ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๖
จุลวรรค ภาค ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กัมมขันธกะ
ตัชชนียกรรมที่ ๑
เรื่องภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
เริ่มก่ออธิกรณ์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุพวกพระปัณ- *ฑุกะและพระโลหิตกะ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วม ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวก ท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คง แก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของ พวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ จึงได้เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่า กลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมาง ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่ กว้างออกไปเล่า ครั้นแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและโลหิตกะ เป็นผู้ก่อความบาด หมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วย ตนเองได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่าน เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้ พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่าน เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป เล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยัง ไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ฯ
ทรงแสดงโทษและคุณแล้วให้ทำตัชชนียกรรม
[๓] ครั้นพระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระ- *โลหิตกะ โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความ เป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุพวกปัณฑุกะและโลหิตกะ
วิธีทำตัชชนียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีทำตัชชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ ชั้นต้น พึงโจทภิกษุพวกพระปัณฑุกะและโลหิตกะ ครั้นแล้ว พึงให้พวกเธอให้การ แล้ว พึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการ วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหา ภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้ แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และ สามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวก ท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิด ขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป ถ้าความพร้อม พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วย ตนเองได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะ พวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็น ผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียนและสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขา เลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาด หมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ เพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวก อื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจง โต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จัก เป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อม เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออก ไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวก อื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คง แก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็น ฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมาง ทียังไม่เกิดย่อม เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้าง ออกไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด ตัชชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถาม ก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๒
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๓
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้ว ทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๔
[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำ โดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๕
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๖
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๗
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ ๑ ธรรมโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๘
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติ มิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๙
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่ แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การ ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่ เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้ว ทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำ เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๕
[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๖
[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๗
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๘
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนา- *คามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๙
[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการ วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๒
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนง จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ เป็นผู้มี อาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึง ลงตัชชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๓
[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนง พึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียน พระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึง ลงตัชชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๔
[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่ สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯ
หมวดที่ ๕
[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฐิวิบัติในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯ
หมวดที่ ๖
[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม
[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้อง ประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติโดยชอบในตัชชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:- ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงติกรรม ๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ฯ
วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม จบ
วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ
[๓๕] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะแล้ว พวกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ พวกผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับ ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกปัณฑุกะและโลหิตกะ ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ตัชชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ตัชชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ตัชชนียกรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล้ว สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ติกรรม ๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม ฯ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
วิธีระงับตัชชนียกรรม
[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุพวกปัณฑุกะและโลหิตกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่านั่งกระหย่งประคองอัญชลี กล่าวคำขอระงับ กรรมนั้นอย่างนี้ว่าดังนี้
คำขอระงับตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วได้ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอระงับตัชชนียกรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม วาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับตัชชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้า ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรม แก่ ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การ ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังข้าพเจ้า ... การระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลง ตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวก พระปัณฑุกะและโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ตัชชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้ว แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ตัชชนียกรรม ที่ ๑ จบ
นิยสกรรม ที่ ๒
เรื่องพระเสยยสกะ
[๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเสยยสกะเป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเล่า ท่านพระเสยยสกะจึงได้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค ฯ
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๔๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุเสยยสกะเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะ ภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆ- *บุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้น จึงได้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่ สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่เล่า การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล สงฆ์จงทำนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก
วิธีทำนิยสกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงทำนิยสกรรมอย่างนี้ คือชั้นต้นพึงโจท ภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัย อีก นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก การทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก การทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ... ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด นิยสกรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับ ถือนิสัยอีก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้ ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อน แล้วทำ ๑ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๒
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๓
[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๔
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๕
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือไม่สอบถามก่อนแล้ว ทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่ เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๖
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือไม่ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๗
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่ เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๘
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิ ใช่เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่ เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๙
[๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่ แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้ว ทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่ เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การ ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่ เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้ว ทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่ เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้ว ทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๒
[๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำ เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๓
[๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๔
[๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๕
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๖
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๗
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำ โดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๘
[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๙
[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้ แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำ โดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้ว ทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำ โดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี มรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๒
[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ เป็นผู้มี อาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้
หมวดที่ ๓
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียน พระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๔
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อ ฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯ
หมวดที่ ๕
[๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯ
หมวดที่ ๖
[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม
[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วต้องประพฤติ โดยชอบ วิธีประพฤติโดยชอบในนิยสกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:- ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงติกรรม ๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ฯ
วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม จบ
วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ
[๗๖] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะแล้ว คือ ให้ กลับถือนิสัยอีก เธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ซ่องเสพ คบหา นั่งใกล้กัลยาณมิตร ขอให้แนะนำ ไต่ถาม ได้เป็นพหูสูต ช่ำชอง ในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มีความรังเกียจ ใคร่ต่อ สิกขา เธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุ ทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วได้ ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ [๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นสงฆ์จง ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ติกรรม ๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับนิยสกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๘ คือ ๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
วิธีระงับนิยสกรรม
[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุ เสยยสกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำขอระงับนิยสกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
คำขอระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับนิยสกรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การ ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดย ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระ เสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด นิยสกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
จบนิยสกรรม ที่ ๒
-----------------------------------------------------
ปัพพาชนียกรรม ที่ ๓
เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพวกอัสสชิและปุพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่น ในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม ภิกษุพวกนั้นประพฤติอนาจารเห็นปาน ดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น รดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้าน เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเอง บ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุ พวกนั้นฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน อาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียว กันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วม กันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้ เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่น หกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่ง ผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำแล้ว พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การ คำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง ฯ
อุบาสกเล่าเรื่องให้พระฟัง
[๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสี เดินทาง ไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงชนบทกิฏาคีรีแล้ว ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชนบทกิฏาคีรี มีอาการ เดินไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ คนทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้น แล้วพูดอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้เป็นใคร ดูคล้ายคน ไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนมีหน้าสยิ้ว ใครเล่าจักถวายบิณฑะ แก่ท่านผู้เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตรูปนี้ ส่วนพระผู้เป็นเจ้าเหล่าพระอัสสชิ และพระ ปุนัพพสุกะของพวกเรา เป็นผู้อ่อนโยน พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักพูดว่า มาเถิด มาดีแล้ว มีหน้าไม่สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน ใครๆ ก็ ต้องถวายบิณฑะแก่ท่านเล่านั้น อุบาสกคนหนึ่งได้แลเห็นภิกษุรูปนั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในชนบท กิฏาคีรี ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กราบเรียนถามภิกษุรูปนั้นว่า พระคุณเจ้า ได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะเลย จ้ะ อุบาสกกล่าวอาราธนาว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำภิกษุรูปนั้น ไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ภิ. อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค อุ. ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า จงกราบถวายบังคมพระบาทยุคลของ พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรีโทรม ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็นภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจาร เห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียง ก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำ ดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่น นำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผง สำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้ แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำ ในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะอันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดอันเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วม เครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรง ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคม กับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้อง กับหญิงขับร้องบ้าง ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำ กับหญิงประโคมบ้าง ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละแปดตา บ้าง เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่น หมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสะกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่น ไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง หัด ขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง วิ่งผลัด ม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานเต้นรำ แล้วพูดกับ หญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกา ได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส พระผู้มีพระภาคพึงส่ง ภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรีเถิด เพื่อวัดในชนบทกิฏาคีรีนี้จะพึงตั้งมั่นอยู่ ภิกษุรูปนั้นรับคำของอุบาสกนั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไปโดยทาง พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก คหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
พุทธประเพณี
[๘๖] ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระ อาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ทรงปฏิสันถาร
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ร่างกาย ของเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เธอเดินทางมามีความลำบาก น้อยหรือ และเธอมาจากไหน ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมา มีความ ลำบากเล็กน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เมื่อจะมายังพระนคร สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ผ่านชนบทกิฏาคีรี พระพุทธเจ้าข้า ครั้น เวลาเช้า ข้าพระพุทธเจ้าครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชนบท กิฏาคีรี อุบาสกคนหนึ่ง ได้แลเห็นข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน ชนบทกิฏาคีรี ครั้นแล้วได้เข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า กราบไหว้ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ถามว่า ท่านได้บิณฑะบ้างไหม ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ยังไม่ได้บิณฑะ เลยจ้ะ เขาพูดว่า นิมนต์ไปเรือนผมเถิด ขอรับ แล้วนำข้าพระพุทธเจ้าไปเรือน ให้ฉันแล้วถามว่า พระคุณเจ้าจักไปที่ไหน ขอรับ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า จัก ไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคจ้ะ เขาพูดว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกราบถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และ ขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วัดในชนบทกิฏาคีรี โทรม ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็น ภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอก เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อน ชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทาน ประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าขอ ประทานพระวโรกาส พระองค์ควรส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่ชนบทกิฏาคีรี เพื่อวัด ในชนบทกิฏาคีรีนี้ จะพึงตั้งมั่นอยู่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามาจากชนบทกิฏาคีรีนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรี เป็น ภิกษุอลัชชี เลวทราม พวกเธอประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ ปลูกต้นไม้ดอก เองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ... ประพฤติอนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาว บ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำ ของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ตัดขาดแล้ว ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมหลีก เลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครอง ดังนี้ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติอนาจาร เห็นปานดังนี้ คือ ได้ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง ได้รดน้ำ เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง ได้เก็บดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ได้ ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ได้ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำ ดอกไม้ช่อเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง ได้ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ได้ทำดอกไม้แผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่น ทำบ้าง พวกเธอได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้าน ได้นำ ไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่ง ดอกไม้พุ่ม ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด ได้นำไปเองบ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง ได้นำไปเอง บ้าง ได้ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งตระกูล เพื่อสะใภ้แห่งตระกูล เพื่อกุลทาสี พวก เธอได้ฉันอาหารในภาชนะอันเดียวกันบ้าง ได้ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง ได้นั่ง บนอาสนะอันเดียวกันบ้าง ได้นอนบนเตียงอันเดียวกันบ้าง ได้นอนร่วมเครื่องลาด อันเดียวกันบ้าง ได้นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง ได้นอนร่วมเครื่องลาดและ คลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งตระกูล สะใภ้แห่งตระกูล กุลทาสี ได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ได้ดื่มน้ำเมาบ้าง ได้ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้บ้าง ได้ฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องบ้าง ได้ประโคมบ้าง ได้เต้นรำบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ประโคมกับหญิงฟ้อน รำบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ได้ขับร้องกับหญิง ขับร้องบ้าง ได้ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ได้ ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ได้ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ได้ประโคมกับหญิง ประโคมบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ได้ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้ขับ ร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ได้เล่นหมากรุกแถวละแปดตาบ้าง ได้เล่นหมากรุกแถวละสิบตาบ้าง ได้เล่น หมากเก็บบ้าง ได้เล่นชิงนางบ้าง ได้เล่นหมากไหวบ้าง ได้เล่นโยนห่วงบ้าง ได้เล่นไม้หึ่งบ้าง ได้เล่นฟาดให้เป็นรูปต่างๆ บ้าง ได้เล่นสะกาบ้าง ได้เล่น เป่าใบไม้บ้าง ได้เล่นไถน้อยๆ บ้าง ได้เล่นหกคะเมนบ้าง ได้เล่นไม้กังหันบ้าง ได้เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง ได้เล่นรถน้อยๆ บ้าง ได้เล่นธนูน้อยๆ บ้าง ได้เล่นเขียนทายบ้าง ได้เล่นทายใจบ้าง ได้เล่นเลียนคนพิการบ้าง ได้หัดขี่ช้าง บ้าง ได้หัดขี่ม้าบ้าง ได้หัดขี่รถบ้าง ได้หัดยิงธนูบ้าง ได้หัดเพลงอาวุธบ้าง ได้วิ่งผลัดช้างบ้าง ได้วิ่งผลัดม้าบ้าง ได้วิ่งผลัดรถบ้าง ได้วิ่งขับกันบ้าง ได้วิ่ง เปี้ยวกันบ้าง ได้ผิวปากบ้าง ได้ปรบมือบ้าง ได้ปล้ำกันบ้าง ได้ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานที่เต้นรำแล้ว ได้พูดกับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้ ดังนี้บ้าง ได้ให้การคำนับบ้าง ได้ประพฤติ อนาจารมีอย่างต่างๆ บ้าง เมื่อก่อนชาวบ้านยังมีศรัทธาเลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้เขา ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสแล้ว แม้ทานประจำของสงฆ์ก่อนๆ บัดนี้ทายกทายิกาได้ ตัดขาดแล้ว ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมหลีกเลี่ยงไป ภิกษุเลวทรามอยู่ครองเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่ง กะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะว่า ไปเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะ พวกเธอ ไปถึงชนบทกิฏาคีรีแล้วจงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกอัสสชิ และปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรี เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพวกเธอ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า พวกข้าพระพุทธเจ้า จะทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ได้ด้วยวิธีไร เพราะภิกษุพวกนั้นดุร้าย หยาบคาย พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตรและโมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้นพวก เธอจงไปพร้อมด้วยภิกษุหลายๆ รูป พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะกราบทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
วิธีทำปัพพาชนียกรรม
[๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลปัพพาชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะก่อน ครั้นแล้วพึงให้ พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลว ทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพ- *พสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและ พระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลว ทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระ อัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพา- *ชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรี ว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้เป็นผู้ประทุษ ร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุ เหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูกภิกษุ เหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำ ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จากชนบท กิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบท กิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพ- *พสุกะจากชนบทคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึง อยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเหล่านี้ เป็นผู้ ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความเลวทรามของภิกษุ เหล่านี้ เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายถูก ภิกษุเหล่านี้ประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จาก ชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ใน ชนบทกิฏาคีรี การทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะจากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ปัพพาชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระ ปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพ- *สุกะไม่พึงอยู่ในชนบทกิฏาคีรี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๒
[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดง แล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๓
[๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๔
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๗
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็น เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๙
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดง แล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๑๐
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๑๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การ ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๑๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับแล้วไม่ดี ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้ว ทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๒
[๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำ เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๓
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๔
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๕
[๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๖
[๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดย ธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๗
[๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๘
[๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็น เทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๙
[๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติยังไม่ ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
ข้อที่สงฆ์จำนง ๑๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนงจะ พึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการ วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ เป็นผู้มี อาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียน พระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ เล่นคะนองกาย ๑ เล่นคะนองวาจา ๑ เล่นคะนองกายและวาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๕
[๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ ประพฤติอนาจารทางกาย ๑ ประพฤติ อนาจารทางวาจา ๑ ประพฤติอนาจารทางกายและวาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๖
[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกาย ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา ๑ บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกายและวาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๗
[๑๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ คือ ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๑ ประกอบ มิจฉาชีพทางวาจา ๑ ประกอบมิจฉาชีพทางกายและวาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๘
[๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีวิบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่ สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลง ปัพพาชนียกรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๙
[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็น ผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย กรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าว ติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย กรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งเล่นคะนองกาย ๑ รูปหนึ่งเล่นคะนอง วาจา ๑ รูปหนึ่งเล่นคะนองกายและวาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย กรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทางกาย ๑ รูปหนึ่ง ประพฤติอนาจารทางวาจา ๑ รูปหนึ่งประพฤติอนาจารทางกายและวาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย กรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๑๓
[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกาย ๑ รูปหนึ่ง บังอาจลบล้างพระบัญญัติทางวาจา ๑ รูปหนึ่งบังอาจลบล้างพระบัญญัติทางกายและ วาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย- *กรรมก็ได้ ฯ
หมวดที่ ๑๔
[๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีกก็ได้ คือ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๑ รูปหนึ่ง ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา ๑ รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางกายและวาจา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๓ รูปนี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงปัพพาชนีย- *กรรมก็ได้ ฯ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๑๔ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
วัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
[๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ต้อง ประพฤติโดยชอบ วิธีประพฤติโดยชอบในปัพพาชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:- ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงติกรรม ๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ฯ
วัตร ๑๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
ภิกษุสงฆ์เดินทางไปลงโทษ
[๑๒๐] ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็น ประมุขได้ไปสู่ชนบทกิฏาคีรี แล้วลงปัพพาชนียกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิและ ปุนัพพสุกะ จากชนบทกิฏาคีรีว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ใน ชนบทกิฏาคีรี พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านั้น ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะ ความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงได้ไม่ ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะ ความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๑๒๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนีย- *กรรมแล้ว ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมา ภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความ พอใจ ลำเอียงเพราะความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มี จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว จึงได้ไม่ ประพฤติโดยชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ประพฤติแก้ตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย ยังด่า ยังบริภาษการกสงฆ์ ยังใส่ความว่า ลำเอียงเพราะความพอใจ ลำเอียงเพราะ ความขัดเคือง ลำเอียงเพราะความหลง ลำเอียงเพราะความกลัว หลีกไปเสียก็มี สึกเสียก็มีเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงระงับปัพพาชนียกรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ติกรรม ๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปัพพาชนียกรรม ฯ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปัพพาชนียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
วิธีระงับปัพพาชนียกรรม
[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุที่ถูกลงปัพพาชนียกรรมนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่า แล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าวคำขอ ระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
คำขอระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ข้าพเจ้าขอระงับปัพพาชนียกรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับปัพพาชนียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลง ปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรม แก่ ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนีย- *กรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับปัพพาชนีย- *กรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ปัพพาชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ปัพพาชนียกรรม ที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------
ปฏิสารณียกรรม ที่ ๔
เรื่องพระสุธรรม
[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสุธรรมเป็นเจ้าอาวาส เป็นช่าง ก่อสร้าง รับภัตรประจำของจิตตะคหบดี ในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ในคราวที่จิตตะ คหบดีประสงค์จะนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่บอกท่านพระสุธรรมก่อน นิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล ไม่เคยมี สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ท่านพระ- *มหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระ อุบาลี ท่านพระอานนท์ และท่านพระราหุล ได้เที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี เดินทางไปถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ฯ
จิตตะคหบดีต้อนรับพระอาคันตุกะ
[๑๓๐] จิตตะคหบดีได้ทราบข่าวแน่ถนัดว่า พระเถระหลายรูปมาถึงเมือง มัจฉิกาสณฑ์แล้วโดยลำดับ จึงเข้าไปในสำนักของพระเถระ ครั้นแล้วจึงอภิวาท พระเถระทั้งหลายแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้ชี้แจงให้ จิตตะคหบดีผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย ธรรมีกถา ครั้นจิตตะคหบดีอันท่านพระสารีบุตรชี้แจง ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กล่าวคำอาราธนานี้แก่พระเถระทั้งหลาย ว่า ขอพระเถระทั้งหลายจงกรุณารับอาคันตุกะภัตรของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศล และปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด เจ้าข้า พระเถระทั้งนั้นรับอาราธนาด้วยอาการ ดุษณีภาพ ฯ [๑๓๑] ครั้นจิตตะคหบดี ทราบการรับอาราธนาของพระเถระทั้งหลาย แล้ว ลุกจากที่นั่งไหว้พระเถระทั้งหลาย ทำประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่านพระ สุธรรมถึงสำนัก นมัสการแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรม ดังนี้ว่า ขอพระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับ ภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลปีติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับ พระเถระทั้งหลายด้วยเถิด เจ้าข้า ที่นั้น ท่านพระสุธรรมคิดว่า ครั้งก่อนๆ จิตตะคหบดีนี้ประสงค์จะนิมนต์ สงฆ์ คณะ หรือบุคคล คราวใด จะไม่บอกเราก่อนแล้วนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือ บุคคลไม่เคยมี แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่บอกเราก่อน แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลาย เดี๋ยวนี้จิตตะคหบดีนี้ ลบหลู่เมินเฉย ไม่ยินดีในเราเสียแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้แก่ จิตตะคหบดีว่า อย่าเลย คหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์ จิตตะคหบดี ได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรมเป็นคำรบสองว่า ขอพระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลปีติและ ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด เจ้าข้า ท่านพระสุธรรมตอบว่า อย่าเลย คหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์ จิตตะคหบดี ได้กราบเรียนอาราธนาท่านพระสุธรรมเป็นคำรบสามว่า ขอ พระคุณเจ้าสุธรรม จงกรุณารับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลปีติและ ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พร้อมกับพระเถระทั้งหลายด้วยเถิด เจ้าข้า ท่านพระสุธรรมตอบว่า อย่าเลย คหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์ ทีนั้น จิตตะคหบดีคิดว่า จักทำอะไรแก่เรา เมื่อพระคุณเจ้าสุธรรมรับ นิมนต์ หรือไม่รับนิมนต์ แล้วไหว้ท่านพระสุธรรมทำประทักษิณกลับไป ฯ
วิวาทกับคหบดี
[๑๓๒] ครั้งนั้น จิตตะคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ถวายพระเถระทั้งหลายโดยผ่านราตรีนั้น จึงท่านพระสุธรรมคิดว่า ถ้ากระไร เรา พึงตรวจดูขาทนียโภชนียาหารที่จิตตะคหบดีตกแต่งถวายพระเถระทั้งหลาย ครั้นถึง เวลาเช้า นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่นิเวศน์ของจิตตะคหบดี แล้ว นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ทีนั้น จิตตะคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระสุธรรมได้กล่าวคำนี้แก่จิตตะคหบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ท่าน คหบดี ขาทนียโภชนียาหารนี้ ท่านตกแต่งไว้มากนัก แต่ของสิ่งหนึ่ง ที่เขาเรียก ว่า ขนมแดกงา ไม่มีในจำนวนนี้ จิตตะคหบดีกล่าวความตำหนิว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อพระพุทธพจน์มากมายมี อยู่ แต่พระคุณเจ้าสุธรรมมากล่าวว่า ขนมแดกงา ซึ่งเป็นคำเล็กน้อย ท่านเจ้าข้า เรื่องเคยมีมาแล้ว พ่อค้าชาวทักษิณาบถ ได้ไปสู่ชนบทแถบ ตะวันออก พวกเขานำแม่ไก่มาแต่ที่นั้น ต่อมาแม่ไก่นั้นสมสู่อยู่ด้วยพ่อกาก็ออก ลูกมา คราวใดลูกไก่นั้นปรารถนาจะร้องอย่างกา คราวนั้นย่อมร้องเสียงการะคนไก่ คราวใดปรารถนาจะขันอย่างไก่ คราวนั้นย่อมขันเสียงไก่ระคนกา ฉันใด เมื่อ พระพุทธพจน์มากมายมีอยู่ พระคุณเจ้าสุธรรมมากล่าวว่า ขนมแดกงา ซึ่งเป็น คำเล็กน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สุ. คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่น อาวาสของท่าน อาตมาจักหลีกไปจากอาวาสนั้น จิ. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามิได้ด่ามิได้บริภาษพระคุณเจ้าสุธรรม ขออาราธนา พระคุณเจ้าสุธรรม จงอยู่ในวิหารอัมพาฏกวัน อันเป็นสถานรื่นรมย์ เขตเมือง มัจฉิกาสณฑ์ ข้าพเจ้าจักทำการขวนขวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระคุณเจ้าสุธรรม ท่านพระสุธรรม ได้กล่าวคำนี้แก่จิตตะคหบดีเป็นคำรบสองว่า คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่นอาวาสของท่าน อาตมา จักหลีกไปจากอาวาสนั้น จิ. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามิได้ด่า มิได้บริภาษพระคุณเจ้าสุธรรม ขอ อาราธนาพระคุณเจ้าสุธรรม จงอยู่ในวิหารอัมพาฏกวัน อันเป็นสถานรื่นรมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ข้าพเจ้าจักทำการขวนขวาย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระคุณเจ้าสุธรรม ท่านพระสุธรรม ได้กล่าวคำนี้แก่จิตตะคหบดีเป็นคำรบสามว่า คหบดี ท่านด่าอาตมา คหบดี ท่านบริภาษอาตมา คหบดี นั่นอาวาสของท่าน อาตมา จักหลีกไปจากอาวาสนั้น จิ. พระคุณเจ้าสุธรรมจักไปที่ไหน เจ้าข้า สุ. คหบดี อาตมาจักไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค จิ. ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น ถ้อยคำอันใดที่พระคุณเจ้าได้กล่าวแล้ว และ ถ้อยคำอันใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ขอท่านจงกราบทูลถ้อยคำอันนั้นทั้งมวลแด่ พระผู้มีพระภาค แต่ข้อที่พระคุณเจ้าสุธรรมจะพึงกลับมาเมืองมัจฉิกาสณฑ์อีกนั้น ไม่อัศจรรย์เลย เจ้าข้า ฯ
พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[๑๓๓] ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรจีวร เดินไปทางพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวันอารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกราบทูลถ้อยคำที่ตนกับคหบดีโต้ตอบกัน ให้พระผู้มีพระ ภาคทรงทราบทุกประการ ฯ
ทรงติเตียน
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ จิตตะคหบดีผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก บำรุงสงฆ์ ไฉนเธอจึงได้พูดกด พูดข่ม ด้วยถ้อยคำอันเลวเล่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์ จงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี
วิธีทำปฏิสารณียกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำปฏิสารณียกรรมพึงทำอย่างนี้ พึงโจท- *ภิกษุสุธรรมก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูด ข่ม จิตตะคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุง สงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี นี้ เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูด ข่ม จิตตะคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุง สงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี การทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ พูดกด พูดข่ม จิตตะคหบดี ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก ผู้บำรุงสงฆ์ ด้วยถ้อยคำอันเลว สงฆ์ทำ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี การทำ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด ปฏิสารณียกรรมอันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอขอ ขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบ ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดง แล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๕
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือไม่สอบถาม ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยและระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๖
[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตาม ปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๗
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่น อีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้อง อาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๘
[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ อาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๙
[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะ อาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับ อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อน แล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังมิได้แสดง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๕
[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๖
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๗
[๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๘
[๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติ เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๙
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติ ยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์ ๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์ ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๔. ด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์ ๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. พูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๓. พูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๔. พูดกด พูดข่ม พวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว ๕. รับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ แล้วไม่ทำจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งขวนขวาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวก คฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์ กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป นี้แล ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอีก ๕ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่ง พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดกด พูดข่มพวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว ๑ รูปหนึ่งรับคำอัน เป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์แล้ว ไม่ทำจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป นี้แล ฯ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ต้อง ประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในปฏิสารณียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:- ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงติกรรม ๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
[๑๖๔] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอ ขอขมาจิตตะคหบดี เธอถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้วไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์ เป็น ผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตะคหบดีได้ จึงกลับมายังพระนครสาวัตถีอีก ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า คุณสุธรรม คุณขอขมาจิตตะคหบดีแล้วหรือ ท่านพระสุธรรมตอบว่า ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้ ผมได้ไปเมืองมัจฉิกา- *สณฑ์แล้ว เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตะคหบดีได้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตะคหบดี
วิธีให้อนุทูต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล อนุทูตพึงให้อย่างนี้ พึงขอให้ภิกษุรับก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมา จิตตะคหบดี นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุ ทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตะคหบดี การให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็น อนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว เพื่อขอ ขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
วิธีขอขมาของพระสุธรรม
[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสุธรรมนั้นพึงไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับ ภิกษุอนุทูต แล้วขอขมาจิตตะคหบดีว่า คหบดีขอท่านจงอดโทษ อาตมาจะให้ท่าน เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้จะให้ท่าน เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ อาตมาจะให้ท่าน เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ตามคำสั่งของสงฆ์ ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูต พึงให้ภิกษุสุธรรมห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วให้ แสดงอาบัตินั้น ไม่ละทัสสนูปจาร ไม่ละสวนูปจาร ฯ
ขอขมาสำเร็จ และสงฆ์ระงับกรรม
[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับภิกษุอนุทูต แล้วขอขมาจิตตะคฤหบดี ท่านพระสุธรรมนั้นประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ สุธรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่ พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม เพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ติกรรม ๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
วิธีระงับปฏิสารณียกรรม
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับปฏิสารณียกรรมพึงระงับ อย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรมนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับปฏิสารณียกรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม- *วาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลง ปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลง ปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณี- *ยกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณี- *ยกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณี- *ยกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณี- *ยกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ปฏิสารณียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ปฏิสารณียกรรมที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
อุกเขปนียกรรมที่ ๕
เรื่องพระฉันนะ
[๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็น อาบัติ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงได้ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๑๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะ เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ ควรทำ ไฉน โมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้วจึงไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติเล่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่ ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์
วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ พึง ทำอย่างนี้ คือ พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับ อาบัติ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติ- *จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติ แล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภคกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ สงฆ์ ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภค กับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ สงฆ์ทำแล้วแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า พระ ฉันนะถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติแล้ว คือ ห้ามสมโภค กับสงฆ์ ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติ ที่แสดงแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติ แล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๕
[๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๖
[๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๗
[๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๘
[๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะมิใช่อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๙
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
-----------------------------------------------------
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยัง ไม่ได้แสดง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ ต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๕
[๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบ ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๖
[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๗
[๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๘
[๑๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๙
[๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำ เพราะอาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ จบ
-----------------------------------------------------
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๑-๒๒๐๑ หน้าที่ ๑-๙๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=1&Z=2201&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=1&items=694              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=1&items=694&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=6&item=1&items=694              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=6&item=1&items=694              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]