ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
สันทิฏฐิกสามัญญผลเทศนา
[๑๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน แม้ข้ออื่น ให้เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่? อาจอยู่ มหาบพิตร แต่ในข้อนี้ อาตมภาพจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัส ตอบตามที่พอพระทัย มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน สมมติว่า มหาบพิตรพึงมี บุรุษเป็นชาวนา เป็นคหบดี ซึ่งเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์อยู่คนหนึ่ง เขาจะมีความคิด เห็นอย่างนี้ว่า คติของบุญ วิบากของบุญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริง พระเจ้าแผ่นดิน มคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตรพระองค์นี้ เป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่พระองค์ ท่านทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณดุจเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นชาวนา เป็นคหบดี ต้องเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ เราพึงทำบุญ จะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละ กองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อยู่สันโดษ ด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวกราชบุรุษพึงกราบทูล พฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทรงทราบเถิด บุรุษผู้เป็นชาวนา เป็นคฤหบดี ซึ่งเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ของพระองค์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เขาเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวม ใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตร จะพึงตรัสอย่างนี้เทียว หรือว่า เฮ้ย เจ้าคนนั้น เจ้าจงมา จงเป็นชาวนา เป็นคหบดีเสียค่าอากร เพิ่มพูนทรัพย์ตามเดิม. จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่จริงหม่อมฉันเสียอีกควรจะไหว้เขา ควรจะลุก รับเขา ควรจะเชื้อเชิญเขาให้นั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนานะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร ควรจะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม. มหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็น ประจักษ์ จะมีหรือไม่? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็นประจักษ์มีอยู่อย่างแน่แท้. ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาตมภาพบัญญัติถวาย มหาบพิตรเป็นข้อที่สอง.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๓๘๖-๑๔๑๓ หน้าที่ ๕๗-๕๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1386&Z=1413&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=101&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=101&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=9&item=101&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=9&item=101&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=101              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]