ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อภิสมัยสังยุตต์
พุทธวรรคที่ ๑
๑. เทศนาสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธ- *เจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ฯ [๓] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขาร- *จึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่า- *นั้นมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. วิภังคสูตร
[๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาท นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ [๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ฯ [๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ [๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ [๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา- *เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา ฯ [๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ [๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ @๑. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ ๒. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ ๓. คือเป็น @อุปปาติกปฏิสนธิ ฯ [๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและ รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ฯ [๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ฯ [๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร ฯ [๑๗] ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่ง- *ทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. ปฏิปทาสูตร
[๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา พวกเธอจงฟังปฏิปทาทั้ง ๒ นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิดเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๒๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ นี้เรียกว่ามิจฉาปฏิปทา ฯ [๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน เพราะอวิชชา นั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณ จึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔ วิปัสสีสูตร
[๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าวิปัสสี ก่อน แต่ตรัสรู้ เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้ปริวิตกว่า โลกนี้ถึงความยาก แล้วหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ยังไม่รู้ ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรเล่าความออกจากทุกข์ คือชรา และมรณะนี้ จักปรากฏ ฯ [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความ ปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะย่อมมี เพราะ อะไรเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะ จึงมี ชราและมรณะย่อมมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อภพมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมีเพราะภพ เป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไร หนอมีอยู่อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนา ย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมีเพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะอะไร เป็นปัจจัย ... เมื่อสฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สฬายตนะจึงจะมี สฬายตนะย่อมมีเพราะอะไร เป็นปัจจัย ... เมื่อนามรูปมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูป เป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไร หนอมีอยู่วิญญาณจึงมี วิญญาณย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสี โพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชา มีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรม ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้ ฯ [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความ ปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชรา และมรณะจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะ จึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เมื่อไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ ... เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหา ดับ อุปาทานจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหา จึงดับ ... เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เมื่อ อะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ... เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึง ไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ... เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะ อะไรดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูป ดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ ... เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูป จึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอ ไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับ แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรมที่ไม่ เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. สิขีสูตร - ๙. กัสสปสูตร
[๒๕] พระปริวิตกของพระพุทธเจ้าแม้ทั้ง ๗ พระองค์ ก็พึงให้พิศดาร เหมือนอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง พระนามว่าสีขี ... ทรงพระนามว่าเวสสภู ... ทรงพระนามว่ากกุสันธะ ... ทรงพระ นามว่าโกนาคมนะ ... ทรงพระนามว่ากัสสป ... ๑-
๑๐. มหาศักยมุนีโคตมสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่รู้ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชรา และมรณะนี้ เมื่อไรเล่า ความออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้จักปรากฏ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะ จึงมี ชราและมรณะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเพราะ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะ จึงมี ชราและมรณะย่อมมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อภพมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมีเพราะภพ เป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอ มีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทาน จึงมี อุปาทานย่อมมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหา ย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมีเพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมีเพราะอะไร เป็นปัจจัย ... เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อ สฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไร หนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีย่อมเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อนามรูป มีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอ มีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ นาม รูปจึงมี นามรูปย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณ @๑. เหมือนข้อ ๒๒-๒๔ จึงมี วิญญาณย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตก ดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชามีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนา มาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรม ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้ ฯ [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไร หนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติ ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ... เมื่ออะไร หนอไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ ... เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ... เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ ... เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ... เมื่ออะไร หนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหา จึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ... เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ... เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เมื่ออะไร หนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่อนามรูป ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอ ไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ ... เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูป จึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ ... เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขาร ดับ วิญญาณจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไร หนอไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา นั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้าง ดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบพุทธวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เทศนาสูตร ๒. วิภังคสูตร ๓. ปฏิปทาสูตร ๔. วิปัสสีสูตร ๕. สิขีสูตร ๖. เวสสภูสูตร ๗. กกุสันธสูตร ๘. โกนาคมนสูตร ๙. กัสสปสูตร ๑๐. มหาศักยมุนีโคตมสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
อาหารวรรคที่ ๒
๑. อาหารสูตร
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ [๑] กวฬิงกา- *ราหารหยาบ หรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร [๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิด มาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็น เหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็น แดนเกิด ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็น กำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มี อะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะ เป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ก็สฬายตนะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นที่ตั้งขึ้น มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูป เป็นแดนเกิด ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นที่ตั้งขึ้น มีวิญญาณ เป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มี สังขารเป็นที่ตั้งขึ้น มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ก็สังขารเหล่านี้มี อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นที่ตั้งขึ้น มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี อวิชชาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกอง ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๓๐] ก็เพราะอวิชชานั้นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขาร จึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. ผัคคุนสูตร
[๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ [๑] กวฬิงการาหาร หยาบหรือละเอียด [๒] ผัสสาหาร [๓] มโนสัญเจตนาหาร [๔] วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือ เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ [๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน [วิญญาณา- *หาร] ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน [วิญญาณาหาร] ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมกลืนกิน [วิญญาณาหาร] แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่ออะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้นเกิด มีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ [๓๓] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่าย่อม ถูกต้อง ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง แต่ เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธ เจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้ กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ฯ [๓๔] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ถ้าเรากล่าว ว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ ย่อมเสวยอารมณ์ แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็น ปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ฯ [๓๕] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้าเรากล่าว ว่า ย่อมทะเยอทะยาน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ ย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็น ปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ [๓๖] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น ฯ ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึงกล่าวว่า ย่อมถือมั่น ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธ เจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจง ให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯ [๓๗] ดูกรผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
[๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิด แห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักชาติ ... ไม่รู้จักภพ ... ไม่รู้จักอุปาทาน ... ไม่ รู้จักตัณหา ... ไม่รู้จักเวทนา ... ไม่รู้จักผัสสะ ... ไม่รู้จักสฬายตนะ ... ไม่รู้จัก นามรูป ... ไม่รู้จักวิญญาณ ... ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จัก ความดับแห่งสังขาร ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นจะสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ หาได้ไม่ แลท่านเหล่านั้นมิได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของ ความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้จัก ชราและมรณะ รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ รู้จักความดับแห่งชราและมรณะ รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ รู้จักชาติ ... รู้จักภพ ... รู้จัก อุปาทาน ... รู้จักตัณหา ... รู้จักเวทนา ... รู้จักผัสสะ ... รู้จักสฬายตนะ ... รู้จัก นามรูป ... รู้จักวิญญาณ ... รู้จักสังขาร ... รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร รู้จักความดับ แห่งสังขาร รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่า นั้นแล สมมติได้ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และสมมติได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
[๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้จักธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่ง ธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ แห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้ จักความดับแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่า ไหนคือ ไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักชาติ ... ไม่รู้จักภพ ... ไม่รู้จัก อุปาทาน ... ไม่รู้จักตัณหา ... ไม่รู้จักเวทนา ... ไม่รู้จักผัสสะ ... ไม่รู้จัก สฬายตนะ ... ไม่รู้จักนามรูป ... ไม่รู้จักวิญญาณ ... ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุ เกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับแห่งสังขาร ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ แห่งสังขาร ชื่อว่าไม่รู้จักธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จัก ความดับแห่งธรรมนี้ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น จะสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ หาได้ไม่ และท่านเหล่านั้น มิได้กระทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้จัก ธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จัก ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักธรรมเหล่าไหน รู้จักเหตุเกิดแห่ง ธรรมเหล่าไหน รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่าไหน รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ แห่งธรรมเหล่าไหน คือ รู้จักชราและมรณะ รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ รู้จักความดับแห่งชราและมรณะ รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ รู้จักชาติ ... รู้จักภพ ... รู้จักอุปาทาน ... รู้จักตัณหา ... รู้จักเวทนา ... รู้จักผัสสะ ... รู้จักสฬายตนะ ... รู้จักนามรูป ... รู้จักวิญญาณ ... รู้จักสังขาร รู้จักเหตุเกิดแห่ง สังขาร รู้จักความดับแห่งสังขาร รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร ชื่อว่า รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จัก ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล สมมติได้ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และสมมติได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. กัจจานโคตตสูตร
[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์ เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฐิ ฯ [๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัย ส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑- ๑ ความไม่มี ๒- ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็น ความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่ เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวก นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ [๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุด ข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร ดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. ธรรมกถิกสูตร
[๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า ธรรมกถึก ธรรมกถึก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าธรรมกถึก ฯ [๔๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อ ความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า @๑. สัสสตทิฐิ ๒. อุจเฉททิฐิ ภิกษุธรรมกถึก ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ ความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความหน่าย เพราะความ คลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุ บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. อเจลกัสสปสูตร
[๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือ บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ อเจลกัสสปได้เห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ สถานที่นั้น ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๔๘] ครั้นแล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพเจ้าจะขอ ถามเหตุบางอย่างกะท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมจะทรงกระทำโอกาส เพื่อ ทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ยังมิใช่เวลา จะตอบปัญหา เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ อเจลกัสสปก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพเจ้าจะขอถามเหตุบางอย่างกะท่าน พระโคดม ถ้าท่านพระโคดมจะทรงกระทำโอกาส เพื่อทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ยังมิใช่เวลาตอบปัญหา เรากำลังเข้าไปสู่ ละแวกบ้าน ฯ [๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ก็ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะถามท่านพระโคดมมากนัก ฯ ภ. ดูกรกัสสป ท่านจงถามปัญหาตามที่ท่านจำนงไว้เถิด ฯ ก. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ ฯ ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ ก. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ ก. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านโคดม ฯ ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ ก. ความทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น กระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ ก. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ฯ ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป ฯ ก. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์ ฯ ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่ กัสสป ฯ ก. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ผู้อื่น กระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้า ถามว่า ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์ มีอยู่ กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็น ความทุกข์ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์ อยู่ กัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกความทุกข์ แก่ข้าพเจ้า และขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงความทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วย ฯ [๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป เมื่อบุคคลถืออยู่ว่า นั่น ผู้กระทำ นั่นผู้เสวย [ทุกข์] เราจะกล่าวว่า ทุกข์ตนกระทำเองดังนี้ อันนี้เป็น สัสสตทิฐิไป เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่าผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวย เป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ดังนี้ อันนี้เป็นอุจเฉททิฐิไป ดูกรกัสสป ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละ ดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๕๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระ- *องค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว หวังอยู่ จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคล ฯ อเจลกัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็น อัญญเดียรถีย์หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วหวังอยู่ จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส ๔ ปี เมื่อล่วง ๔ ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด ฯ [๕๒] อเจลกัสสปได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้ว ครั้นท่านกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ก็ท่านกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. ติมพรุกขสูตร
[๕๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชก ชื่อติมพรุกขะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๕๔] ครั้นแล้ว ติมพรุกขปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ ตนกระทำเองหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ฯ ต. สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ฯ ต. สุขและทุกข์ ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านพระโคดม ฯ ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ฯ ต. สุขและทุกข์บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น กระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ ฯ ต. สุขและทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ฯ ภ. สุขและทุกข์ไม่มีหามิได้ สุขและทุกข์มีอยู่ ติมพรุกขะ ฯ ต. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นสุขและทุกข์ ฯ ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นสุขและทุกข์อยู่ ติมพรุกขะ ฯ ต. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ตนกระทำเอง หรือท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สุขและทุกข์ ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สุขและทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่าน พระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่าสุขและทุกข์ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ หรือท่าน พระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สุขและ ทุกข์ไม่มีหรือ ท่านตรัสว่า สุขและทุกข์ไม่มีหามิได้ สุขและทุกข์มีอยู่ ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์หามิได้ เราเห็นสุขและทุกข์อยู่ ติมพรุกขะ ขอท่านพระโคดมจงตรัสบอกสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดม จงทรงแสดงสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้า ฯ [๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรติมพรุกขะ เมื่อบุคคลถืออยู่ว่า นั่นเวทนา นั่นผู้เสวย [เวทนา] ดังนี้ แต่เราไม่กล่าวอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์ ตนกระทำเอง เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่าเวทนาอย่างหนึ่ง ผู้เสวย [เวทนา] เป็นอีกคนหนึ่ง ดังนี้ แต่เราไม่กล่าวอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์ผู้อื่น กระทำให้ ดูกรติมพรุกขะ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะ อวิชชานั่นแหละดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ติมพรุกขปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่าน พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดย อเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอ ท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตจำเดิมแต่- *วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. พาลปัณฑิตสูตร
[๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัย กายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องคนพาล เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ กายนี้ของบัณฑิต ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้วประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูป ในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้อง บัณฑิต เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ ฯ [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น จะแปลกกันอย่างไร จะมีอธิบาย อย่างไร จะต่างกันอย่างไร ระหว่างบัณฑิตกับพาล พวกภิกษุกราบทูลว่า พระพุทธ- *เจ้าข้า ธรรมของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นเดิม มีพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ขอประทานพระวโรกาส เนื้อความแห่ง พระภาษิตนี้ แจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแต่ พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น คนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนพาล ไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไป คนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเขาเข้าถึงกายชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสก- *ปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์ กายนี้ของบัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น บัณฑิตละได้แล้วและตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบัณฑิตได้ ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิต ย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์ อันนี้เป็นความ แปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล กล่าวคือ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. ปัจจัยสูตร
[๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว ฯ [๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ พระตถาคต ทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ๑- ธัมมนิยาม ๒- อิทัปปัจจัย ๓- ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่ง ธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชราและมรณะ ... เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ... เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมี ภพ ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม รูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี สังขาร พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท [๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ... อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ @๑. ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ๒. ความแน่นอนของธรรมดา ๓. มูลเหตุอันแน่นอน @ชิลเดอรส์ [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่งปฏิจจสมุป- *บาทนี้ และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาล เราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า ในอนาคตกาลเราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคต กาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไร หนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า เราเป็น อยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปในที่ไหน ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะ เหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่งปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัย กันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
อาหารวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑ อาหารสูตร ๒ ผัคคุนสูตร ๓ สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๔ สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๕ กัจจานโคตตสูตร ๖ ธรรมกถิก สูตร ๗ อเจลกัสสปสูตร ๘ ติมพรุกขสูตร ๙ พาลบัณฑิตสูตร ๑๐ ปัจจัยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
ทสพลวรรคที่ ๓
๑. ทสพลสูตรที่ ๑
[๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ จึงปฏิญาณฐานะ ของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไปว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้น แห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่ ผลนี้ย่อมมี เพราะการ บังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงบังเกิดขึ้น เมื่อปัจจัยนี้ไม่มีอยู่ ผลนี้ย่อมไม่มี เพราะการดับแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงดับ ข้อนี้คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. ทสพลสูตรที่ ๒
[๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ จึงปฏิญาณ ฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไปว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความ เกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่ง สัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่ง สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่ ผลนี้ย่อมมี เพราะการบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงบังเกิดขึ้น เมื่อปัจจัยนี้ไม่มีอยู่ ผลนี้ ย่อมไม่มี เพราะการดับแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงดับ ข้อนี้คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ ฯ [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ทำให้ตื้นแล้ว เปิดเผยแล้ว ประกาศแล้ว ตัดสมณะขี้ริ้วแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวช ด้วยศรัทธา สมควรแท้เพื่อปรารภความเพียรในธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ทำให้ตื้น เปิดเผย ประกาศ ตัดสมณะขี้ริ้วแล้ว ด้วยความตั้งใจว่า หนัง เอ็น และ กระดูกจงเหลืออยู่ เนื้อเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไปก็ตามที อิฐผลใดที่ จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ ยังไม่บรรลุอิฐผลนั้น จักไม่หยุดความเพียร ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เกียจคร้านอาเกียรณ์ด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ และ ย่อมยังประโยชน์ของตนอันใหญ่ให้เสื่อมเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ ปรารภความเพียร ผู้สงัดจากธรรมอันเป็นบาปอกุศล ย่อมอยู่เป็นสุข และยัง ประโยชน์ของตนอันใหญ่ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบรรลุธรรมอันเลิศ ด้วยธรรมอันเลว ย่อมมีไม่ได้ แต่ว่าการบรรลุธรรมอันเลิศย่อมมีได้ด้วยธรรม อันเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ผ่องใส ควรดื่ม เพราะพระศาสดาอยู่ พร้อมหน้าแล้ว ฯ [๖๗] เพราะเหตุฉะนี้แหละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บรรพชาของเรา ทั้งหลายนี้ จักไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร พวกเราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด สักการะเหล่านั้น ของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเราทั้งหลาย ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อันบุคคลผู้เล็งเห็นประโยชน์ตน สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาท หรือบุคคลผู้เล็งเห็นประโยชน์ผู้อื่น สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึง พร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็หรือว่า บุคคลผู้มองเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย สมควรแท้จริงเพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้ ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้ เราเห็นว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ... ดังนี้เวทนา ... ดังนี้สัญญา ... ดังนี้สังขารทั้งหลาย ... ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับ แห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เรา เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป ๑- เกิดขึ้นแล้ว ญาณ @๑. อรหัตผล ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่ อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่ อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควร กล่าวว่า นิพพิทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า สมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า สุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าวว่า ศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุ ที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็น เหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไร เล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา ควรกล่าวว่า เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า นามรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป ควรกล่าวว่า วิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่า มีเหตุที่ อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าวว่า สังขารทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า อวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย สฬายตนะมีนามรูป เป็นที่อิงอาศัย ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย ชาติมีภพเป็นที่อิงอาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย ความ ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย ปัสสัทธิมีปีติ เป็นที่อิงอาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย สมาธิมีสุขเป็นที่อิงอาศัย ยถาภูตญาณ ทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้น ไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขาระแหงและห้วย ทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนองทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยๆ ให้เต็ม แม่น้ำน้อยๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ๆ ให้เต็ม แม้น้ำใหญ่ๆ เต็ม เปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่ อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. อัญญติตถิยสูตร
[๗๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ได้มีความคิดดังนี้ว่า เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้น แล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๗๒] ท่านพระสารีบุตรพอนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ได้กล่าวกะท่านดังนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติ ว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อม บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ดูกรท่านสารีบุตร ก็ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระสมณโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้ อย่างไร พวกข้าพเจ้าพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระสมณโคดม กล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควร แก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะ ติเตียนได้ ฯ [๗๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะ เกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้ง การคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูกรท่าน ทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม บัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณ- *พราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่น ทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าว กรรมบัญญัติว่าเกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูกรท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวก- *สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขา ย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม บัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึง พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่ มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะจะมีได้ ดังนี้ ฯ [๗๔] ท่านพระอานนท์ได้ยินท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัยกับพวก- *ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตใน พระนครราชคฤห์ ในกาลภายหลังภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูล ถ้อยคำสนทนาของท่านพระสารีบุตรกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ซึ่งได้มีมาแล้ว ทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค ฯ [๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบ ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชน จะติเตียนได้ ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่ง เป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่าตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณ- *พราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าว กรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการ ที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๗๖] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้ กรุงราชคฤห์นี้แหละ ครั้งนั้นแล อานนท์ ในเวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ดูกรอานนท์ เรานั้นได้คิดดังนี้ว่า เวลานี้ ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยัง อารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล อานนท์ เราได้เข้าไปยัง อารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชก- *อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูกรอานนท์ พอเรานั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้นได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าว กรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้กล่าว กรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวก- *หนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเอง กระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ในวาทะทั้ง ๔ นี้ ท่านพระโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้ อย่างไร ข้าพเจ้าทั้งหลายพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่ท่าน พระโคดมกล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดมด้วยคำไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะ ติเตียนได้ ดูกรอานนท์ เมื่อพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้กล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นดังนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย เรา กล่าวว่าทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอัน วิญญูชนจะติเตียนได้ ดูกรท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวก- *สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะ เป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติ ว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่ พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเอง กระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูกรท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พวกสมณพราหมณ์ซึ่ง เป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อม เสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๗๗] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมี พระเจ้าข้า ในการที่เนื้อความทั้งหมดจักเป็นอรรถอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยบทๆ เดียว เนื้อความนี้ เมื่อกล่าวโดยพิสดารจะเป็นอรรถอันลึกซึ้งด้วย เป็นอรรถมี กระแสความอันลึกซึ้งด้วย พึงมีไหมหนอ พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เนื้อความในเรื่องนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเองเถิด ฯ [๗๘] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชน เหล่าอื่นจะพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ชราและมรณะมีชาติ เป็นเหตุ มีชาติเป็นที่ตั้งขึ้น มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ชาติเล่า มี อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ชาติมีภพ เป็นเหตุ มีภพเป็นที่ตั้งขึ้น มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ภพเล่ามีอะไร เป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ภพมี อุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นที่ตั้งขึ้น มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็น แดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็น กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มี ตัณหาเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์ อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไร เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง พยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็น กำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึง ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น ที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ ถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์ว่า ท่านอานนท์ ก็ผัสสะเล่า มีอะไร เป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มี สฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เพราะผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละดับ ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกข- *โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ภูมิชสูตร
[๗๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระภูมิชะ ออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ท่าน สารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตน ทำเอง อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตน ทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อม บัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น กระทำให้ ท่านสารีบุตร ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายตรัสไว้ อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร พวกเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และ พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะ อันวิญญูชนจะติเตียนได้ ฯ [๘๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและ ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มี พระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชน จะติเตียนได้ ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะ อาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติ ว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๘๑] ท่านพระอานนท์ ได้ยิน ท่านพระสารีบุตร สนทนาปราศรัย กับท่าน พระภูมิชะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถ้อยคำ สนทนา ของท่าน พระสารีบุตร กับท่าน พระภูมิชะ เท่าที่มีมาแล้ว ทั้งหมด แด่พระผู้มี พระภาค ฯ [๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัย เหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วย คำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อม เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวก สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง เว้นผัสสะ เสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณ- *พราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ตน เองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๘๓] ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อม บังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็น ภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ ดูกร อานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่ง เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุง แต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่น บ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็น ภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่ง เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่ง วจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง บุคคล รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น บ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน เป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็น ปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรม เหล่านี้ ฯ [๘๔] ดูกรอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ กายซึ่ง เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็น ภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี เขต [ความจงใจเป็นเหตุงอกงาม] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและ ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี วัตถุ [ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน] ซึ่งเป็น ปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี อายตนะ [ความจงใจอัน เป็นปัจจัย] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรือ อธิกรณ์ [ความจงใจอันเป็นเหตุ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน เกิดขึ้น จึงไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. อุปวาณสูตร
[๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ฯ [๘๖] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ ตนทำเอง ส่วนสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณ- *พราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย มีสมณ พราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร ข้าพระองค์พยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และจะพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึง ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ฯ [๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ เรากล่าวทุกข์เป็นของ อาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าว ดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะ อันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูกรอุปวาณะ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณ- *พราหมณ์บัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้ทุกข์ ที่พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูกรอุปวาณะ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อม เสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์ เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. ปัจจยสูตร
[๘๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ๑- ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะ ของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความ แก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความ เคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชรา และมรณะดังพรรณนา มาฉะนี้ เรียกว่าชรามรณะ เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชรามรณะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูป เป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการ เหล่านี้คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับ สังขาร ฯ @๑. เหมือนข้อ ๔-๕ [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น อริยสาวก นี้เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มา ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแส แห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. ภิกขุสูตร
[๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์ นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึง เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่ว ถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึง ผัสสะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึง วิญญาณ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลาย ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯ [๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะ ของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความ แก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความ เคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชรา และมรณะดังพรรณนามานี้ เรียกว่าชรามรณะ เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชรามรณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูป เป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สังขารเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการเหล่านี้ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับสังขาร ฯ [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ อย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรา มรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่ว ถึงชาติอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทานอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหาอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูปอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลายอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึง เหตุเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึง สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
[๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่กำหนดรู้ ชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้ความดับแห่ง ชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนด รู้ชาติ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้ภพ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้อุปาทาน ฯลฯ ย่อมไม่ กำหนดรู้ตัณหา ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้เวทนา ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้ผัสสะ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้สฬายตนะ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้นามรูป ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้ วิญญาณ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้สังขารทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิดแห่ง สังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้ความดับแห่งสังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับแห่งสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ ย่อมไม่ได้รับสมมติ ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านี้ จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์ แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ไม่ได้ ฯ [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมกำหนดรู้ชรามรณะ ย่อมกำหนดรู้เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมกำหนดรู้ความ ดับแห่งชรามรณะ ย่อมกำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมกำ- *หนดรู้ชาติ ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้ภพ ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้อุปาทาน ฯลฯ ย่อมกำหนด รู้ตัณหา ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้เวทนา ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้ผัสสะ ฯลฯ ย่อมกำหนด รู้สฬายตนะ ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้นามรูป ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้วิญญาณ ฯลฯ ย่อม กำหนดรู้สังขารทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมกำหนดรู้ความดับ แห่งสังขาร ย่อมกำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้แล ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และ ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
[๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชรา มรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นชรามรณะได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อม ไม่รู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อม ไม่รู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงสังขาร ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นสังขารทั้งหลายได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งแล ย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมรู้เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรา มรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น จักล่วงพ้นชรามรณะได้ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อมรู้ ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมรู้ ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุ เกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นสังขารทั้งหลายได้ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ทสพลวรรคที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ทสพลสูตรที่ ๑ ๒. ทสพลสูตรที่ ๒ ๓. อุปนิสสูตร ๔. อัญญติตถิยสูตร ๕. ภูมิชสูตร ๖. อุปวาณสูตร ๗. ปัจจยสูตร ๘. ภิกขุสูตร ๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๑๐. สมณพราหมสูณตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
กฬารขัตติยวรรคที่ ๔
๑. ภูตมิทสูตร
[๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า ดูกรสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ใน อชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ๑- และบุคคล ที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดย พิสดารได้อย่างไร ฯ [๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่สอง ฯลฯ แม้ในครั้งที่สอง ท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะท่าน พระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหา ใน ปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคล ที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดาร ได้อย่างไร เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ยังนิ่งอยู่ แม้ ในครั้งที่สาม ฯ @๑. อรรถกถาหมายถึงพระขีณาสพ [๑๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร เธอเห็นไหมว่า นี้คือ ขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดย ชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อม ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิด แล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะ อาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความ กำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดย ชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ อาหารนั้นดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย ความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา พระพุทธ- *เจ้าข้า บุคคลย่อมเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ฯ [๑๐๑] พระพุทธเจ้าข้า บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมเป็นไฉน บุคคลเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็น เช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะ ไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม ความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้น ดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความ กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ใน อชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคล ที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบเนื้อความของคำที่กล่าวไว้โดยย่อนี้ โดย พิสดารอย่างนี้แล ฯ [๑๐๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกละๆ สารีบุตร บุคคลเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้น แล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธ- *ปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้ เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย ความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญา โดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ ความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ คลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูกร สารีบุตร บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล ฯ [๑๐๓] ดูกรสารีบุตร ก็บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วเป็นไฉน ดูกร สารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่ เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความ กำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็น เช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะ ความดับ เพราะความไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วเพราะอาหาร ย่อมเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็น ธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะ ความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธ- *ปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูกรสารีบุตร บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหาในปรายนวรรคว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ ยังเป็นเสขะบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความ ประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ฯ ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดาร ได้อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. กฬารขัตติยสูตร
[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล กฬารขัตติยภิกษุเข้าไปหาท่าน พระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่าน พระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โมลิยผัคคุณภิกษุได้ลาสิกขา เวียนมา ทางฝ่ายต่ำเสียแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านโมลิยผัคคุณะนั้นคงไม่ได้ความพอใจใน พระธรรมวินัยนี้เป็นแน่ ฯ ก. ถ้าเช่นนั้น ท่านพระสารีบุตรคงได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้ กระมัง ฯ สา. ท่านผู้มีอายุ ผมไม่มีความสงสัยเลย ฯ ก. ท่านผู้มีอายุ ก็ต่อไปเล่า ท่านไม่สงสัยหรือ ฯ สา. ท่านผู้มีอายุ ถึงต่อไปผมก็ไม่สงสัยเลย ฯ [๑๐๕] ลำดับนั้น กฬารขัตติยภิกษุลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรอวดอ้างพระอรหัตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ไม่มี ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า มานี่แน่ะภิกษุ เธอจง ไปเรียกสารีบุตรมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งเรียกหาท่าน ฯ ภิกษุนั้นรับพระพุทธพจน์แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้ว เรียนต่อท่านว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกหาท่าน ฯ ท่านพระสารีบุตรรับคำของภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฯ [๑๐๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร เขาว่าเธออวดอ้าง อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี ดังนี้ จริงหรือ ฯ ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อ ความตามบท ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่ ฯ ภ. ดูกรสารีบุตร กุลบุตรย่อมอวดอ้างอรหัตผลโดยปริยายอย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลทั้งหลายก็ต้องเห็นอรหัตผลที่อวดอ้างไปแล้ว โดยความเป็นอันอวดอ้าง ฯ สา. พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์ก็ได้กราบทูลไว้อย่างนี้มิใช่หรือว่า ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อความตามบท ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่ ฯ ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงอวดอ้างอรหัตผลว่า เราย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอ พึงพยากรณ์อย่างไร ฯ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี เพราะรู้ได้ว่า เมื่อปัจจัยแห่งชาติสิ้นแล้ว เพราะปัจจัยอันเป็นต้นเหตุสิ้นไป ชาติจึงสิ้นไป พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ ฯ [๑๐๗] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็ชาติมีอะไร เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถาม เช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็น แดนเกิด ฯ [๑๐๘] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อ ถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นสมุทัย มีอุปาทานเป็นกำเนิด มี อุปาทานเป็นแดนเกิด ฯ [๑๐๙] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็อุปาทาน เล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นกำเนิด มี ตัณหาเป็นแดนเกิด ฯ [๑๑๐] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็ตัณหา เล่ามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นกำเนิด มี เวทนาเป็นแดนเกิด ฯ [๑๑๑] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็เวทนา เล่ามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร ฯ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะ เป็นแดนเกิด ฯ [๑๑๒] ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ท่านรู้ เห็นอย่างไร ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง พยากรณ์อย่างไร ฯ ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ว่า เวทนา ๓ เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขม- *สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ความเพลิดเพลิน ในเวทนาจึงไม่ปรากฏ ฯ [๑๑๓] ถูกละๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ ได้ใจความดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น ดูกรสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร ท่านจึงอวดอ้าง อรหัตผลว่า ท่านรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง พยากรณ์อย่างไร ฯ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายย่อมไม่ครอบงำท่านผู้มีสติอยู่อย่างใด ข้าพเจ้าก็เป็นผู้มี สติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน เพราะอุปาทานทั้งปวงสิ้นไป ทั้ง ข้าพเจ้าก็มิได้ดูหมิ่นตนเองด้วย พระพุทธเจ้าข้า เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึง พยากรณ์อย่างนี้ ฯ [๑๑๔] ถูกละๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ ได้ใจความดังนี้ว่า อาสวะเหล่าใดอันพระสมณะกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าไม่สงสัย ไม่ เคลือบแคลง ในอาสวะเหล่านั้นว่า อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้าละได้แล้วหรือยัง ฯ ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตตรัสดังนี้แล้ว เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ฯ [๑๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปแล้วไม่นานนัก ท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ถามปัญหาข้อแรกกะผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้า พระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมตลอดทั้งวันด้วยบทอื่นๆ ด้วย ปริยายอื่นๆ แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้น กะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อ นั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืน หาก พระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบท อื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถาม ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสองคืนสองวัน แม้ผม ก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสองคืนสองวัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบท อื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสามคืนสามวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวาย พระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสามคืนสามวัน หาก พระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบท อื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความ ข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน แม้ผมก็พึงทูล ตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอด ห้าคืนห้าวัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดหกคืนหกวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี พระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดหกคืนหกวัน หากพระผู้มี พระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอด เจ็ดคืนเจ็ดวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน ฯ [๑๑๖] ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่าน พระสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามปัญหา ข้อแรกกะผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อ พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระผู้มี พระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมตลอดทั้งวันด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาค ได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัส ถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน แม้ผม ก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบท อื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสองคืนสองวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้น ถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสองคืนสองวัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสามคืนสามวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วย บทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึง ตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน แม้ ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี- *พระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน หากพระผู้มีพระภาค จะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดหกคืนหก วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยาย อื่นๆ ตลอดหกคืนหกวัน หากพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วย บทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้น ถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน ฯ [๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ก็เพราะธรรมธาตุอันสารีบุตร แทงตลอดดีแล้ว แม้หากว่าเราจะพึงถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วย ปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราด้วยบท อื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตร ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสองคืนสองวัน สารีบุตรก็คงตอบความ ข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสองคืนสองวัน หากเรา จะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสามคืนสาม วัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วย ปริยายอื่นๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบท อื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เรา ได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน หากเราจะถามความข้อนั้น กะสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดหกคืนหกวัน สารีบุตรก็คง ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดหกคืนหกวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอด เจ็ดคืนเจ็ดวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยาย อื่นๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน ฯ
จบสูตรที่ ๒
ญาณวัตถุสูตรที่ ๑
[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๔๔ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังซึ่งญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉน คือความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและ มรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง ชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง ชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ ความรู้ในความ ดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ใน เหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิด แห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความ ดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ใน ความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับ แห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ใน วิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่ง วิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขาร ทั้งหลาย ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในความดับแห่ง สังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะ ของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความ แก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่ง อินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็น ชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายาม ชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ ดับชราและมรณะ ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและ มรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วย ธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้ ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชรา และมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับ แห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือน อย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑- อันวย- *ญาณ ๒- ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคล ผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ภพเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ... ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ... สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ @๑. มรรคญาณ ฯ ๒. ผลญาณ ฯ จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชา ดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความ ดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริย- *สาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือ พราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาล แม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่ เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวย- *ญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชา ของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคล ผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. ญาณวัตถุสูตรที่ ๒
[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี- *พระภาคแล้ว ฯ [๑๒๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะ จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของชาตินั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพ ไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคต- *กาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทาน ไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอุปาทานนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ ของตัณหานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนา ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ เวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึง ไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ ของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูป ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ใน อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ วิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็น ธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ สังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสังขารนั้น มีความสิ้น ความ เสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ ของอวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑
[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน- *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯ [๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้- *มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้ เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใด พึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพ ก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ [๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติ เป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียว กัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระ อย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ฯ [๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็น อย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระ อย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดง ธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัย จึงมีภพ ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ... เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ฯ [๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึง กล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มี เนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมี ทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ [๑๓๓] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคล เสพผิด ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะเป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระ ก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวก นั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มี อันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ [๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคล เสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็น อย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพ อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัด- *รากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ ฯ [๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคล เสพผิด ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็น อย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่าง หนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดราก ขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ... อุปาทานเป็นไฉน ... ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ [๑๓๖] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคล เสพผิด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขาร เป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีก ต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
จบ สูตรที่ ๕
๖. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๒
[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึง มีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯ [๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และ ชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะ นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เท่านั้น เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติ- *พรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา- *มรณะ ฯลฯ ชาติเป็นไฉน ... ภพเป็นไฉน ... อุปาทานเป็นไฉน ... ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และ สังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของ ผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะ ส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อัน บุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะเป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อัน อริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความ ไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่ เหลือ ฯ [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อัน บุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติ เป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพ อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีก ต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯลฯ ภพเป็นไฉน ... อุปาทานเป็นไฉน ... ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็น ไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณ เป็นไฉน ... ฯ [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อัน บุคคลเสพติด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละ ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่ เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
จบ สูตรที่ ๖
๗. นตุมหากํสูตร
[๑๔๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ เป็นที่ตั้งของ เวทนา ฯ [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในเรื่องกายนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย ซึ่งปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบ สูตรที่ ๗
๘. เจตนาสูตรที่ ๑
[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัย เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ มีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือ ภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสก- *ปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม มีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่ เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบ สูตรที่ ๘
๙. เจตนาสูตรที่ ๒
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็น อารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่ง วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูป จึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะ ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทว- *ทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความ ตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลง แห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น ปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อ ไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบ สูตรที่ ๙
๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อม เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมี ตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติ และอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิด ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จง ใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อ มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา คติในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อไม่มี คติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและ มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
จบ สูตรที่ ๑๐
กฬารขัตติยวรรคที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ภูตมิทสูตร ๒. กฬารขัตติยสูตร ๓. ญาณวัตถุสูตรที่ ๑ ๔. ญาณวัตถุสูตรที่ ๒ ๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑ ๖. อวิชชา ปัจจยสูตรที่ ๒ ๗. นตุมหากํสูตร ๘. เจตนาสูตรที่ ๑ ๙. เจตนาสูตรที่ ๒ ๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓ ฯ
-----------------------------------------------------
คหบดีวรรคที่ ๕
๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑
[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น นั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกร คฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวก ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่าง ประเสริฐ อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน สิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ [๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้ ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อม เสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวก ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพ ภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัส บ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัส บ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเม- *สุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะมุสาวาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วย อาการอย่างนี้ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิก ทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว ฯ [๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของ คำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็น นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรม เป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอด ดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ อุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะ อวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะ ดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐ นี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ [๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบ แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย ปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้น แล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้น แล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๒
[๑๕๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวก ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่าง ประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้น หวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ [คำทั้งปวง เป็นต้นว่า "ภิกขเว" ควรให้พิสดาร] [๑๕๗] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อม เสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวก ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์ ... บุคคล ผู้ประพฤติผิดในกาม ... บุคคลผู้พูดเท็จ ... บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว [๑๕๘] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... และ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา ... ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่ง โสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ [๑๕๙] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด ดีแล้วด้วยปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ ไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดี ฯลฯ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ฯ [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ ของอริยสาวก สงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราย่อมเป็นผู้ มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราย่อมเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. ทุกขนิโรธสูตร
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิด ขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุม แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ ฯ [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัย จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว- *ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ ชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับ แห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. โลกนิโรธสูตร
[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิด และความดับแห่งโลก ๑- เธอทั้งหลายจงฟัง ... ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งโลก เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความเกิดแห่งโลก เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและ ธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ @๑. สังขารโลก ฯ ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน เพราะอาศัย จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว- *ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ญาติกสูตร
[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่คิญชกาวาส [มหาปราสาทที่สร้าง ด้วยอิฐ] ใกล้บ้านพระญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่ลับทรงเร้น อยู่ ได้ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความ ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและ เสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกาย และโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุม แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๖๗] เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่ง ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและเสียง ฯลฯ เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้น เทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๖๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอได้ฟังธรรมปริยาย นี้หรือ ภิกษุนั้นทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ภิกษุเธอจงศึกษาเล่าเรียน ทรงจำธรรมปริยายนี้ ธรรมปริยายนี้ประกอบ ด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. อัญญตรสูตร
[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๑๗๐] พราหมณ์นั้น ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผลหรือหนอ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ โวหารนี้ว่า คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผล เป็นส่วนสุด ที่หนึ่ง พราหมณ์นั้นทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญ ก็คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผล หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ โวหารนี้ว่า คนอื่นทำเหตุ คนอื่น เสวยผลเป็นส่วนสุดที่สอง ดูกรพราหมณ์ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ ฯ [๑๗๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระองค์ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. ชาณุสโสณิสูตร
