ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
             [๔๗] ประชาชนทราบข่าวว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นธรรม
ยวดยิ่งของมนุษย์ ในบริษัทพร้อมทั้งพระราชา ต่างพากันยินดี เลื่อมใสยิ่ง นำเภสัช ๕ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มาถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ แม้ตามปกติท่านก็ได้
เภสัช ๕ อยู่เสมอ ท่านจึงแบ่งเภสัชที่ได้มาถวายแก่บริษัท แต่บริษัทของท่านเป็นผู้มักมาก
เก็บเภสัชที่ได้ๆ มาไว้ในกระถางบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง จนเต็ม บรรจุลงในหม้อกรองน้ำบ้าง ใน
ถุงย่ามบ้าง จนเต็มแล้ว แขวนไว้ที่หน้าต่าง เภสัชเหล่านั้นก็เยิ้มซึม แม้สัตว์จำพวกหนูก็เกลื่อน
กล่นไปทั่ววิหาร คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมไปตามวิหารพบเข้า ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้มีเรือนคลังในภายใน เหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราช ฉะนั้น
             ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ....
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้ แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย
พอใจในความมักมากเช่นนี้ จริงหรือ?
             ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป พึง
ปรับอาบัติตามธรรม.
ภาณวารว่าด้วยทรงอนุญาตเภสัช ที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๑๑๒๓-๑๑๔๔ หน้าที่ ๔๕-๔๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=1123&Z=1144&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=5&item=47&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=5&item=47&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=5&item=47&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=5&item=47&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=47              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]