ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
นวสังคหวรรค ที่ ๕
สังคหะ ๙ อย่าง
[๑๓๖๒] สังคหะมี ๙ อย่าง คือ วัตถุสังคหะ ๑ วิบัติสังคหะ ๑ อาบัติสังคหะ ๑ นิทานสังคหะ ๑ บุคคลสังคหะ ๑ ขันธสังคหะ ๑ สมุฏฐานสังคหะ ๑ อธิกรณสังคหะ ๑ สมถสังคหะ ๑
ให้บอกเรื่อง
[๑๓๖๓] เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึงให้ทั้งสองบอกเรื่อง ครั้นแล้วพึงฟังปฏิญญาทั้งสอง แล้วพึงพูดกะคู่ความทั้งสองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดี หรือ ถ้าทั้งสองรับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้. ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา. ถ้าบริษัทมีคนพาลมาก สงฆ์พึงแสวงหา พระวินัยธร. อธิกรณ์นั้นจะระงับ โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึงระงับ อธิกรณ์นั้นโดยอย่างนั้น.
พึงรู้วัตถุเป็นต้น
[๑๓๖๔] พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ. คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า อุตตริมนุสสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า อัตตกาม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า สัญจริตตะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ให้ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ให้ทำวิหารใหญ่ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกไม่มีมูล เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้ง โคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ถือเอาเอกเทศบางอย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุผู้ว่ายากไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็น ทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ ... คำว่า การอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติแล.
นวสังคหวรรคที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวรรค
[๑๓๖๕] อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ วัตถุ ๑ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑ สีมา ๑ บริษัท ๑ พร้อมหน้า ๑ สอบถาม ๑ ปฏิญญา ๑ ควรสติวินัย ๑ วัตถุ ๑ สงฆ์ ๑ บุคคล ๑ ญัตติ ๑ ตั้งญัตติภายหลัง ๑ วัตถุ ๑ สงฆ์ ๑ บุคคล ๑ สวดประกาศ ๑ สวดในกาลไม่ควร ๑ สีมาเล็กเกิน ๑ สีมาใหญ่เกิน ๑ สีมามีนิมิต ขาด ๑ สีมาใช้เงาเป็นนิมิต ๑ สีมาไม่มีนิมิต ๑ อยู่นอกสีมาสมมติสีมา ๑ สมมติสีมาในนที ๑ ในสมุทร ๑ ในชาตสระ ๑ คาบเกี่ยวสีมา ๑ ทับสีมาด้วยสีมา ๑ กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ๑ ไม่นำฉันทะมา ๑ นำฉันทะมา ๑ บุคคลผู้เข้ากรรม ๑ ผู้ควรฉันทะ ๑ ผู้ควรกรรม ๑ อปโลกน- *กรรม ๕ สถาน ๑ ญัตติกรรม ๙ สถาน ๑ ญัตติทุติยกรรม ๗ สถาน ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๗ สถาน ๑ ความรับว่าดี ๑ ความผาสุก ๑ บุคคลผู้เก้อยาก ๑ ภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ อาสวะ ๑ เวร ๑ โทษ ๑ ภัย ๑ อกุศลธรรม ๑ คฤหัสถ์ ๑ บุคคลผู้ปรารถนาลามก ๑ ชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม ๑ อนุเคราะห์พระวินัย ๑ ปาติโมกขุทเทศ ๑ งดปาติโมกข์ ๑ งดปวารณา ๑ ตัชชนียกรรม ๑ นิยสกรรม ๑ ปัพพาชนีย- *กรรม ๑ ปฏิสารณียกรรม ๑ อุกเขปนียกรรม ๑ ปริวาส ๑ อาบัติเดิม ๑ มานัต ๑ อัพภาน ๑ โอสารณา ๑ นิสสารณา ๑ อุปสมบท ๑ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ ยังมิได้ทรงบัญญัติ ๑ ทรงบัญญัติซ้ำ ๑ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬห- *วินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ เยภุยยสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑ วัตถุ ๑ วิบัติ ๑ อาบัติ ๑ นิทาน ๑ บุคคล ๑ ขันธ์ ๑ สมุฏฐาน ๑ อธิกรณ์ ๑ สมถะ ๑ สังคหะ ๑ ชื่อ ๑ และอาบัติ ๑ ดังนี้แล.
คัมภีร์ปริวาร จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๓๓๐๕-๑๓๓๘๕ หน้าที่ ๕๑๔-๕๑๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=13305&Z=13385&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1362&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1362&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1362&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1362&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1362              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]