[๑๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชาณุสโสณีเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฯ [๑๗๓] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วชาณุสโสณีพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มี- *พระภาคว่า พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือหนอแล ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ โวหารนี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง ฯ ชา. พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ โวหารนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ เป็นส่วนสุดที่สอง ดูกรพราหมณ์ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็ เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณ จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๗๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณีพราหมณ์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คน หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. โลกายติกสูตร
[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ [๑๗๖] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคว่า พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือหนอ ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่นี้ เป็นทิฐิว่าด้วยความสืบต่อ แห่งโลกที่หนึ่ง ฯ โล. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่นี้ เป็นทิฐิว่าด้วยความ สืบต่อแห่งโลกที่สอง ฯ โล. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันหรือ ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันนี้ เป็น ทิฐิว่าด้วยความสืบต่อแห่งโลกที่สาม ฯ โล. พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันหรือ ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันนี้เป็นทิฐิว่าด้วย ความสืบต่อแห่งโลกที่สี่ ดูกรพราหมณ์ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้า ใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้ ฯ [๑๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โลกายติกพราหมณ์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คน หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. อริยสาวกสูตรที่ ๑
[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี อะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี นามรูป จึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนา จึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี ฯ [๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณ หยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อวิญญาณมีนามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อ สฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อ ชาติมี ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิด ขึ้นอย่างนี้ ฯ [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมไม่มีความสงสัย อย่างนี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เมื่อ อะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึง ไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ฯ [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณ หยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึง ไม่มี ฯลฯ อุปาทานจึงไม่มี ... ภพจึงไม่มี ... ชาติจึงไม่มี เมื่อชาติไม่มี ชราและ มรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับอย่างนี้ ฯ [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและ ความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วย วิชชาอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญา เครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. อริยสาวกสูตรที่ ๒
[๑๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี อะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี สังขาร จึงมี เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะ จึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่อ อะไรมี ชราและมรณะจึงมี ฯ [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณ หยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี เมื่อ วิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะ จึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทาน จึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะ จึงมี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯ [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมไม่มีความสงสัยอย่าง นี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เมื่อ อะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี นาม รูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่อ อะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ฯลฯ อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ฯ [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้สดับย่อมมีญาณหยั่งรู้ ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่ง นี้จึงดับ เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่อ วิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ เมื่อชาติ ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับ อย่างนี้ ฯ [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงทั้งเหตุเกิด และความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วย วิชชาอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญา เครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
คหปติวรรคที่ ๕ จบ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑ ๒. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๒ ๓. ทุกขนิโรธสูตร ๔. โลกนิโรธสูตร ๕. ญาติกสูตร ๖. อัญญตรสูตร ๗. ชาณุสโสณิสูตร ๘. โลกายติกสูตร ๙. อริยสาวกสูตรที่ ๑ ๑๐. อริยสาวกสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
ทุกขวรรคที่ ๖
๑. ปริวีมังสนสูตร
[๑๘๘] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระ- *พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ภิกษุเมื่อพิจารณา พึงพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มี พระภาคเป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ได้โปรด เถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๑๘๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่างๆ มากมาย เกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มี อะไรเป็นแดนเกิดหนอแล เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชรา และมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ทุกข์คือชราและมรณะ มีประการต่างๆ มากมาย เกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้แลมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็น สมุทัย มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชราและมรณะ ย่อม รู้ประจักษ์เหตุเกิดชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชราและมรณะ ย่อม รู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียก ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับ แห่งชราและมรณะ ฯ [๑๙๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ชาตินี้มี อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อ อะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประ จักษ์ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชาติ ย่อมรู้ ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทา อันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติ ธรรมอันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดย ประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชาติ ฯ [๑๙๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็ภพนี้มี อะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สฬายตนะนี้มีอะไร เป็นเหตุ ฯลฯ ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน เกิด เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา ย่อมรู้ประจักษ์ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็น กำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความ ดับแห่งสังขาร และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่ เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้า ถึงบาป ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา ฯ [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่ สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุนั้นถ้า เสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนา นั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึด ถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยอทุกขมสุข- *เวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้นเบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะ ความแตกแห่งกาย ฯ [๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่ พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏ ทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทาง ชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอัน ตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุ ผู้ขีณาสพพึงทำกรรมเป็นบุญบ้าง ทำกรรมเป็นบาปบ้าง ทำกรรมเป็นอเนญชาบ้าง หรือหนอ ฯ ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับ วิญญาณพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะวิญญาณ ดับ นามรูปพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับ เวทนาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับ อุปาทานพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทาน ดับ ภพพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติ พึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชรา- *และมรณะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๑๙๕] ดีละๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้นไว้ อย่างนั้นเถิด พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลง สงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็นที่สุดทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. อุปาทานสูตร
[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกอง- *ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบ เล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษ ใส่หญ้าแห้ง ใส่โคมัยแห้ง และใส่ไม้แห้ง ในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อ เป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอด กาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรม ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับไป เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบ เล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษ ไม่ใส่หญ้าแห้ง ไม่ใส่โคมัยแห้ง และไม่ใส่ไม้แห่งในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะ ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น ไม่มีอาหาร พึงดับไป เพราะ สิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเห็น โทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. ปฐมสังโยชนสูตร
[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑-๒๓๑๕ หน้าที่ ๑-๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1&Z=2315&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=16&item=1&items=727              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=16&item=1&items=727&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=1&items=727              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=16&item=1&items=727              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_16

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :