ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญญูบุรุษ
จะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดงแล้วนั้น.
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวกไหนจะเป็นผู้รู้ทั่วถึง
ธรรมได้?
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส
ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ
เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา
เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการ
ทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ
พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มี-
*พระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ. สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
นั้นเสีย จักไม่มีเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ
ขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่าง
หนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ กีฏาคิริสูตร ที่ ๑๐.
จบ ภิกขุวรรค ที่ ๒.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ
๑. จูฬราหุโลวาทสูตร ๒. มหาราหุโลวาทสูตร ๓. จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร ๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร ๕. ภัททาลิสูตร ๖. ลฑุกิโกปมสูตร ๗. จาตุมสูตร ๘. นฬกปานสูตร ๙. โคลิสสานิสูตร ๑๐. กีฏาคิริสูตร
-----------------------------------------------------
ปริพพาชกวรรค
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๔๒๐๔-๔๒๓๗ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=4204&Z=4237&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=13&item=239&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=13&item=239&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=13&item=239&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=13&item=239&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=239              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_13

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :