัย มี " ๓ " วิปากปัจจัย มี " ๙ " อาหารปัจจัย มี " ๑ " อินทริยปัจจัย มี " ๑ " ฌานปัจจัย มี " ๑ " มัคคปัจจัย มี " ๑ " สัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ " วิปปยุตตปัจจัย มี " ๓ " นัตถิปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มีวาระ ๕
ปัจจนียะ จบ.
[๒๔๔] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัยมีวาระ ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๙ " อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ " สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ " อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ " อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ " ปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ " ปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ " อาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ " กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ " วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ " สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ " วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ " นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ " วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕
อนุโลมปัจจนียะ จบ.
[๒๔๕] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๒ ในอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๒ ในสมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในสหชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๒ ในวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในอาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอินทริยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒
ปัจจนียานุโลม จบ.
สหชาตวาร จบ.
ข้อความในสหชาตวาร เหมือนข้อความในปฏิจจวาร
ข้อความในปฏิจจวาร เหมือนข้อความในสหชาตวาร
ปัจจยวาร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๒๘๑๑-๒๙๔๗ หน้าที่ ๑๑๐-๑๑๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=2811&Z=2947&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=236&items=10&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=236&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=40&item=236&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=40&item=236&items=10&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=236              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40 https://84000.org/tipitaka/english/?index_40

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]