ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
             [๒๖๖] อัชฌัตติกธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ นัย
เหมือนกับปฏิจจวาร.
             พาหิรธรรม อาศัยพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพาหิรธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ
             ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย จนถึงมหาภูตรูปที่เป็นอัชฌัตติกธรรม ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นพาหิรธรรม อาศัยหทัยวัตถุ.
             อัชฌัตติกธรรม อาศัยพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ จิต อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม จิต อาศัยหทัยวัตถุ ในปฏิสนธิขณะ
พึงทำทั้ง ๒ นัย.
             อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม  อาศัยพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพาหิรธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิต
และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ
             ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย.
             อัชฌัตติกธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือในปฏิสนธิขณะ อัชฌัตติกกฏัตตารูป อาศัยจิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.
             พาหิรธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพาหิรธรรม และจิต จิตต-
*สมุฏฐานรูป อาศัยจิตและมหาภูตรูปทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม อาศัยจิตและ
หทัยวัตถุ
             ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๓ นัย.
             อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย
             คือ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๒ และอัชฌัตติก และพาหิรกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่
เป็นพาหิรธรรม และจิต ขันธ์ ๒ ฯลฯ.
             [๒๖๗] อัชฌัตติกธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ กายายตนะ ฯลฯ.
             พาหิรธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ และจักขุวิญญาณ กายายตนะ ฯลฯ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยจิต ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
             อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยจักขายตนะ กายายตนะ ฯลฯ.
             พาหิรธรรม อาศัยพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพาหิรธรรม ขันธ์ ๒ ฯลฯ
             ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม อาศัยหทัยวัตถุ.
             อัชฌัตติกธรรม อาศัยพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ จิตอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม จิตอาศัยหทัยวัตถุ
             ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย.
             อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม อาศัยพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ
             ในปฏิสนธิขณะ มี ๑ นัย.
             อัชฌัตติกธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ จักขุวิญญาณ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ ที่
สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ
             พาหิรธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย
             คือ ขันธ์ ๒ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ และจักขุ
วิญญาณ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพาหิรธรรม
และจิตขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพาหิรธรรม อาศัยจิตและหทัยวัตถุ ในปฏิสนธิขณะ
พึงทำทั้ง ๒ นัย
อัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม และพาหิรธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ และจักขุวิญญาณ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และ จักขายตนะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ. [๒๖๘] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๕ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. [๒๖๙] อัชฌัตติกธรรม อาศัยอัชฌัตติกธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ อัชฌัตติกกฏัตตารูป อาศัยจิต จักขุวิญญาณ อาศัย จักขายตนะ ฯลฯ พึงทำหัวข้อปัจจัยแม้ทั้ง ๙ อย่างนี้ พึงบวกปัญจวิญญาณ เข้าไปด้วยมี ๓ นัย เหมือน กับ โมหะ. [๒๗๐] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๙.
การนับทั้งสอง นอกจากนี้ก็ดี นิสสยวารก็ดี พึงกระทำอย่างนี้.
สังสัฏฐวาร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๔๒๙๔-๔๓๘๖ หน้าที่ ๑๖๘-๑๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=4294&Z=4386&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=43&item=266&items=5&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=43&item=266&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=43&item=266&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=43&item=266&items=5&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=266              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_43 https://84000.org/tipitaka/english/?index_43

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]