ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             [๖๐๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๐] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต
             ที่เป็น สหชาต ได้แก่กุศลขันธ์ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่กุศลขันธ์ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม
โดยอัตถิปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย
ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒
และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๓] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต
             ที่เป็น สหชาต ได้แก่อกุศลขันธ์ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่อกุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยอัตถิ-
*ปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ที่เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิ
ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย
             ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย
             ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป
โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยอัตถิปัจจัย
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย
             มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่
มหาภูตรูป ๑ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป
ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย
พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ
             สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัตถิปัจจัย
มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒
โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป
โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             พระอรหันต์พิจารณาโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             พระอรหันต์ เห็นรูปด้วยทิพพจักษุ
             พระอรหันต์ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
             รูปปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ
ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย
             จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่
โสตวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย ชิวหายตนะ
เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอัตถิปัจจัย
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น อาหาร ได้แก่กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น อินทริย ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             พระเสขะหรือปุถุชน เห็นรูปด้วยทิพพจักษุ
             พระเสขะหรือปุถุชน ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
             หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๗] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่บุคคลยินดีเพลิดเพลิน ซึ่งจักษุเพราะปรารภ ซึ่ง
จักษุนั้น มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น
             บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
หทยวัตถุ เพราะปรารภโสตะ เป็นต้นนั้น มีราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น หทยวัตถุ เป็นปัจจัย
แก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๘] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต
             ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย
อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๑๙] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอัตถิ
ปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ สหชาต อาหารปัจฉาชาต อินทริยปัจฉาชาต
             ที่เป็น สหชาต ได้แก่กุศลขันธ์และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดย
อัตถิปัจจัย
             ที่เป็น อาหารปัจฉาชาต ได้แก่กุศลขันธ์และกวฬิงการหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้
โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็นอินทริยปัจฉาชาต ได้แก่กุศลขันธ์และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป
โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๒๐] อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอัตถิปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต
             ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓
โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย
             [๖๒๑] อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย
อัตถิปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ สหชาต อาหารปัจฉาชาต อินทริยปัจฉาชาต
             ที่เป็น สหชาต ได้แก่อกุศลขันธ์และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น อาหารปัจฉาชาต ได้แก่อกุศลขันธ์และกวฬิงการหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้
โดยอัตถิปัจจัย
             ที่เป็น อินทริยปัจฉาชาต ได้แก่อกุศลขันธ์และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๖๖๖๔-๖๗๖๑ หน้าที่ ๒๖๑-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=6664&Z=6761&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=609&items=13              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=609&items=13&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=40&item=609&items=13              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=40&item=609&items=13              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=609              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40 https://84000.org/tipitaka/english/?index_40

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]