ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สารูปสูตร
[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอัน สมควรแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญว่า จักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูป ... ในรูป ... แต่รูป ... ว่า รูปของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ... ในจักษุวิญญาณ ... แต่ จักษุวิญญาณ ... ว่า จักษุวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญจักษุสัมผัส ... ในจักษุ สัมผัส ... แต่จักษุสัมผัส ... ว่า จักษุสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญสุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ... ในเวทนา นั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ... ในใจ ... แต่ใจ ... ว่า ใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ... แต่ธรรมารมณ์ ... ว่า ธรรมารมณ์ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ... ใน มโนวิญญาณ ... แต่มโนวิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๑.

มโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... แต่มโนสัมผัส ... ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่ สำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ย่อมไม่ สำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ... ในสิ่งทั้งปวง ... แต่สิ่งทั้งปวง ... ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่ สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติที่สมควรแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิ ฯ
จบสูตรที่ ๘


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๒๘-๔๕๒ หน้าที่ ๒๐-๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=428&Z=452&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=18&item=33&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=18&item=33&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=33&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=18&item=33&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=33              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :