ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
             [๑๙๗] ๑. เรื่องขัดสีกายที่ต้นไม้ ๒. ขัดสีกายที่เสา ๓. ขัดสีกาย
ที่ฝา ๔. อาบน้ำในที่ไม่ควร ๕. อาบน้ำขัดสีกายด้วยมือทำด้วยไม้ ๖. ขัด
สีกายด้วยจุณหินสีดังพลอยแดง ๗. ผลัดกันถูตัว ๘. อาบน้ำถูด้วยไม้
บังเวียน ๙. ภิกษุเป็นหิด ๑๐. ภิกษุชรา ๑๑. ถูหลังด้วยฝ่ามือ ๑๒. เครื่อง
ตุ้มหู ๑๓. สังวาล ๑๔. สร้อยคอ ๑๕. เครื่องประดับเอว ๑๖. ทรงวลัย
๑๗. ทรงสร้อยตาบ ๑๘. ทรงเครื่องประดับข้อมือ ๑๙. ทรงแหวนประดับนิ้วมือ
๒๐. ไว้ผมยาว ๒๑. เสยผมด้วยแปรง ๒๒. เสยผมด้วยมือ ๒๓. เสย
ผมด้วยน้ำมันผสมขี้ผึ้ง ๒๔. เสยผมด้วยน้ำมันผสมน้ำ ๒๕. ส่องเงาหน้าใน
แว่น ในขันน้ำ ๒๖. แผลเป็นที่หน้า ๒๗. ผัดหน้า ๒๘. ทาหน้า ถูหน้า
ผัดหน้า เจิมหน้า ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งหน้าทั้งตัว ๒๙. โรคนัยน์ตา ๓๐.
มหรสพ ๓๑. สวดเสียงยาว ๓๒. สวดสรภัญญะ ๓๓. ห่มผ้าขนสัตว์ มีขน
ข้างนอก ๓๔. มะม่วงทั้งผล ๓๕. ชิ้นมะม่วง ๓๖. มะม่วงล้วน ๓๗. เรื่องงู
๓๘. ตัดองค์กำเนิด ๓๙. บาตรไม้จันทน์ ๔๐. เรื่องบาตรต่างๆ ๔๑. บังเวียน
รองบาตร ๔๒. บังเวียนทองรองบาตร หนาไป ทรงอนุญาตให้กลึง ๔๓. บังเวียน
รองบาตรวิจิตร ๔๔. บาตรเหม็นอับ ๔๕. บาตรมีกลิ่นเหม็น ๔๖. วาง
บาตรไว้ในที่ร้อน ๔๗. บาตรกลิ้งตกแตก ๔๘. เก็บบาตรไว้ที่กระดานเลียบ
๔๙. เก็บบาตรไว้ริมกระดานเลียบนอกฝา ๕๐. หญ้ารองบาตร ๕๑. ท่อน
ผ้ารองบาตร ๕๒. แท่นเก็บบาตร หม้อเก็บบาตร ๕๓. ถุงบาตรและสาย
โยกเป็นด้ายถัก ๕๔. แขวนบาตรไว้ที่ไม้เดือย ๕๕. เก็บบาตรไว้บนเตียง
๕๖. เก็บบาตรไว้บนตั่ง ๕๗. วางบาตรไว้บนตัก ๕๘. เก็บบาตรไว้บนกลด
๕๙. ถือบาตรอยู่ผลักประตูเข้าไป ๖๐. ใช้กะโหลกน้ำเต้าแทนบาตร ๖๑. ใช้
กระเบื้องหม้อแทนบาตร ๖๒. ใช้กะโหลกผีแทนบาตร ๖๓. ใช้บาตรต่าง
กระโถน ๖๔. ใช้มีดตัดจีวร ๖๕. เรื่องใช้มีดมีด้าม ๖๖. ใช้ด้ามมีดทำ
ด้วยทอง ๖๗. ใช้ขนไก่และไม้กลัดเย็บจีวร กล่องเข็ม แป้งข้าวหมาก ฝุ่น
หิน ขี้ผึ้ง ผ้ามัดขี้ผึ้ง ๖๘. จีวรเสียมุม ผูกสะดึง ขึงสะดึงในที่ไม่เสมอ
ขึงสะดึงที่พื้นดิน ขอบสะดึงชำรุด และไม่พอ ทำเครื่องหมายและตีบรรทัด
๖๙. ไม่ล้างเท้าเหยียบสะดึง ๗๐. เท้าเปียกเหยียบสะดึง ๗๑. สวมรอง
เท้าเหยียบสะดึง ๗๒. ใช้นิ้วมือรับเข็ม ๗๓. ปลอกนิ้วมือ ๗๔. กล่อง
สำหรับเก็บเครื่องเย็บผ้า และสายโยก เป็นด้ายถัก ๗๕. เย็บจีวรในที่แจ้ง
โรงไม้สะดึงต่ำ ถมพื้นให้สูง ขึ้นลงลำบาก ๗๖. ผงหญ้าที่มุงตกเกลื่อน
พระวินายกทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกข้างใน ทำให้มีสีขาว สีดำ
สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร
สายระเดียงจีวร ๗๗. ทิ้งไม้สะดึงแล้วหลีกไป ไม้สะดึงหักเสียหาย คลี่ออก
๗๘. เก็บสะดึงไว้ที่ฝากุฏิ ๗๙. ใช้บาตรบรรจุเข็ม มีด เครื่องยาเดินทาง
ถุงเก็บเครื่องยา สายโยกเป็นด้ายถัก ๘๐. ใช้ผ้ากายพันธ์ผูกรองเท้า ถุงเก็บ
รองเท้า สายโยกเป็นด้ายถัก ๘๑. น้ำในระหว่างทางเป็นอกัปปิยะ ผ้ากรองน้ำ
กระบอกกรองน้ำ ๘๒. ภิกษุสองรูปเดินทางไปเมืองเวสาลี ๘๓. พระมหามุนี
ทรงอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบและผ้าลาดลงบนน้ำ ๘๔. ยุงรบกวน ๘๕. อาหาร
ประณีต เกิดโรคมาก หมอชีวกทูลขออนุญาตสร้างที่จงกรมและเรือนไฟ ๘๖. ที่
จงกรมขรุขระ ๘๗. พื้นที่จงกรมต่ำ ทรงอนุญาตให้ก่อกรุดินที่ถม ๓ ชนิด ขึ้น
ลงลำบาก ทรงอนุญาตบันไดและราวสำหรับยึด ๘๘. ทรงอนุญาตรั้วรอบที่จง
กรม ๘๙. จงกรมในที่แจ้งผงหญ้าหล่นเกลื่อน ทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดิน
ทำให้มี สีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร
ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวร ๙๐. ทรงอนุญาตให้ถมเรือนไฟ
ให้สูงกั้นกรุ บันได ราวบันได บานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตู
ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องชักเชือก เชือกชัก
ก่อฝาเรือนไฟให้ต่ำ และปล่องควัน ๙๑. เรือนไฟตั้งอยู่กลาง ทรงอนุญาตดิน
ทาหน้า รางละลายดิน ดินมีกลิ่นเหม็น ๙๒. ไฟลนกาย ทรงอนุญาตที่ขังน้ำ
ขันตักน้ำ เรือนไฟไหม้เกรียม พื้นที่เป็นตม ทรงอนุญาตให้ล้าง ทำท่อระบายน้ำ
๙๓. ตั่งรองนั่งในเรือนไฟ ๙๔. ทำซุ้ม ๙๕. ทรงอนุญาตโรยกรวดแร่ วาง
ศิลาเลียบ ท่อระบายน้ำ ๙๖. เปลือยกายไหว้กัน ๙๗. วางจีวรไว้บนพื้นดิน
ฝนตกเปียก ๙๘. ทรงอนุญาตเครื่องกำบัง ๓ ชนิด ๙๙. บ่อน้ำ ๑๐๐. ใช้
ผ้ากายพันธ์และเถาวัลย์ผูกภาชนะตักน้ำ ทรงอนุญาตคันโพง ระหัดชัก ระหัดถีบ
ภาชนะตักน้ำแตก ทรงอนุญาตถังน้ำทำด้วยโลหะไม้และท่อนหนัง ๑๐๑. ทรง
อนุญาตศาลาใกล้บ่อน้ำ ๑๐๒. ทรงอนุญาตฝาปิดบ่อกันผงหญ้า ๑๐๓. ทรง
อนุญาตรางไม้ ๑๐๔. ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ และกำแพงกั้น น้ำขังลื่น
ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ ๑๐๕. เนื้อตัวตกหนาว ทรงอนุญาตผ้าชุบน้ำ ๑๐๖. ทรง
อนุญาตสระน้ำ น้ำในสระเก่า ทรงอนุญาตให้ทำท่อระบายน้ำ ๑๐๗. ทรง
อนุญาตเรือนไฟมีปั้นลม ๑๐๘. ไม่อยู่ปราศจากผ้านิสีทนะ ๔ เดือน ๑๐๙. นอน
บนที่นอนอันเดียรดาษด้วยดอกได้ ๑๑๐. ไม่รับประเคนดอกไม้ของหอม
๑๑๑. ไม่ต้องอธิษฐานสันถัตขนเจียมหล่อ ๑๑๒. ฉันจังหันบนเตียบ ๑๑๓. ทรง
อนุญาตโตก ๑๑๔. ฉันจังหันและนอนร่วมกัน ๑๑๕. เจ้าวัฑฒะลิจฉวี
๑๑๖. โพธิราชกุมาร พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้า ๑๑๗. หม้อน้ำ ปุ่มไม้
สำหรับเช็ดเท้า และไม้กวาด ๑๑๘. ทรงอนุญาตที่เช็ดเท้าทำด้วยหิน กรวด
กระเบื้อง หินฟองน้ำ ๑๑๙. ทรงอนุญาตพัดโบก พัดใบตาล ๑๒๐. ไม้
ปัดยุง แส้จามรี ๑๒๑. ทรงอนุญาตร่ม ๑๒๒. ไม่มีร่มไม่สบาย ๑๒๓. ทรง
อนุญาตร่มในวัด รวม ๓ เรื่อง ๑๒๔. วางบาตรไว้ในสาแหรก ๑๒๕. สมมติ
สาแหรก สมมติไม้เท้าและสาแหรก ๑๒๖. โรคเรอ ๑๒๗. เมล็ดข้าว
เกลื่อน ๑๒๘. ไว้เล็บยาว ๑๒๙. ตัดเล็บ นิ้วมือเจ็บ ตัดเล็บจนถึงเลือด
ทรงอนุญาตให้ตัดพอดีเนื้อ ๑๓๐. ขัดเล็บทั้ง ๒๐ นิ้ว ๑๓๑. ไว้ผมยาว
ทรงอนุญาตมีดโกน หินลับมีดโกน ปลอกมีดโกน ผ้าพันมีดโกน เครื่องมือ
โกนผมทุกอย่าง ๑๓๒. ตัดหนวด ไว้หนวด ไว้เครา ไว้หนวดสี่เหลี่ยม
ขมวดกลุ่มขนหน้าอก ไว้กลุ่มขนท้อง ไว้หนวดเป็นเขี้ยวโง้ง โกนขนในที่แคบ
๑๓๓. อาพาธโกนขนในที่แคบได้ ๑๓๔. ตัดผมด้วยกรรไกร ๑๓๕. ศีรษะ
เป็นแผล ๑๓๖. ไว้ขนจมูกยาว ๑๓๗. ถอนขนจมูกด้วยก้อนกรวด ๑๓๘. เรื่อง
ถอนผมหงอก ๑๓๙. เรื่องมูลหูจุกช่องหู ๑๔๐. ใช้ไม้แคะหู ๑๔๑. เรื่อง
สั่งสมเครื่องโลหะกับไม้ป้ายยาตา ๑๔๒. นั่งรัดเข่า ๑๔๓. ผ้ารัดเข่า ด้าย
พัน ๑๔๔. ผ้ารัดประคต ๑๔๕. ภิกษุใช้รัดประคตเป็นเชือกหลายเส้น
ประคตถักเป็นศีรษะงูน้ำ ประคตกลมคล้ายเกลียวเชือก ประคตคล้ายสังวาล
ทรงอนุญาตรัดประคตแผ่นผ้า และรัดประคตกลม ชายผ้ารัดประคตเก่า ทรง
อนุญาตให้เย็บทบ ถักเป็นห่วง ที่สุดห่วงรัดประคตเก่า ทรงอนุญาตลูกถวิน
๑๔๖. ทรงอนุญาตลูกดุม และรังดุม ๑๔๗. ทำลูกดุมต่างๆ ๑๔๘. ติด
แผ่นผ้ารองลูกดุม และรังดุม ๑๔๙. นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ คือ นุ่งห้อยชาย
เหมือนงวงช้าง นุ่งปล่อยชายคล้ายหางปลา นุ่งปล่อยชายเป็นสี่แฉก นุ่งห้อยชาย
คล้ายก้านตาล นุ่งยกกลีบตั้งร้อย ๑๕๐. ห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ ๑๕๑. นุ่งผ้า
เหน็บชายกระเบน ๑๕๒. หาบของสองข้าง ๑๕๓. ไม้ชำระฟัน ๑๕๔. ใช้
ไม้ชำระฟันตีสามเณร ๑๕๕. ไม้ชำระฟันติดคอ ๑๕๖. จุดไฟเผากองหญ้า
๑๕๗. จุดไฟรับ ๑๕๘. ขึ้นต้นไม้ ๑๕๙. หนีช้าง ๑๖๐. ภาษาสันสกฤต
๑๖๑. เรียนโลกายตศาสตร์ ๑๖๒. สอนโลกายตศาสตร์ ๑๖๓. เรียน
ดิรัจฉานวิชา ๑๖๔. สอนดิรัจฉานวิชา ๑๖๕. ทรงจาม ๑๖๖. เรื่องมงคล
๑๖๗. ฉันกระเทียม ๑๖๘. อาพาธเป็นลม ฉันกระเทียมได้ ๑๖๙. อาราม
สกปรกมีกลิ่นเหม็น นั่งปัสสาวะลำบาก ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ
ภิกษุทั้งหลายละอาย หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิด มีกลิ่นเหม็น ถ่ายอุจจาระลงในที่
นั้นๆ มีกลิ่นเหม็น หลุมถ่ายอุจจาระพัง ทรงอนุญาตให้ถมขอบปากให้สูง และ
ให้ก่อกรุ บันได ราวสำหรับยึด นั่งริมๆ ถ่ายอุจจาระ นั่งถ่ายอุจจาระลำบาก
ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะออกไปข้างนอก ทรงอนุญาต
รางรองปัสสาวะ ไม้ชำระ ตะกร้ารองรับไม้ชำระ หลุมวัจจกุฎีไม่ได้ปิด ทรง
อนุญาตฝาปิด ๑๗๐. วัจจกุฎี บานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยบาน
ประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก
เชือกชัก ผงหญ้าตกลงเกลื่อน ทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทั้งข้างบนข้างล่าง
ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร
ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง ๑๗๑. ภิกษุชราทุพพลภาพ ๑๗๒. ทรง
อนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม ๑๗๓. ทรงอนุญาตซุ้มประตูวัจจกุฎี โรยกรวดแร่
วางศิลาเลียบ น้ำขัง ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ หม้อน้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ นั่ง
ชำระลำบาก ละอาย ทรงอนุญาตฝาปิด ๑๗๔. พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจาร
๑๗๕. ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เว้นเครื่องประหาร พระมหามุนีทรงอนุญาตเครื่อง
ไม้ทั้งปวง เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์ บาตรไม้และเขียงไม้ พระตถาคตผู้ทรง
อนุเคราะห์ ทรงอนุญาตเครื่องดินแม้ทั้งมวล เว้นเครื่องเช็ดเท้า และกุฎีที่ทำด้วย
ดินเผา
             นิทเทศแห่งวัตถุใด ถ้าเหมือนกับข้างต้น นักวินัยพึงทราบวัตถุนั้นว่า
ท่านย่อไว้ในอุทาน โดยนัย
             เรื่องในขุททกวัตถุขันธกะ ที่แสดงมานี้มี ๑๑๐ เรื่อง ๑- พระวินัยธรผู้
ศึกษาดีแล้ว มีจิตเกื้อกูล มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีปัญญาส่องสว่างดังดวงประทีป
เป็นพหูสูต ควรบูชา จะเป็นผู้ดำรงพระสัทธรรม และอนุเคราะห์แก่เหล่า
สพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก ฯ
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
-----------------------------------------------------
เสนาสนะขันธกะ
เรื่องราชคหเศรษฐีถวายวิหาร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๕๐๒-๑๖๒๐ หน้าที่ ๖๒-๖๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=1502&Z=1620&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=197&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=197&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=7&item=197&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=7&item=197&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=197              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]