ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
วัตตขันธกะ
เรื่องพระอาคันตุกะ
[๔๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นพระอาคันตุกะ สวม รองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาด จีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษา กว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี มีพระอาคันตุกะรูปหนึ่ง ถอดลิ่มแล้วผลักบานประตู เข้าไปสู่วิหารที่ไม่มีใครอยู่โดยพลัน งูตกจากเบื้องบนลงมาที่คอของเธอ เธอกลัว ร้องขึ้นสุดเสียง ภิกษุทั้งหลายรีบเข้าไปถามว่า ท่านร้องสุดเสียงทำไม เธอจึงบอก เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระอาคันตุกะจึงสวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่- *อารามก็มี คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วย น้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุอาคันตุกะ สวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่ พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๗๙.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุอาคันตุกะ จึงได้สวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุมศีรษะเข้าไป สู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุ เจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ ภิกษุเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย จะพึงประพฤติเรียบร้อย ฯ
อาคันตุกวัตร
[๔๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า จักเข้าไปสู่อารามเดี๋ยวนี้ พึงถอดรองเท้าเคาะ แล้วถือไปต่ำๆ ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบนศีรษะลงไว้ที่บ่า ไม่ ต้องรีบร้อน พึงเข้าไปสู่อารามตามปกติ เมื่อเข้าไปสู่อารามพึงสังเกตว่า ภิกษุเจ้าถิ่น ประชุมกันที่ไหน ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ใด คือ ที่โรงฉัน มณฑป หรือโคนไม้ พึง ไปที่นั่น วางบาตรไว้ที่แห่งหนึ่ง วางจีวรไว้ที่แห่งหนึ่ง พึงถืออาสนะที่สมควรนั่ง พึง ถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึงน้ำใช้ว่า ไหนน้ำฉัน ไหนน้ำใช้ ถ้าต้องการน้ำฉัน พึงตักน้ำ ฉันหาดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ พึงตักน้ำใช้มาล้างเท้า เมื่อล้างเท้า พึงรดน้ำด้วยมือข้าง หนึ่ง พึงล้างเท้าด้วยมือข้างหนึ่ง รดน้ำด้วยมือใด ไม่พึงล้างเท้าด้วยมือนั้น พึงถาม ถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วจึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน ใช้ ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าภิกษุเจ้าถิ่น แก่พรรษากว่า พึงอภิวาท ถ้าอ่อนพรรษากว่า พึงให้เธออภิวาท พึงถามถึงเสนาสนะ ว่า เสนาสนะไหนถึงแก่ผม พึงถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ พึง ถามถึงโคจรคาม พึงถามถึงอโคจรคาม พึงถามถึงสกุลทั้งหลายที่ได้รับสมมติว่าเป็น เสกขะ พึงถามถึงที่ถ่ายอุจจาระ พึงถามถึงที่ถ่ายปัสสาวะ พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึง น้ำใช้ พึงถามถึงไม้เท้า พึงถามถึงกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้าเวลาเท่าไร ควรออก เวลาเท่าไร ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่ พึงเคาะประตูรออยู่สักครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่ม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๐.

ผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกแลดูให้ทั่ว ถ้าวิหารรก หรือเตียงซ้อนอยู่บนเตียง หรือตั่งซ้อนอยู่บนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับอยู่เบื้องบน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระเสีย เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนเครื่องลาดพื้นออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึงขนเขียง รองเท้าเตียงออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงขนฟูกและหมอนออกไปวางไว้ที่ควร แห่งหนึ่ง พึงขนผ้านิสีทนะและผ้าปูนอนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียง ตั่ง อัน ภิกษุพึงยกต่ำๆ ทำให้เรียบร้อย อย่าให้ครูดสี กระทบบานและกรอบประตู ขนไป วางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง กระโถนพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออก ไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด กรอบหน้าต่าง ประตูและมุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำพรมแล้ว กวาด ด้วยคิดว่าอย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงเก็บกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ ที่ควร แห่งหนึ่ง เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับไปปูไว้ตามเดิม เขียง รองเท้าเตียง พึงผึ่งแดด ขัด เช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะ ยกต่ำๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบบานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ ตามเดิม ฟูกและหมอนตากแห้งแล้ว เคาะปัดให้สะอาด ขนกลับวางไว้ตามเดิม ผ้า ปูนั่งและผ้าปูนอนตากแห้งแล้ว สลัดให้สะอาด ขนกลับปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง ตากแล้ว พึงเช็ด ขนกลับไปตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง พึงทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บ จีวร ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้ามีลมเจือ ด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมา ทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๘๑.

ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายซึ่งภิกษุอาคัน ตุกะทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๔๒๙๐-๔๓๖๒ หน้าที่ ๑๗๘-๑๘๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=4290&Z=4362&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=414&items=2&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=414&items=2&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=7&item=414&items=2&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=7&item=414&items=2&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=414              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]