ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
             [๓๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่า
มหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
จากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๖.

ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ [๓๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล ฯ [๓๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ฯลฯ ในการพูด ในการนิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะรอกาล เวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ [๓๘๕] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า สุขเวทนา เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็สุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัย อะไร อาศัยผัสสะนี้เอง ก็แต่ว่าผัสสะนี้ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย เกิดขึ้น ก็สุขเวทนาซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วแก่เรา จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความ ดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณา เห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณา เห็นความสละคืน ในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและ ในสุขเวทนาเสียได้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๗.

[๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ มีสัมปชัญญะ เป็นผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็อทุกขมสุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้แลบังเกิดขึ้น ก็ผัสสะนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนา นั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้า เสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่า หมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลส เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย ทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย อทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย เวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด รู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จัก เป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ [๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมัน และไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อม รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๘
อนิจจสูตร


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๕๗๐๗-๕๗๕๖ หน้าที่ ๒๔๕-๒๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5707&Z=5756&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=18&item=382&items=6&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=18&item=382&items=6&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=382&items=6&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=18&item=382&items=6&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=382              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :