ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
             [๓๘๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง ท่านพระพักกุลเถระอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่ออเจละ
กัสสป ผู้เป็นสหายของท่านพระพักกุละ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ในกาลก่อน เข้าไป
หาท่านพระพักกุละถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระพักกุละ ครั้น
ผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอ
นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระพักกุละดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระพักกุละ ท่าน
บวชมานานเท่าไรแล้ว ฯ
             ท่านพระพักกุละตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราบวชมา ๘๐ พรรษาแล้ว ฯ
             อเจล. ข้าแต่ท่านพระพักกุละ ชั่ว ๘๐ ปีนี้ ท่านเสพเมถุนธรรมกี่ครั้ง ฯ
             [๓๘๑] พักกุล. ดูกรกัสสปผู้มีอายุ ท่านไม่ควรถามเราอย่างนั้นเลย
แต่ควรจะถามเราอย่างนี้ว่า ก็ชั่ว ๘๐ ปีนี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นแก่ท่านกี่ครั้ง
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น ชั่วเวลา
๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก
พยาบาทสัญญาเคยเกิดขึ้น ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกพยาบาทสัญญาเคยเกิดขึ้นชั่วเวลา
๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก
วิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้น ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกวิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้นชั่วเวลา ๘๐
พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             [๓๘๒] พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา
เราไม่รู้สึกกามวิตกเคยเกิดขึ้น ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกกามวิตกเคยเกิดขึ้นชั่วเวลา ๘๐
พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก
พยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกวิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้นชั่วเวลา ๘๐
พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             [๓๘๓] พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา
เราไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวรชั่วเวลา ๘๐ พรรษา
นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของท่าน
พระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้จักใช้
ศาตราตัดจีวร ... ไม่รู้จักใช้เข็มเย็บจีวร ... ไม่รู้จักใช้เครื่องย้อมจีวร ... ไม่รู้จัก
เย็บจีวรในสะดึง ... ไม่รู้จักจัดทำจีวรของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วย
กัน ... ไม่รู้สึกยินดีกิจนิมนต์ ... ไม่รู้สึกเคยเกิดจิตเห็นปานนี้ว่า ขอใครๆ พึง
นิมนต์เราเถิด ... ไม่รู้จักนั่งในละแวกบ้าน ... ไม่รู้จักฉันอาหารในละแวกบ้าน ...
ไม่รู้จักถือเอานิมิตของมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ ... ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่มาตุคาม
แม้ที่สุดคาถา ๔ บาท ... ไม่รู้จักเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณี ... ไม่รู้จักแสดงธรรม
แก่ภิกษุณี ... ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สิกขมานา ... ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สามเณรี ...
ไม่รู้จักให้บรรพชา ... ไม่รู้จักให้อุปสมบท ... ไม่รู้จักให้นิสสัย ... ไม่รู้จักใช้
สามเณรอุปัฏฐาก ... ไม่รู้จักอาบน้ำในเรือนไฟ ... ไม่รู้จักใช้จุณอาบน้ำ ... ไม่รู้จัก
ยินดีการนวดฟั้นตัวของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ... ไม่รู้จักเคย
เกิดอาพาธที่สุดแม้ชั่วขณะรีดนมโคสำเร็จ ... ไม่รู้จักฉันยาที่สุดแม้ชิ้นเสมอ ...
ไม่รู้จักอิงพนัก ... ไม่รู้จักสำเร็จการนอน ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้จักสำเร็จการนอนชั่วเวลา ๘๐ พรรษา
นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของท่าน
พระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             [๓๘๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้จักจำ-
*พรรษาในเสนาสนะใกล้เขตบ้าน ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้จักจำพรรษาในเสนาสนะใกล้เขตบ้าน
ชั่วเวลา ๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             พักกุล. ดูกรท่านผู้มีอายุ เราได้เป็นผู้ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ฉันบิณฑบาต
ของชาวแว่นแคว้นเพียง ๗ วันเท่านั้น ต่อวันที่ ๘ พระอรหัตผลจึงเกิดขึ้น ฯ
             อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ได้เป็นผู้ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ฉันบิณฑบาต
ของชาวแว่นแคว้นเพียง ๗ วันเท่านั้น ต่อวันที่ ๘ จึงเกิดพระอรหัตผลขึ้น นี้
พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของ
ท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             [๓๘๕] อเจล. ข้าแต่ท่านพระพักกุละ ขอข้าพเจ้าพึงได้บรรพชา ได้
อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้เถิด ฯ
             ปริพาชกชื่ออเจละ กัสสป ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในพระธรรม
วินัยนี้แล้วแล ก็แหละท่านพระกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ผู้เดียวหลีกออก
ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ไม่ช้าเท่าไร ก็ได้เข้าถึงประโยชน์
ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ อันไม่มี
ประโยชน์อื่นยิ่งกว่า เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบันอยู่ ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งกว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระกัสสป
ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งแล้ว ฯ
             [๓๘๖] ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระพักกุละ ถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุกๆ
หลัง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิดๆ วันนี้จักเป็นวัน
ปรินิพพานของเรา ฯ
             ท่านพระกัสสปกล่าวว่า ข้อที่ท่านพระพักกุละ ถือลูกดาลเข้าไปยังวิหาร
ทุกๆ หลัง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิดๆ วันนี้จักเป็น
วันปรินิพพานของเรา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง ฯ
             [๓๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระพักกุละ นั่งปรินิพพานแล้วในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ฯ
             ท่านพระกัสสปกล่าวว่า ข้อที่ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานแล้วในท่าม
กลางภิกษุสงฆ์ นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่า
อัศจรรย์ของท่านพระพักกุละ อีกประการหนึ่ง ฯ
จบ พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร ที่ ๔
-----------------------------------------------------
๕. ทันตภูมิสูตร (๑๒๕)


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๕๒๘๓-๕๓๗๕ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=5283&Z=5375&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=14&item=380&items=8&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=14&item=380&items=8              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=14&item=380&items=8&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=14&item=380&items=8&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_14

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :