ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สุภาษิตสูตรที่ ๕
[๗๓๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี- *พระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอัน วิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ ๔ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม- *วินัยนี้ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่บุคคลกล่าวดีแล้วอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่บุคคล กล่าวชั่วแล้ว ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็น ธรรม ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาจริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเท็จ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอัน ประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจา ไม่มีโทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน ฯ [๗๓๙] พระผู้มีพระภาค ผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นที่หนึ่ง บุคคล พึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม เป็น ที่สอง บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอัน ไม่เป็นที่รัก เป็นที่สาม บุคคลพึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าว วาจาเท็จ เป็นที่สี่ ดังนี้ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อ ความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เนื้อความนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ [๗๔๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และ ไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคล พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลายชื่นชมแล้ว ไม่ ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชน เหล่าอื่น คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของมีมา แต่เก่าก่อน สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ที่ เป็นอรรถและเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ซึ่ง เป็นวาจาเกษม เพื่อให้ถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ดังนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๑๐๔-๖๑๓๙ หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6104&Z=6139&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=15&item=738&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=15&item=738&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=738&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=15&item=738&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=738              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :