ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์ ๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์ ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๔. ด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์ ๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. พูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๓. พูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๔. พูดกด พูดข่ม พวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว ๕. รับคำอันเป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ แล้วไม่ทำจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งขวนขวาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่มิได้แห่งพวก คฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งด่าว่าเปรียบเปรยพวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์ กับพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป นี้แล ฯ
หมวดที่ ๔
[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอีก ๕ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่ง พูดติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๑ รูปหนึ่งพูดกด พูดข่มพวกคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว ๑ รูปหนึ่งรับคำอัน เป็นธรรมแก่พวกคฤหัสถ์แล้ว ไม่ทำจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป นี้แล ฯ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๔ หมวด จบ
-----------------------------------------------------
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ต้อง ประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในปฏิสารณียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:- ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงติกรรม ๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
[๑๖๔] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ ให้เธอ ขอขมาจิตตะคหบดี เธอถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้วไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์ เป็น ผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตะคหบดีได้ จึงกลับมายังพระนครสาวัตถีอีก ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า คุณสุธรรม คุณขอขมาจิตตะคหบดีแล้วหรือ ท่านพระสุธรรมตอบว่า ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้ ผมได้ไปเมืองมัจฉิกา- *สณฑ์แล้ว เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตะคหบดีได้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตะคหบดี
วิธีให้อนุทูต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล อนุทูตพึงให้อย่างนี้ พึงขอให้ภิกษุรับก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมา จิตตะคหบดี นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุ ทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตะคหบดี การให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็น อนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว เพื่อขอ ขมาจิตตะคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
วิธีขอขมาของพระสุธรรม
[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสุธรรมนั้นพึงไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับ ภิกษุอนุทูต แล้วขอขมาจิตตะคหบดีว่า คหบดีขอท่านจงอดโทษ อาตมาจะให้ท่าน เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้จะให้ท่าน เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ อาตมาจะให้ท่าน เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูตพึงช่วยพูดว่า คหบดี ขอท่านจงอดโทษแก่ภิกษุนี้ตามคำสั่งของสงฆ์ ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขาอดโทษ ข้อนั้นเป็นการดี หากเขาไม่อดโทษ ภิกษุอนุทูต พึงให้ภิกษุสุธรรมห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วให้ แสดงอาบัตินั้น ไม่ละทัสสนูปจาร ไม่ละสวนูปจาร ฯ
ขอขมาสำเร็จ และสงฆ์ระงับกรรม
[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสุธรรมไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับภิกษุอนุทูต แล้วขอขมาจิตตะคฤหบดี ท่านพระสุธรรมนั้นประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ สุธรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่ พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม เพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๒
[๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ พึงระงับปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ติกรรม ๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
หมวดที่ ๓
[๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม คือ:- ๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ปฏิสารณียกรรม ฯ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ
-----------------------------------------------------
วิธีระงับปฏิสารณียกรรม
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับปฏิสารณียกรรมพึงระงับ อย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรมนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับปฏิสารณียกรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม- *วาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับปฏิสารณียกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลง ปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัว ได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลง ปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณี- *ยกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณี- *ยกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณี- *ยกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับปฏิสารณี- *ยกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ปฏิสารณียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ปฏิสารณียกรรมที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๑๗๗๔-๑๙๘๙ หน้าที่ ๗๗-๘๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=1774&Z=1989&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=159&items=15              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=159&items=15&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=6&item=159&items=15              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=6&item=159&items=15              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=159              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]