ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๒
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
นิสสัคคิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ ๑- เขตพระนคร เวสาลี. ครั้งนั้น พระองค์ทรงอนุญาตไตรจีวรแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้ มีพระภาคทรงอนุญาตไตรจีวรแล้ว จึงครองไตรจีวร เข้าบ้านสำรับหนึ่ง อยู่ในอารามอีกสำรับหนึ่ง สรงน้ำอีกสำรับหนึ่ง. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ทรงจีวร เกินหนึ่งสำรับเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. @๑. วิหารที่เขาสร้างไว้ ณ เจติยสถานของโคตมยักษ์
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอทรง จีวรเกินหนึ่งสำรับ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ทรงจีวร เกินหนึ่งสำรับเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอ นั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชน บางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ- *คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐.๑. อนึ่ง ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
พระอนุบัญญัติ
เรื่องพระอานนท์
[๒] ก็โดยสมัยนั้นแล อติเรกจีวรที่เกิดแก่ท่านพระอานนท์มีอยู่ และท่านประสงค์จะ ถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต จึงท่านพระอานนท์มีความ ปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกจีวร ก็นี่อติเรกจีวร บังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวายแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต เราจะพึง ปฏิบัติอย่างไรหนอ ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร สารีบุตรจึงจักกลับมา? พระอานนท์กราบทูลว่า จักกลับมาในวันที่ ๙ หรือวันที่ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงอนุญาตอติเรกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง. อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๐.๑. ก. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึงทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอานนท์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓] บทว่า จีวรสำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้วก็ดี หายเสียก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำจีวรก็ดี. คำว่า กฐิน ... เดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอันหนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง. บทว่า ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก. ที่ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป. ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้อง- *วิกัปเป็นอย่างต่ำ. คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่ออรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
[๔] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
[๕] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้ง หลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
[๖] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวร ผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗] จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๘] ในภายใน ๑๐ วัน ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัปไว้ ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวก เธอไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงไม่ให้คืน จีวรที่เสียสละเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวก เธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของ ชุมชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงอนุญาตให้คืนจีวรที่เสียสละ
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล จะไม่ คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบท. ผ้าสังฆาฏิเหล่านั้นถูกเก็บไว้นาน ก็ขึ้นราตกหนาว ภิกษุทั้งหลายจึงผึ่งผ้าสังฆาฏิเหล่านั้น. ท่านพระอานนท์เที่ยวตรวจดูเสนาสนะ ได้พบภิกษุเหล่านั้นกำลังผึ่งผ้าสังฆาฏิอยู่ ครั้น แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ถามว่าจีวร ที่ขึ้นราเหล่านี้ของใคร? จึงภิกษุเหล่านั้นแจ้งความนั้นแก่ท่านพระอานนท์แล้ว. ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ฝากผ้าสังฆาฏิ ไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุ ทั้งหลาย ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่ จาริกในชนบท จริงหรือ? ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๑.๒. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตร จีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วย ประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุอาพาธ
[๑๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี. พวกญาติส่งทูต ไปในสำนักภิกษุนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจักพยาบาล แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า ไปเถิดท่าน พวกญาติจักพยาบาลท่าน. เธอตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย ไว้ว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร ผมกำลังอาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ ผมจักไม่ไปละ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ เพื่อ ไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุผู้อาพาธ ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้:-
วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้อาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำ ไตรจีวรไปด้วยได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตร- *จีวรต่อสงฆ์ ดังนี้ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ ไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์. ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร แก่ ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ ไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์. สงฆ์ให้ สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติเพื่อไม่เป็นการ การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๑.๒. ก. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจาก ไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒] บทว่า จีวร ... สำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้วก็ดี หายเสีย ก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำจีวรก็ดี. คำว่า กฐินเดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอันหนึ่ง ในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง. คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากผ้าสังฆาฏิก็ดี จากผ้าอุตราสงค์ก็ดี จากผ้าอันตรวาสกก็ดี แม้คืนเดียว. บทว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ. บทว่า เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำจะสละ พร้อมกับเวลาอรุณขึ้น ต้องเสียสละ แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้ง- *หลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
มาติกา
[๑๓] บ้าน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง เรือน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง โรงเก็บของ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ป้อม มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง เรือนยอดเดียว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ปราสาท มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ทิมแถว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง เรือ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง หมู่เกวียน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ไร่นา มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ลานนวดข้าว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง สวน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง วิหาร มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง โคนไม้ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ที่แจ้ง มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
มาติกาวิภังค์
[๑๔] บ้าน ที่ชื่อว่า มีอุปจารเดียว คือเป็นบ้านของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม. ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในบ้าน ต้องอยู่ภายในบ้าน. เป็นบ้านไม่มีเครื่องล้อม. ภิกษุเก็บจีวรไว้ใน เรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. ที่ชื่อว่า มีอุปจารต่าง คือเป็นบ้านของ ต่างสกุล และมีเครื่องล้อม. ภิกษุเก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือในห้องโถง หรือที่ริมประตูเรือน หรือไม่ละจากหัตถบาส. เมื่อจะไปสู่ห้องโถง ต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาส แล้วอยู่ในห้องโถง หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เก็บจีวรไว้ในห้องโถง ต้องอยู่ ในห้องโถง หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นบ้านไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ใน เรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๕] เรือน ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บ จีวรไว้ภายในเรือน ต้องอยู่ภายในเรือน. เป็นเรือนที่ไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. เรือนของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็ก ห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจาก หัตถบาส. เป็นเรือนไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจาก หัตถบาส. [๑๖] โรงเก็บของ ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในโรงเก็บของ ต้องอยู่ภายในโรงเก็บของ. เป็นโรงไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวร ไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. โรงเก็บของ ของต่างสกุล และมี เครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นโรงไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๗] ป้อม ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในป้อม ต้องอยู่ภายในป้อม. ป้อมของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๘] เรือนยอดเดียว ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือนยอดเดียว ต้อง อยู่ภายในเรือนยอดเดียว. เรือนยอดเดียวของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ใน ห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๙] ปราสาท ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในปราสาท ต้องอยู่ภายใน ปราสาท. ปราสาทของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ใน ห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๐] ทิมแถว ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในทิมแถว ต้องอยู่ภายใน ทิมแถว. ทิมแถวของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ใน ห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๑] เรือ ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือ ต้องอยู่ภายในเรือ. เรือ ของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ภายในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๒] หมู่เกวียน ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ไม่พึงละอัพภันดร ด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านละ ๗ อัพภันดร ด้านข้างด้านละ ๑ อัพภันดร. หมู่เกวียนของ ต่างสกุล เก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๓] ไร่นา ของสกุลเดียวและมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตไร่นา ต้องอยู่ภายในเขตไร่นา เป็นไร่นาไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. ไร่นาของต่างสกุลและ มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภายในเขตไร่นา ต้องอยู่ภายในเขตไร่นา หรือที่ริมประตู หรือไม่ละ- *จากหัตถบาส. เป็นเขตไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๔] ลานนวดข้าว ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายใน เขตลานนวดข้าว ต้องอยู่ภายในเขตลานนวดข้าว. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจาก- *หัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างสกุลและมีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภายในเขตลานนวดข้าว ต้อง อยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๕] สวน ของสกุลเดียวและมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตสวน ต้องอยู่ภายในเขตสวน. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. สวนของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภายในเขตสวน ต้องอยู่ที่ริมประตูสวน หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๖] วิหาร ของสกุลเดียวและมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตวิหาร ต้องอยู่ภายในเขตวิหาร. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. วิหารของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม เก็บ จีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๗] โคนไม้ ของสกุลเดียว กำหนดเอาเขตที่เงาแผ่ไปโดยรอบในเวลาเที่ยง ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตเงา ต้องอยู่ภายในเขตเงา. โคนไม้ของต่างสกุล ไม่พึงละจาก หัตถบาส. [๒๘] ที่แจ้ง ที่ชื่อว่า มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง คือ ในป่าหาบ้านมิได้ กำหนด ๗ อัพภันดรโดยรอบ จัดเป็นอุปจารเดียว พ้นไปนั้น จัดเป็นอุปจารต่าง.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๒๙] จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสงสัย เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุสำคัญว่าสละให้ไปแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๓๐] ภิกษุไม่สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๑] ในภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุได้รับสมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๓๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น อกาลจีวรเกิดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เธอจะทำจีวร ก็ไม่พอ จึงเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตาม เสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเธอเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง จึงเสด็จเข้าไปหา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอจุ่มจีวรนี้ลงในน้ำแล้วดึงเป็นหลายครั้ง เพื่อประสงค์อะไร? ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า อกาลจีวรผืนนี้เกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า จะทำจีวรก็ไม่พอ เพราะ ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้จุ่มจีวรนี้ตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็เธอยังมีหวังจะได้จีวรมาอีกหรือ? ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงอนุญาตอกาลจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอกาลจีวร แล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม. [๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับ อกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม จึงรับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน หนึ่งเดือน. จีวรเหล่านั้นเธอห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง. ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ ได้เห็นจีวรเหล่านั้น ซึ่งภิกษุทั้งหลาย ห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง. ครั้นแล้วจึงถามภิกษุทั้งหลายว่า จีวรเหล่านี้ของใครห่อแขวนไว้ที่ สายระเดียง? ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อกาลจีวรเหล่านี้ของพวกกระผม พวกกระผมเก็บไว้ โดยมีหวัง ว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม. อา. เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว? ภิ. นานกว่าหนึ่งเดือน ขอรับ. ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้รับอกาลจีวร แล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุ รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุ- *โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือนเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๒.๓. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ เมื่อความ หวังว่าจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยัง บกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ ก็เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔] บทว่า จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้วก็ดี หายเสียก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำจีวรก็ดี. คำว่า กฐินเดาะเสียแล้ว คือเดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอันหนึ่งในมาติกา ๘ หรือ สงฆ์เดาะเสียในระหว่าง. ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ผ้าที่เมื่อไม่ได้กรานกฐินเกิดได้ตลอด ๑๑ เดือน เมื่อได้ กรานกฐินแล้ว เกิดได้ตลอด ๗ เดือน แม้ผ้าที่เขาเจาะจงให้เป็นอกาลจีวรถวายในกาล นี่ก็ ชื่อว่าอกาลจีวร. บทว่า เกิดขึ้น คือ เกิดแต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตรก็ตาม แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม. [๓๕] บทว่า หวังอยู่ คือ เมื่อต้องการ ก็พึงรับไว้. คำว่า ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ คือ พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน [๓๖] พากย์ว่า ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ คือ จะทำไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไม่เพียงพอ. พากย์ว่า ภิกษุนั้นจึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง คือ เก็บไว้ได้เดือน หนึ่งเป็นอย่างนาน. คำว่า เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน คือ เพื่อประสงค์จะยังจีวรที่บกพร่องให้ บริบูรณ์. พากย์ว่า เพื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ คือ มีความหวังว่าจะได้มาแต่สงฆ์ก็ตาม แต่ คณะก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตรก็ตาม แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม.
จีวรที่มีหวัง
[๓๗] พากย์ว่า ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ อธิบายว่า จีวรเดิมเกิดขึ้นในวันนั้น จีวรที่หวังก็เกิดในวันนั้น พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน จีวรเดิมเกิดได้ ๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๑ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๑๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๑ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๙ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๘ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๗ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๖ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๕ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๔ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๓ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๒ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๒๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑ วัน. จีวรเดิมเกิดได้ ๓๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงอธิษฐาน พึงวิกัปไว้ พึงสละให้ผู้อื่นไป ในวันนั้นแหละ. ถ้าไม่อธิษฐาน ไม่วิกัปไว้ หรือไม่สละให้ผู้อื่นไป เมื่ออรุณที่ ๓๑ ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้;-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ อกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้. [๓๘] เมื่อจีวรเดิมเกิดขึ้นแล้ว จีวรที่หวังจึงเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกัน และราตรี ยังเหลืออยู่ ภิกษุไม่ต้องการ ก็ไม่พึงให้ทำ.
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๓๙] จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุสำคัญว่าสละให้ไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๔๐] จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรยังไม่ล่วง เดือนหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุ สงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๑] ในภายในหนึ่งเดือน ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัปไว้ ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระอุทายี
[๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถปิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ปุราณาทุติยิกาของท่านพระอุทายี บวชอยู่ ในสำนักภิกษุณี นางมายังสำนักท่านพระอุทายีเสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปยังสำนักภิกษุณีนั้น เสมอ และบางครั้งก็ฉันอาหารอยู่ในสำนักภิกษุณีนั้น. เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครอง อันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปหาภิกษุณีนั้นถึงสำนัก ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิด เบื้องหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าท่านพระอุทายี ท่านพระอุทายีมีความกำหนัด ได้เพ่งดูองค์กำเนิดของนาง อสุจิได้เคลื่อนจากองค์กำเนิดของ ท่านพระอุทายี ท่านพระอุทายีได้พูดกะนางว่า ดูกรน้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะซักผ้า อันตรวาสก นางบอกว่า ส่งมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันเองจักซักถวาย. ครั้นแล้วนางได้ดูดอสุจินั้นของท่าน ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้สอดเข้าไปในองค์กำเนิด นางได้ตั้งครรภ์เพราะเหตุนั้นแล้ว. ภิกษุณีทั้งหลายได้พูดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุณีรูปนี้มิใช่พรหมจารินี ภิกษุณีรูปนี้จึงมีครรภ์. นางพูดว่า แม่เจ้า ดิฉันมิใช่พรหมจารินีก็หาไม่ ครั้นแล้วนางได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย. ภิกษุณีทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้ให้ ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วแจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่าเธอให้ภิกษุณี ซักจีวรเก่า จริงหรือ? ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. นางเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ? อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ บุรุษที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำ อันสมควรหรือไม่สมควร การกระทำอันน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของสตรีที่มิใช่ญาติ เมื่อ เป็นเช่นนั้น เธอยังให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักจีวรเก่าได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายี โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๓.๔. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุทายี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๔๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อม เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ที่ชื่อว่า จีวรเก่า ได้แก่ ผ้าที่นุ่งแล้วหนหนึ่งก็ดี ห่มแล้วหนหนึ่งก็ดี. ภิกษุสั่งว่า จงซัก ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีซักแล้วเป็นนิสสัคคีย์. ภิกษุสั่งว่า จงย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีย้อมแล้วเป็นนิสสัคคีย์. ภิกษุสั่งว่า จงทุบ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณีทุบด้วยมือก็ตาม ด้วยตะลุมพุกก็ตาม เพียงทีเดียว จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำจะต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรเก่าผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๑
[๔๔] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซักซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อมซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบ ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซักซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อมซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ทุบ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซักซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อมซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบซึ่งจีวรเก่า เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบ ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ทุบ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งจีวรเก่า ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักจีวรเก่าของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๕] ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ ๑ ภิกษุไม่ได้ บอกใช้ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง ๑ ภิกษุใช้ให้ซักจีวรที่ยังไม่ได้บริโภค ๑ ภิกษุใช้ให้ซัก บริขารอย่างอื่น ๑- เว้นจีวร ๑ ใช้สิกขมานาให้ซัก ๑ ใช้สามเณรีให้ซัก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
@๑. บริขารอย่างอื่น หมายผ้าถุงรองเท้า ผ้าถุงบาตรเป็นต้น
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุณีอุปปลวัณณา
[๔๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุณีอุปปลวัณณาอยู่ในพระนคร สาวัตถี ครั้นเวลาเช้า นางครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังอาหารแล้ว เดินเข้าไปทางป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวัน เข้าไป ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง. สมัยนั้น พวกโจรทำโจรกรรม ฆ่าแม่โคแล้วพากันถือเนื้อเข้าไปสู่ป่าอันธวัน. นายโจร แลเห็นภิกษุณีอุปปลวัณณานั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วจึงดำริว่า ถ้าพวกโจร ลูกน้องของเราพบเข้า จักเบียดเบียนภิกษุณีนี้ แล้วได้เลี่ยงไปทางอื่น. ครั้นเมื่อเนื้อสุกแล้ว นายโจรนั้นได้เลือกเนื้อชิ้นที่ดีๆ เอาใบไม้ห่อแขวนไว้ที่ต้นไม้ใกล้ภิกษุณีอุปปลวัณณาแล้วกล่าวว่า เนื้อห่อนี้เราให้แล้วจริงๆ ผู้ใดเป็นสมณะหรือพราหมณ์ได้เห็น จงถือเอาไปเถิด ดังนี้แล้ว หลีกไป. ภิกษุณีอุปปลวัณณาออกจากสมาธิ ได้ยินนายโจรนั้นกล่าววาจานี้ จึงถือเอาเนื้อนั้นไปสู่ สำนัก. ครั้นราตรีนั้นผ่านไป นางทำเนื้อนั้นสำเร็จแล้ว ห่อด้วยผ้าอุตราสงค์ เหาะไปลงที่พระ- *เวฬุวัน. [๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน. ท่าน พระอุทายีเหลืออยู่เฝ้าพระวิหาร. จึงภิกษุณีอุปปลวัณณาเข้าไปหาท่าน ครั้นแล้วถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน? ท่านพระอุทายีตอบว่า ดูกรน้องหญิง พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน. อุป. โปรดถวายเนื้อนี้แด่พระผู้มีพระภาค เจ้าข้า. อุทายี. ดูกรน้องหญิง พระผู้มีพระภาคทรงอิ่มเอิบด้วยเนื้อของเธอ ถ้าเธอถวายผ้า อันตรวาสกแก่อาตมา แม้อาตมาก็จะพึงอิ่มเอิบด้วยผ้าอันตรวาสกเหมือนเช่นนั้น. อุป. ท่านเจ้าข้า ความจริง พวกดิฉันชื่อว่ามาตุคาม มีลาภน้อย ทั้งผ้าผืนนี้ก็เป็นจีวร ผืนสุดท้ายที่ครบ ๕ ของดิฉัน ดิฉันถวายไม่ได้. อุทายี. ดูกรน้องหญิง เปรียบเหมือนบุรุษให้ช้างแล้ว ก็ควรสละสัปคับสำหรับช้างด้วย ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถวายเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว ก็จงสละผ้าอันตรวาสก ถวายแก่อาตมา. ครั้นนางถูกท่านพระอุทายีแคะไค้ จึงได้ถวายผ้าอันตรวาสกแล้วกลับไปสู่สำนัก. ภิกษุณี ทั้งหลายที่คอยรับบาตรจีวรของภิกษุณีอุปปลวัณณาได้ถามว่า แม่เจ้า ผ้าอันตรวาสกของคุณแม่ อยู่ที่ไหน? นางได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลาย จึงพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุทายีจึงได้รับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า เพราะมาตุคามมีลาภน้อย ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้รับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่าเธอรับจีวรจากมือ ภิกษุณี จริงหรือ? ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรอุทายี นางเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ? อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ บุรุษที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มีของสตรีที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังรับจีวรจากมือ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่ เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายี โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ- *ความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่ง พระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีอุปปลวัณณา จบ.
พระอนุบัญญัติ
เรื่องแลกเปลี่ยน
[๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายตั้งรังเกียจ ไม่รับจีวรแลกเปลี่ยนของภิกษุณี ทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลาย จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงไม่รับจีวร แลกเปลี่ยนของพวกเรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินภิกษุณีเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับจีวร แลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี เราอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนกันของสหธรรมิกทั้ง ๕ นี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๓๔.๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นไว้แต่ของ แลกเปลี่ยน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องแลกเปลี่ยน จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๔๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์ อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปริญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบท แล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้อง วิกัปเป็นอย่างต่ำ. บทว่า เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน คือ ยกเสียแต่จีวรที่แลกเปลี่ยนกัน. ภิกษุรับ เป็นทุกกฏในประโยคที่รับ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละ แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้น แต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่ แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่ แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๐] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๕๑] ภิกษุรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๒] ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ แลกเปลี่ยนกัน คือแลกเปลี่ยนจีวรดีกับ จีวรเลว หรือจีวรเลวกับจีวรดี ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุขอยืมไป ๑ ภิกษุรับบริขารอื่นนอก จากจีวร ๑ ภิกษุรับจีวรของสิกขมานา ๑ ภิกษุรับจีวรของสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้เชี่ยวชาญ แสดงธรรมีกถา จึงเศรษฐีบุตรผู้หนึ่งเข้าไปหาพระอุปนันทศากยบุตร. ครั้นแล้วอภิวาทท่านพระ- *อุปนันทศากยบุตร แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ชี้แจงด้วย ธรรมีกถาให้เศรษฐีบุตรสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้ว. เศรษฐีบุตรนั้น อันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจงด้วยธรรมีกถา ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้ว ได้ปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรในทันใดนั้นแลอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าพึงบอกสิ่งที่ต้องประสงค์ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็น ปัจจัยของภิกษุไข้ ซึ่งข้าพเจ้าสามารถจะจัดถวายแด่พระคุณเจ้าได้. ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่านประสงค์จะถวายแก่ อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้. เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผลัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดินไปมีผ้าผืนเดียวดูกระไร อยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎกผืนหนึ่งจาก ผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย. แม้ครั้งที่สองแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่าน ประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้. เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผลัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดินไปมีผ้าผืนเดียวดู กระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎก ผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย. แม้ครั้งที่สามแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่าน ประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้. เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผลัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดินไปมีผ้าผืนเดียว ดูกระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมกลับไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้า สาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวพ้อว่า ท่านไม่ประสงค์จะถวายก็จะปวารณาทำไม ท่าน ปวารณาแล้วไม่ถวาย จะมีประโยชน์อะไร ครั้นเศรษฐีบุตรนั้นถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรแคะได้ จึงได้ถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งแล้ว กลับไป. ชาวบ้านพบเศรษฐีบุตรนั้นแล้วถามว่า นาย ทำไมท่านจึงมีผ้าผืนเดียวเดินกลับมา? จึงเศรษฐีบุตรได้เล่าเรื่องนั้นแก่ชาวบ้านเหล่านั้น. ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มักมาก ไม่สันโดษ จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่เขาขอผลัด โดยธรรมสักหน่อยก็ไม่ได้ เมื่อเศรษฐีบุตรกระทำการขอผลัดโดยธรรม ไฉนจึงได้ถือเอาผ้าสาฎก ไปเล่า. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็น ผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้ขอจีวรต่อเศรษฐีบุตรเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอขอจีวร ต่อเศรษฐีบุตรจริงหรือ? ท่านพระอุปนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรอุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอหรือมิใช่ญาติ? อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คนที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำ อันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังขอ จีวรต่อเศรษฐีบุตรผู้มิใช่ญาติได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของ ชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทะ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร
[๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปเดินทางจากเมืองสาเกตสู่พระนครสาวัตถี. พวก โจรในระหว่างทางได้ออกแย่งชิงจีวรภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นรังเกียจอยู่ว่า การขอจีวรต่อพ่อ เจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้แล้ว จึงไม่กล้าขอ พากัน เปลือยกายเดินไปถึงพระนครสาวัตถี แล้วกราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายพูดกันอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาชีวกเหล่านี้ที่กราบไหว้ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ เป็นคนดีจริงๆ ภิกษุผู้เปลือยกายเหล่านั้นตอบว่า พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก ขอรับ พวกกระผมเป็นภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายได้เรียนท่านพระอุบาลีว่า ข้าแต่ท่านพระอุบาลี โปรดสอบสวนภิกษุ เหล่านี้. ภิกษุผู้เปลือยกายเหล่านั้น ถูกท่านพระอุบาลีสอบสวน ได้แจ้งเรื่องนั้นแล้ว. ครั้นท่านพระอุบาลีสอบสวนภิกษุเหล่านั้นแล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวรแก่ภิกษุเหล่านั้นเถิด. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่าง ก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้เปลือยกายเดินมาเล่า ธรรมดาภิกษุ ควรจะต้องปกปิดด้วยหญ้าหรือใบไม้เดินมา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูก โจรแย่งชิงจีวรไป หรือมีจีวรหาย ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ได้ เธอเดินไปถึงวัดใดก่อน ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้นก็ดี ผ้าปูที่นอน ก็ดี ของสงฆ์ในวัดนั้นมีอยู่ จะถือเอาผ้าของสงฆ์นั้นไปห่มด้วยคิดว่า ได้จีวรนั้นมาแล้ว จักคืน ไว้ดังกล่าว ดังนี้ก็ควร. ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดพื้นก็ดี ผ้าปูที่นอนก็ดี ของสงฆ์ไม่มี ต้องปกปิดด้วยหญ้าหรือใบไม้เดินมา ไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือย กายเดินมา ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๕.๖. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้- *มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. สมัยในคำนั้นดังนี้: ภิกษุเป็นผู้มี จีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดี นี้สมัยในคำนั้น.
เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อม- *เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่บุรุษผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่สตรีผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้อง วิกัปเป็นอย่างต่ำ. บทว่า นอกจากสมัย คือ ยกเว้นสมัย. ที่ชื่อว่า เป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไป ได้แก่จีวรของภิกษุผู้ถูกชิงเอาไป คือ ถูกพวก ราชาก็ดี พวกโจรก็ดี พวกนักเลงก็ดี หรือคนพวกใดพวกหนึ่ง ชิงเอาไป. ที่ชื่อว่า มีจีวรฉิบหาย คือ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ก็ดี ถูกน้ำพัดไปก็ดี ถูกหนูหรือ ปลวกกัดก็ดี เก่าเพราะใช้สอยก็ดี. ภิกษุขอ นอกจากสมัย เป็นทุกกฏ ในประโยคที่ขอ เป็นนิสสัคคีย์ด้วย ได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจาก สมัย เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖] พ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร นอกจากสมัยเป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. พ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวร นอกจากสมัยเป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. พ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร นอกจากสมัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
พ่อเจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร ... ต้องอาบัติทุกกฏ. พ่อเจ้าเรือน เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวร ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
พ่อเจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๗] ภิกษุขอในสมัย ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุขอ เพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้มีจีวร ถูกชิงไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย การขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนหรือแม่เจ้าเรือนผู้มิใช่ ญาติ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้มีจีวรถูกชิงไป หรือผู้มีจีวรฉิบหายแล้ว ท่านทั้งหลาย จงขอจีวรเถิด. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า พอแล้ว ขอรับ พวกผมได้จีวรมาแล้ว. ฉ. พวกผมจะขอเพื่อประโยชน์ของพวกท่าน. ภิ. จงขอเถิด ขอรับ. ลำดับนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วกล่าวคำนี้ว่า ท่าน- *ทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีจีวรถูกชิงไปมาแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงถวายจีวรแก่พวกเธอ ดังนี้แล้ว ขอจีวรได้มาเป็นอันมาก ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง นั่งอยู่ในที่ชุมชน พูดกะบุรุษอีกผู้หนึ่งว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีจีวรถูกชิงไปมาแล้ว ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรแก่ท่านเหล่านั้นแล้ว แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้นก็กล่าว อย่างนี้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ได้ถวายไปแล้ว แม้บุรุษอื่นอีกก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ได้ถวายไป แล้ว บุรุษเหล่านั้น จึงพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงไม่รู้จักประมาณ ขอจีวรมามากมายเล่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จักทำการค้าผ้า หรือจัดตั้งร้านขายผ้า. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอจีวรมามากมายเล่า แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไม่รู้จัก ประมาณ ขอจีวรมาไว้มากมาย จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงไม่รู้จัก ประมาณ ขอจีวรมาไว้มากมายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำ ของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสและเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อ อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระ- *วินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๖. ๗. ถ้าพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ปวารณาต่อภิกษุ นั้น ด้วยจีวรเป็นอันมาก เพื่อนำไปได้ตามใจ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวร มีอุตราสงค์ อันตรวาสกเป็นอย่างมาก จากจีวรเหล่านั้น ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิย- *ปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๕๙] บทว่า ถ้า ... ต่อภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้มีจีวรถูกชิงไป. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่สตรีผู้ครอบครองเรือน. บทว่า ด้วยจีวรเป็นอันมาก คือ จีวรหลายผืน. บทว่า ปวารณา ... เพื่อนำไปได้ตามใจ คือ ปวารณาว่า ท่านต้องการจีวรเท่าใด ก็จงรับไปเท่านั้นเถิด. คำว่า ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างมาก จากจีวร เหล่านั้น ความว่า ถ้าจีวรหาย ๓ ผืน เธอพึงยินดีเพียง ๒ ผืน หาย ๒ ผืน พึงยินดีเพียง ผืนเดียว หายผืนเดียว อย่าพึงยินดีเลย. คำว่า ถ้ายินดียิ่งกว่านั้น ความว่า ขอมาได้มากกว่านั้น เป็นทุกกฏ ในประโยค ที่ยินดีเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนด ต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ เป็น ของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
[๖๐] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวรเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวรเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ขอจีวร ... ต้องอาบัติทุกกฏ. เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ขอจีวร ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๑] ภิกษุนำเอาไปด้วยคิดว่า จักนำจีวรที่เหลือมาคืน ๑ เจ้าเรือนถวายบอกว่า จีวร ที่เหลือจงเป็นของท่านรูปเดียว ๑ เจ้าเรือนไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรถูกชิงไป ๑ เจ้าเรือนไม่ได้ ถวายเพราะเหตุจีวรหาย ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า ฉักจักยัง ท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร. ภิกษุรูปหนึ่งผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ได้ยินบุรุษนั้นกล่าวคำนี้ จึงเข้าไปหาท่าน พระอุปนันทศากยบุตร ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อาวุโส อุปนันทะ ท่านเป็นผู้มีบุญมาก ในสถานที่โน้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า ฉันจักยังท่านพระ- *อุปนันทะให้ครองจีวร. ท่านพระอุปนันทะกล่าวรับรองว่า มีขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของผม. ครั้นแล้วท่านพระ- *อุปนันทศากยบุตร ได้เข้าไปหาบุรุษนั้นแล้วสอบถามเขาว่า จริงหรือ ข่าวว่า ท่านประสงค์จะให้ อาตมาครองจีวร? บุ. ความจริง ผมตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า จักยังท่านพระอุปนันทะให้ครองจีวร. อุ. ถ้าท่านประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้เถิด เพราะจีวรที่ อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้. บุรุษนั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในขณะนั้นว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากย- *บุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะ อันเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงได้เข้ามาหา แล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า. ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร อันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือน ถึงการ กำหนดในจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันเขา ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร จริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรอุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ? อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คนที่มิใช่ญาติย่อมไม่รู้การกระทำอัน สมควรหรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของคนที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธออันเขาไม่ ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวรได้ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่ สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุง ง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๗.๘. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ ตระเตรียม ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้ว ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้น หรือเช่นนี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ แล้วยังรูปให้ครองเถิด เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะ อาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๖๓] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ ทำภิกษุให้เป็น อารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย แก้วผลึก ผ้า ด้าย หรือฝ้าย. บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ. บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ให้ครอง คือ จักถวาย. คำว่า ถ้าภิกษุนั้น ... ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่าย จีวรไว้ถวายเฉพาะ. บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไรถวายท่าน. บทว่า เข้าไปหาแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ถึงการกำหนดในจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้ยาว ขอให้กว้าง ขอให้เนื้อแน่น หรือขอให้เนื้อละเอียด. บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ. บทว่า เช่นนั้นหรือเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด. บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ยังรูปให้ครองเถิด คือ จงให้. บทว่า เพราะอาศัยความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือ มีความประสงค์ผ้าที่ดี ต้องการ ผ้าที่มีราคาแพง. เขาจ่ายจีวรยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตามคำของเธอ เป็นทุกกฏ ในประโยคที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้า ไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ จีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้า ไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ จีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหา เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๔] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหา เจ้าเรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนแล้ว ถึงการ กำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้า เรือนแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ. เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๕] ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้ ๑ ภิกษุขอ เพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะบุรุษผู้หนึ่งว่า ผมจักยังท่านพระอุปนันทให้ครองจีวร แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้น ก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ผมก็จักยังท่าน พระอุปนันทให้ครองจีวร. ภิกษุรูปหนึ่งถือการเที่ยวบิณฑบาต ได้ยินถ้อยคำที่เจรจากันนี้ของบุรุษทั้งสองนั้น จึงเข้า ไปหาพระอุปนันทศากยบุตร. ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อาวุโส อุปนันท ท่านเป็นผู้มีบุญมาก ในสถานที่โน้น บุรุษผู้หนึ่งได้กล่าวคำนี้กะบุรุษอีกผู้หนึ่งว่า ผมจัก ยังท่านพระอุปนันทให้ครองจีวร แม้บุรุษอีกผู้หนึ่งนั้นได้กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ผมก็จักยังท่านพระ- *อุปนันทให้ครองจีวร. ท่านพระอุปนันทกล่าวรับรองว่า มีขอรับ เขาทั้งสองนั้นเป็นอุปัฏฐากของผม. ครั้นแล้ว ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้เข้าไปหาบุรุษทั้งสองคนนั้น แล้วสอบถามเขาว่า จริงหรือ ท่าน ทั้งหลาย ข่าวว่า ท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร? บุ. ความจริง พวกผมได้พูดกันไว้อย่างนี้ว่า จักยังท่านพระอุปนันทให้ครองจีวร. อุ. ถ้าท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้เถิด เพราะจีวร ทั้งหลายที่อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้. บุรุษทั้งสองคนนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในขณะนั้นว่า พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ไฉน พระคุณเจ้า อุปนันทอันพวกเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้ามาหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า? ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษทั้งสองนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา ว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรอันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลาย แล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันท ข่าวว่าเธออันเขาไม่ได้ ปวารณาไว้ก่อน ได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลาย แล้วถึงการกำหนดในจีวร จริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรอุปนันท เขาเหล่านั้นเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ. อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คนที่ไม่ใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำ อันสมควรหรือไม่ควร ของที่มีอยู่ หรือไม่มี ของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธออันเขา ทั้งหลายไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลายผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดใน จีวรได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคน ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่ สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย. ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะ สมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม ใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๘.๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี แม่เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติสองคน ตระ เตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ ไว้เฉพาะภิกษุว่า เราทั้งหลายจักจ่ายจีวร เฉพาะผืนๆ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน, ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาแล้วถึงการ กำหนด ในจีวรในสำนักของเขาว่า ดีละ ขอท่านทั้งหลายจงจ่ายจีวรเช่นนั้นหรือเช่น นี้ ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ เหล่านี้แล้ว ทั้งสองคนรวมกัน ยังรูปให้ ครองจีวรผืนเดียวเถิด เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี.ฯ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๖๗] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุคือทำภิกษุให้ เป็นอารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง บทว่า สองคน คือสองคนด้วยกัน. ที่ชื่อว่า ผู้มิให้ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่บุรุษผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่สตรีผู้ครอบครองเรือน. ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย แก้วผลึก ผ้า หรือฝ้าย. บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ. บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ให้ครอง คือ จักถวาย. คำว่า ถ้าภิกษุนั้น ... ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาทั้งสองคนตระเตรียมทรัพย์ สำหรับจ่ายจีวรไว้ถวายเฉพาะ. บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักจ่ายจีวรเช่นไรถวายท่าน. บทว่า เข้าไปหาแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ถึงการกำหนดในจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้ยาว ขอให้กว้าง ขอให้เนื้อแน่น หรือขอให้เนื้อละเอียด. บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเหล่านี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ. บทว่า เช่นนั้นหรือเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด. บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ยังรูปให้ครอง คือ จงให้. บทว่า ทั้งสองคนรวมกัน คือ รวมทรัพย์ทั้งสองรายเข้าเป็นรายเดียวกัน. บทว่า ถือเอาความเป็นผู้ใคร่ในจีวรดี คือมีความประสงค์ผ้าที่ดี ต้องการผ้าที่มี ราคาแพง เขาจ่ายจีวร ยาวก็ดี กว้างก็ดี เนื้อแน่นก็ดี เนื้อละเอียดก็ดี ตามคำของเธอเป็นทุกกฏใน ประโยคที่เขาจ่าย, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา. ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไป หาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวรเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำ จะสละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้จีวรผืน นี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, ข้าพเจ้าเข้า ไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวรเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้า เรือนผู้มิใช่ญาติทั้งหลาย ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวร ผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ แล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.ฯ
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๘] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหา เจ้าเรือนทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือนทั้งหลาย แล้ว ถึงการกำหนดในจีวร, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาเจ้าเรือน ทั้งหลายแล้ว ถึงการกำหนดในจีวร, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ. เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่า เป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๙] ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้เป็นญาติ ๑ ภิกษุขอต่อเจ้าเรือนผู้ปวารณาไว้ ๑ ภิกษุ ขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายด้วยทรัพย์ของตน ๑ เจ้าเรือนใคร่จะจ่ายจีวรมีราคาแพง ภิกษุให้เขาจ่ายจีวรมีราคาถูก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๗๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้นนั้น มหาอำมาตย์ ผู้อุปัฏฐากของท่านพระอุปนันท- *ศากยบุตร ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปกับทูตถวายแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรสั่งว่า เจ้าจงจ่าย จีวรด้วยทรัพย์จ่ายจีวรนี้ แล้วให้ท่านพระอุปนันทครองจีวร. จึงทูตนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันท- *ศากยบุตร ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ กะท่านพระอุปทนันทศากยบุตรว่า ท่านเจ้าข้า ทรัพย์สำหรับ จ่ายจีวรนี้แล กระผมนำมาถวายเฉพาะพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร. เมื่อทูตนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ตอบคำนี้ กะทูตนั้นว่า พวกเรารับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ได้, รับได้แต่จีวรอันเป็นของควรโดยการเท่านั้น; เมื่อท่านตอบอย่างนั้นแล้ว ทูตนั้นได้ถามท่านว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ? ขณะนั้น อุบาสกผู้หนึ่งได้เดินไปสู่อารามด้วยกรณียะบางอย่าง จึงท่านพระอุปนันท- *ศากยบุตรได้กล่าวคำนี้กะทูตนั้นว่า อุบาสกนั้นแล เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย. จึงทูตนั้น สั่งอุบาสกนั้นให้เข้าใจแล้ว กลับเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรแจ้งว่า ท่านเจ้าข้า อุบาสกที่พระคุณเจ้าแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น, กระผมสั่งให้เข้าใจแล้ว; ขอพระคุณ เจ้าจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล. ขณะนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไม่ได้พูดอะไรกะอุบาสกนั้น. แม้ครั้งที่สองแล ท่านมหาอำมาตย์นั้น ก็ได้ส่งทูตไปในสำนักท่านพระอุปนันทศากยบุตร ว่า ขอพระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรนั้น, ข้าพเจ้าต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น; แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ก็มิได้พูดอะไร กะอุบาสกนั้น. แม้ครั้งที่สามแล ท่านมหาอำมาตย์นั้น ก็ได้ส่งทูตไปในสำนักท่านพระอุปนันทศากย- *บุตรว่า ขอพระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรนั้น, ข้าพเจ้าต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น. ก็สมัยนั้น เป็นคราวประชุมของชาวนิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกากันไว้ว่า. ผู้ใดมาภาย หลัง ต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ. คราวนั้น ท่านอุปนันทศากยบุตรเข้าไปหาอุบาสกนั่น. ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ฉันต้องการจีวร, อุบาสกนั้นขอผลัดว่า ท่านเจ้าข้า โปรดรอสักวันหนึ่งก่อน, วันนี้เป็นสมัยประชุมของ ชาวนิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกากันไว้ว่า ผู้ใดมาภายหลังต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวคาดคั้นว่า ท่านจงให้จีวรแก่ฉันในวันนี้แหละ แล้ว ยึดชายพกไว้. ครั้นอุบาสกนั้นถูกคาดคั้น จึงจ่ายจีวรถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร แล้วจึงได้ ไปภายหลัง. คนทั้งหลายพากันถามอุบาสกนั้นว่า เหตุไรท่านจึงได้มาภายหลัง? ท่านต้องเสีย เงิน ๕๐ กหาปณะ. จึงอุบาสกนั้นได้เล่าเรื่องนั้นให้คนเหล่านั้นฟัง คนทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ จะทำการช่วยเหลือคนเหล่านี้บ้าง ก็ทำไม่ได้ง่าย ไฉนพระอุปนันทศากยบุตร เมื่ออุบาสกขอผลัด ว่าท่านเจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่งก่อน ก็รอไม่ได้? ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร เมื่ออุบาสกขอผลัดว่า ท่านเจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่งก่อน ก็รอไม่ได้? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันท ข่าวว่า เธออันอุบาสกขอ ผลัดว่า ท่านเจ้าข้า กรุณารอสักวันหนึ่งก่อน ก็รอมิได้ ดังนี้ จริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำไฉน เธอเมื่ออุบาสกขอผลัดว่า กรุณา รอสักวันหนึ่งจึงไม่รอเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่นเป็น ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่ เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอัน จะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๙.๑๐ อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คหบดีก็ดี ส่ง- *ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่าย จ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร, ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร, ภิกษุ นั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับ แต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล; ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็น ไวยาวัจกรของท่านมีหรือ? ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอารามหรืออุบา สกให้เป็นไวยาวัจกร ด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย, ถ้าทูต นั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดง เป็นไวยาวัจกรนั้น, ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว; ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครอง จีวรตามกาล, ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้ง ว่า รูปต้องการจีวร; ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สองสามครั้ง ยังไวยาวัจกรนั้น ให้ จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, พึง- *ยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก; เธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก; ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้, การให้สำเร็จได้ ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวร นั้นให้สำเร็จ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์; ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้, ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ, บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ไปเฉพาะภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวง เอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย; นี้เป็นสามีจิกรรมใน เรื่องนั้น.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๗๑] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็น อารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง. ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ท่านผู้ทรงราชย์ ที่ชื่อว่า ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยงของพระราชา ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์ โดยกำเนิด. ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกพระราชา ราชอำมาตย์ พราหมณ์ นอกนั้น ชื่อว่าคหบดี. ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย หรือแก้วผลึก บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน. บทว่า ให้ครอง คือ จงถวาย. ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมา เฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร, ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล; ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ, ภิกษุ ผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวว่า จงให้แก่คนนั้น หรือว่า คนนั้นจักเก็บไว้ หรือว่าคนนั้นจักแลก หรือว่า คนนั้นจักจ่าย: ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกร นั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น, ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว, ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล, ภิกษุผู้ ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร; อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลกจีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป พึงพูดได้ แม้ครั้งที่สอง พึงพูดได้แม้ครั้งที่สาม, ถ้าให้จัดสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการ ดี, ถ้าให้จัดสำเร็จไม่ได้, พึงไปยืนนิ่งต่อหน้าในที่ใกล้ไวยาวัจกรนั้น, ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่ พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม, เมื่อเขาถามว่ามาธุระอะไร พึงกล่าวว่า รู้เอาเองเถิด, ถ้านั่งบน อาสนะก็ดี รับอามิสก็ดี กล่าวธรรมก็ดี ชื่อว่าหักการยืนเสีย, พึงยืนได้แม้ครั้งที่สอง พึงยืน ได้ แม้ครั้งที่สาม ทวง ๔ ครั้งแล้ว; พึงยืนได้ ๔ ครั้ง ทวง ๕ ครั้งแล้ว, พึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้ว, จะพึงยืนไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้นยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็น ทุกกฏในประโยคที่พยายาม, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย- *สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ แล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้ ในประโยคว่า ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่ ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะ ภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของ ท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย: นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ดังนี้: ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่งในเรื่องนั้น.ฯ
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๒] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยังจีวรให้สำเร็จ, ต้องอาบัติ ทุกกฏ. ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรให้สำเร็จ, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, ไม่ต้อง อาบัติ.ฯ
อนาปัตติวาร
[๗๓] ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง ภิกษุทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ๑ ภิกษุ ไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรถวายเอง ๑ เจ้าของทวงเอามาถวาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.ฯ
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ.
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. ทสาหปรมสิกขาบท ว่าด้วยการทรงอติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง. ๒. เอกรัตติสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้ราตรีหนึ่ง. ๓. มาสปรมสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บจีวรไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง. ๔. ปุราณจีวรโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า. ๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวรจากมือภิกษุณี. ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ. ๗. ตทุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรเกินกำหนด. ๘. อุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์รายเดียว. ๙. อุภินนอุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์สองราย. ๑๐. ทูตสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรที่เจ้าทรัพย์ส่งมาถวาย.ฯ
-----------------------------------------------------
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตพระนคร- *อาฬวี, ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างไหม กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่าน ต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือ ด้วยไหม ช่างไหมเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เข้ามาหาพวกเรากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่ พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้, แม้พวกเราผู้ซึ่งทำสัตว์ ตัวเล็กๆ มากมายให้วอดวาย เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ก็ยังชื่อว่า ไม่ได้ลาภ หาได้ไม่สุจริต. ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกช่างไหมเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่ มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพน- *ทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาพวกช่างไหม แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวก ท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัต เจือด้วยไหม ดังนี้เล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ เข้าไปหาพวกช่างไหม แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้เข้าไป หาพวกช่างไหม แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้ แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้เล่า? การกระทำของ พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๐.๑. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๗๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น ผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่ สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่มีชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ. บทว่า ให้ทำ ความว่า ทำเองก็ดี ใช้ให้ทำก็ดี เจือด้วยไหมแม้เส้นเดียว เป็นทุกกฏ ในประโยคที่ทำ, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา, ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ ของข้าพเจ้าได้ทำแล้ว เป็นของจำจะ สละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านข้าพเจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้สันถัต ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำแล้วเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน ทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน สันถัตเจือด้วยไหมผืนนี้ ของข้าพเจ้าให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ, พึงคืนสันถัตที่เสีย สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.ฯ
บทภาชนีย์
จตุกกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๖] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น, ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย, ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๗] ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.ฯ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ให้เขาทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน ชาวบ้านพากัน มาเที่ยวชมวิหารได้แลเห็นแล้ว จึงพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตรเหล่านี้ จึงได้ให้เขาทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เล่า? ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่, บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา, ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้เขาทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ให้เขาทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวกเธอจึงได้ให้ เขาทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเล่า? การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การ กระทำของพวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๑.๒. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน, เป็นนิสสัคคิย- *ปาจิตต์.ฯ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๗๙] อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็น ผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ดำ มี ๒ อย่าง คือ ดำเองโดยกำเนิด อย่าง ๑ ดำโดยย้อมอย่าง ๑. ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ. บทว่า ให้ทำ ความว่า ทำเองก็ดี ใช้ให้เขาทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ, เป็น นิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา, ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ ของข้าพเจ้าให้ทำแล้ว เป็นของ จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำ จะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้สันถัต ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ ของข้าพเจ้าให้ทำแล้ว เป็นของ จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำ จะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของทั้งท่านหลายถึงที่แล้ว, ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน สันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนผืนนี้ ของข้าพเจ้าให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.ฯ
บทภาชนีย์
จตุกกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๘๐] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น, ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย, ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๘๑] ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.ฯ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๘๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้าม การกระทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน จึงถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต, แล้ว ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเหมือนอย่างเดิมนั่นแหละ. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่าง ก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชาย สันถัต แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเหมือนอย่างเดิมนั้นเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในพระเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน เหมือน เหมือนอย่างเดิมนั่นแหละ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวกเธอจึงได้ถือเอา ขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเหมือนอย่างเดิม นั้นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไป เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๒.๓. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓, ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔, ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำ ล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ให้ทำสันถัตใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ฯ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๓] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายการทำขึ้น. ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ. บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม. คำว่า พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ความว่า พึงชั่งถือเอาขนเจียมดำล้วน น้ำหนัก ๒ ชั่ง. บทว่า ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ คือ ขนเจียมขาวน้ำหนัก ๑ ชั่ง. บทว่า ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ คือ ขนเจียมแดงน้ำหนัก ๑ ชั่ง. คำว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ความว่า ไม่ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ทำเอง ก็ดี ใช้เขาทำก็ดี ซึ่งสันถัตใหม่, เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา, ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำ จะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว. ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ให้ ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.ฯ
บทภาชนีย์
จตุกกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๘๔] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น, ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย, ต้องอาบัติทุกกฏ.ฯ
อนาปัตติวาร
[๘๕] ภิกษุถือเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง แล้วทำ ๑ ภิกษุถือเอา ขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า แล้วทำ ๑ ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดง ล้วน แล้วทำ ๑ ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี ๑ เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.ฯ
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี, พวก- *เธอวอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม. ชาวบ้านพากัน เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ จึงได้ขอให้เขาทำ สันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม ส่วนสันถัตของพวกเราทำคราวเดียว ถูกเด็กๆ ของพวกเราถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรด บ้าง หนูกัดเสียบ้าง ก็ยังอยู่ได้ถึง ๕-๖ ปี; ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ ขอ ให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมาต้องการ ขนเจียม. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้ขอให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ขนเจียม อาตมาต้องการขนเจียม ดังนี้เล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย ขอให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมาต้องการ ขนเจียม ดังนี้ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ให้เขาทำสันถัตใช้ทุกๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมาต้องการ ขนเจียม ดังนี้เล่า? การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของ พวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๓.๔. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน, ถ้ายัง หย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัต อื่นใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯ ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย ประการฉะนี้.ฯ
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุอาพาธ
[๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี. พวกญาติส่งทูต ไปในสำนักภิกษุรูปนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจักพยาบาล. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ได้กล่าวอย่างนี้ ว่า ไปเถิดอาวุโส พวกญาติจักได้พยาบาลท่าน. ภิกษุนั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน, ก็ผมกำลังอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไป ด้วยได้ และผมเว้นสันถัตแล้ว ไม่สบาย ผมจักไม่ไปละ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ สันถัตแก่ภิกษุผู้อาพาธ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติสันถัต
ภิกษุผู้อาพาธรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำสันถัตไปด้วยได้, ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓, ภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ สันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ สันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์. สงฆ์ให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้; การ ให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. การสมมติสันถัตอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์, เหตุนั้นจึงนิ่ง. ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๓๓.๔. ก. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน. ถ้ายัง หย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัต อื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯ
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๘๘] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายการทำขึ้น. ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ. บทว่า ให้ทำแล้ว คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม. บทว่า พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน คือ พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝนเป็นอย่างเร็ว. บทว่า ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน คือ ยังไม่ถึง ๖ ฝน. บทว่า สละเสียแล้วก็ดี ... ซึ่งสันถัตนั้น คือ ให้แก่คนอื่นไป. บทว่า ยังไม่สละแล้วก็ดี คือ ยังไม่ได้ให้แก่ใครๆ. บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ. ภิกษุทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตอื่นใหม่ เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา, ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า กระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า, สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็น ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสีย- *สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
จตุกกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๘๙] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๙๐] ครบ ๖ ฝนแล้วภิกษุทำใหม่ ๑, เกิน ๖ ฝนแล้วภิกษุทำใหม่ ๑. ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ๑, ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ๑, ภิกษุทำเป็น เพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี, ภิกษุได้ สมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
[๙๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว. ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในพระวิหารนี้เลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียวโดยแท้. ถึงอย่างนั้น สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ก็ยังตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ ตลอดไตรมาส ใครๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์. [๙๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ. ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนี้ นั่น เป็นพุทธประเพณี. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน พวกเธอ พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? พวกเธอเดินทางมาโดยได้รับความลำบากน้อยหรือ? ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้า- *ข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยได้รับความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า. ก็แลขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่างพระผู้มี พระภาค จึงพระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ผ้าบังสุกุลเป็นที่พอใจของเธอหรือ? ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ผ้าบังสุกุล มิได้เป็นที่พอใจของข้าพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็ทำไมเธอจึงได้ทรงผ้าบังสุกุลเล่า ภิกษุ?. ภิ. พระอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้าทรงผ้าบังสุกุล, ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องทรงผ้าบังสุกุล อย่างนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน บริษัท ของเธอนี้น่าเลื่อมใสนัก, เธอแนะนำบริษัทอย่างไร? ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ผู้ใดขออุปสมบทต่อข้าพระ- *พุทธเจ้า, ข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง, ฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ จึงให้เขาอุปสมบท, ถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ไม่ให้เขาอุปสมบท. ภิกษุใดขอนิสัย ต่อข้าพระพุทธเจ้าๆ บอกกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้, เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระ- *พุทธเจ้าๆ จึงจะให้นิสัย, ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัย, ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัทอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, เธอแนะนำบริษัทได้ดีจริงๆ เออก็เธอรู้กติกาของสงฆ์ ในเขตพระนครสาวัตถีไหม อุปเสน?. อุ. ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรอุปเสน สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ตั้งกติกากันไว้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มี- *พระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว, ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติ ปาจิตตีย์. อุ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระ- *พุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้. ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้บัญญัติ หรือไม่ควร เพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบท ตามที่เราได้บัญญัติไว้. เรา อนุญาตให้พวกภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าหา เราได้ตามสะดวก. เวลานั้น ภิกษุหลายรูปกำลังรออยู่ที่นอกซุ้มประตูพระวิหาร ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักให้ ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์. ครั้นท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัท ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว, จึงภิกษุเหล่านั้นได้ถามท่าน พระอุปเสนวังคันตบุตรดังนี้ว่า อาวุโส อุปเสน ท่านทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ไหม? ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย แม้พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งถาม กระผมอย่างนี้ว่า ดูกรอุปเสน เธอทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม? กระผม กราบทูลว่า ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์รับสั่งต่อไปว่า ดูกรอุปเสน สงฆ์ในพระนคร สาวัตถีได้ตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้น อยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว. ภิกษุใดเข้าเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์. กระผมกราบทูลว่า พระสงฆ์ในเขตพระนคร สาวัตถีจักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ ทรงบัญญัติไว้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเลยทรงอนุญาตให้บรรดาภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือ บิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงด้วยในทันใดนั้นว่า ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร พูดถูกต้องจริง แท้, พระสงฆ์ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่ยังมิได้ทรงบัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่ทรง บัญญัติไว้, ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้. [๙๓] ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก. ภิกษุเหล่านั้น ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ต่างละทิ้งสันถัต พากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติก- *ธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์. หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวประพาสตามเสนา- *สนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นสันถัตซึ่งทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถัตเหล่านี้ของใคร ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ? จึงภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๔.๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง สันถัตเก่า เพื่อทำให้เสียสี, ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำ สันถัตสำหรับนั่งใหม่, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๙๔] ที่ชื่อว่า สำหรับนั่ง ตรัสหมายผ้ามีชาย. ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ. บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ตาม ให้เขาทำก็ตาม. ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่แม้นุ่ง ๑- แล้วคราวเดียว แม้ห่ม ๒- แล้วคราวเดียว. คำว่า พึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบ ... เพื่อทำให้เสียสี คือ ตัดกลมๆ หรือสี่เหลี่ยม แล้วลาดในเอกเทศหนึ่ง หรือชีออกปนหล่อเพื่อความทน. คำว่า ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ความว่าไม่ถือเอาสันถัต เก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบแล้ว ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตสำหรับนั่งใหม่ เป็น ทุกกฏในประโยคที่ทำ, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา, ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตสำหรับนั่งนั้น อย่างนี้:- @๑-๒ เห็นจะหลงมาจากจีวรเก่าในสิกขาบทที่ ๔ แห่งจีวรวรรค
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัต เก่าให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับ นั่งที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้ สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อว่า
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัต เก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับ นั่งที่เสียสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็น ของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลาย ถึงที่แล้ว. ท่านทั้งหลาย พึงให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้ของข้าพเจ้า ไม่ได้ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า ให้ทำแล้ว เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตสำหรับ นั่งที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตสำหรับนั่งผืนนี้แก่ท่านดังนี้.
บทภาชนีย์
จตุกกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๙๕] สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. สันถัตสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. สันถัตสำหรับนั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น, ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๙๖] ภิกษุถือเอาสันถัตเก่าหนึ่งคืบสุคตโดยรอบแล้วทำ ๑, ภิกษุหาไม่ได้ถือเอาแต่น้อย แล้วทำ ๑, ภิกษุหาไม่ได้ ไม่ถือเอาเลยแล้วทำ ๑, ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ๑, ภิกษุทำเป็นเพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอน ก็ดี ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถี แถบ โกศลชนบท. ขนเจียมเกิดขึ้นแก่เธอในระหว่างทาง จึงภิกษุนั้นได้เอาผ้าอุตราสงค์ห่อขนเจียม เหล่านั้นเดินไป. ชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้วพูดสัพยอกว่า ท่านเจ้าข้า ท่านซื้อขนเจียมมาด้วยราคาเท่าไร กำไรจักมีสักเท่าไร. ภิกษุรูปนั้นถูกชาวบ้านพูดสัพยอกได้เป็นผู้เก้อ. ครั้นเธอไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทั้งๆ ที่ยืนอยู่นั่นแล ได้โยนขนเจียมเหล่านั้นลง. ภิกษุทั้งหลายจึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส ทำไมท่านจึงโยนขนเจียมเหล่านั้นลงทั้งๆ ที่ยังยืนอยู่เล่า? ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ก็เพราะผมถูกชาวบ้านพูดสัพยอก เหตุขนเจียมเหล่านี้ ขอรับ. ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ก็ท่านนำขนเจียมเหล่านี้มาจากที่ไกลเท่าไรเล่า? ภิกษุรูปนั้นตอบว่า เกินกว่า ๓ โยชน์ ขอรับ. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้นำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า? แล้วกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่าเธอนำขนเจียมมาไกล เกิน ๓ โยชน์ จริงหรือ? ภิกษุรูปนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้นำขนเจียมมาไกลเกิน กว่า ๓ โยชน์ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่ เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุรูปนั้น โดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๕.๖. อนึ่ง ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล, ภิกษุต้องการพึงรับได้, ครั้นรับแล้ว เมื่อคนถือไม่มี พึงถือไปด้วยมือของตนเองตลอดระยะทาง ๓ โยชน์เป็น อย่างมาก, ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๙๘] บทว่า ... แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุเดินทาง. บทว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตร ก็ตาม แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม. บทว่า ต้องการ คือ เมื่อปรารถนา ก็พึงรับได้. คำว่า ครั้นรับแล้ว ... พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอดระยะทาง ๓ โยชน์เป็น อย่างมาก คือ นำไปด้วยมือของตนเองได้ ชั่วระยะทาง ๓ โยชน์ เป็นอย่างไกล. บทว่า เมื่อคนถือไม่มี ความว่า คนอื่น คือ สตรี หรือบุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต สักตนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยถือไปไม่มี. คำว่า ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น แม้คนถือไม่มี อธิบายว่า เธอก้าวเกิน ๓ โยชน์ เท้าแรก, ต้องอาบัติทุกกฏ. เท้าที่สอง ขนเจียมเหล่านั้น, เป็นนิสสัคคีย์. เธอยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมลงนอกระยะ ๓ โยชน์, ก็เป็นนิสสัคคีย์. ซ่อนไว้ในยานพาหนะก็ตาม ในห่อถุงก็ตาม ของคนอื่น ซึ่งเขาไม่รู้ ให้ล่วง ๓ โยชน์ไป, ก็เป็นนิสสัคคีย์. คือ เป็นของ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ที่ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วง ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้. เป็นของ จำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึง ที่แล้ว, ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อ.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้าให้ล่วงเลย ๓ โยชน์ เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละ ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสีย สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๙๙] เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน เดินเลย ๓ โยชน์ไป, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุสงสัย เดินเลย ๓ โยชน์ไป, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เกิน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อน เดินเลย ๓ โยชน์ไป, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน ... ต้องอาบัติทุกกฏ. หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
หย่อน ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อน ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๐] ภิกษุถือไปเพียงระยะ ๓ โยชน์ ๑, ภิกษุถือไปหย่อนระยะ ๓ โยชน์ ๑, ภิกษุ ถือไปก็ดี ถือกลับมาก็ดี เพียงระยะ ๓ โยชน์ ๑, ภิกษุถือไปเพียง ๓ โยชน์ แล้วพักแรมเสีย รุ่งขึ้นถือต่อจากนั้นไปอีก ๑, ขนเจียมถูกโจรชิงไปแล้ว ภิกษุได้คืนมา ถือไปอีก ๑, ขนเจียม ที่สละแล้ว ภิกษุได้คืนมา ถือไปอีก ๑, ภิกษุให้คนอื่นช่วยถือไป ๑, ขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของ แล้วภิกษุถือไป ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนคร กบิลพัสดุ์ แถบสักกชนบท. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่ง ขนเจียม, ภิกษุณีทั้งหลายมัวสาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา. ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ พุทธสำนัก. ครั้น ถวายบังคมแล้ว ได้ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แลว่า ดูกรพระโคตมี พวกภิกษุณียังเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่หรือ? พระนางกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ความไม่ประมาทของพวกภิกษุณีจักมีแต่ไหน, เพราะ พระผู้เป็นเจ้าเหล่าฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม, ภิกษุณีทั้งหลาย มัวสาละวนซัก ย้อม สาง ขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว. พระนางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไปแล้ว.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ ใช้ภิกษุณีซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พ. เขาเป็นญาติของพวกเธอ หรือมิใช่ญาติ? ฉ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ภิกษุผู้มิใช่ญาติ ย่อมไม่ รู้การกระทำที่สมควรหรือไม่สมควร, อาการที่น่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอยังใช่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักบ้าง ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียมได้, การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด, เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม, นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น ผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อม เพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ, นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ภิกษุสั่งว่า จงซัก, ต้องอาบัติทุกกฏ. ขนเจียมที่ซักแล้ว เป็นนิสสัคคีย์. ภิกษุสั่งว่า จงย้อม, ต้องอาบัติทุกกฏ. ขนเจียมที่ย้อมแล้ว เป็นนิสสัคคีย์. ภิกษุสั่งว่า จงสาง, ต้องอาบัติทุกกฏ. ขนเจียมที่สางแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละขนเจียมนั้น อย่างนี้.
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า. ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็น ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็น ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำ จะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่านทั้งหลายพึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน ขนเจียมเหล่านี้ของข้าพเจ้า ใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักแล้ว เป็นของจำ จะสละ, ข้าพเจ้าสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เสีย สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๑
[๑๐๓] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่ามิใช่ญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ซึ่งขนเจียม. เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สงสัย จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับ นิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๑
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๒
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้ย้อม ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
สำคัญว่าเป็นญาติ จตุกกะ ๓
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ซึ่งขนเจียม, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ซัก ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้องอาบัติทุกกฏ กับนิสสัคคีย์. ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้สาง ให้ซัก ให้ย้อม ซึ่งขนเจียม, ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับนิสสัคคีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุ ใช้ภิกษุณี ซักขนเจียมของภิกษุอื่น, ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุ ใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียวซัก, ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ... ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๔] ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง ๑, ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ ๑, ภิกษุไม่ได้ บอกใช้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักให้เอง ๑, ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ ๑, ใช้สิกขมานาซัก ๑, ใช้สามเณรีซัก ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็น กุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น. เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น เขาจึง แบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้อง อ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า. บุรุษสามีจึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจัก ซื้อของอื่นถวายท่าน. ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศากยบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง, ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น, ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง, จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของ พระคุณเจ้าแก่เด็ก, พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เรา แล้วหรือ? บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว. อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา. บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใดนั้นเอง แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา. ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระ ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง- *เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรจบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม, นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถ ว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะว่าอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ, นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ. ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วย- *ครั่ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้. บทว่า รับ คือรับเอง เป็นนิสสัคคีย์. บทว่า ให้รับ คือให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์. บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า หรือยินดี ทอง เงินที่เขาเก็บ ไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น, เป็นนิสสัคคีย์ ทองเงินที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละรูปิยะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว. ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละรูปิยะนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ, ถ้าคนผู้ทำการวัด หรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้, ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา. ควรบอกแต่ของ ที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย, ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะ มาถวาย เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ, ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป, ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่ได้, พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของนี้, ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี; ถ้าเขาไม่ทิ้งให้, พึงสมมติภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
องค์ ๕ นั้น คือ ๑ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ, ๒ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะ เกลียดชัง, ๓ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว; และ ๕ รู้จักว่าทำ อย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน, ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, การสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, ชอบแก่ท่านผู้ใด; ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์. เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก, ถ้าทิ้งหมายที่ตก, ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๐๗] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. รูปิยะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ. ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๘] ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี, ภิกษุหยิบยกเองก็ดี ใช้ให้หยิบ- *ยกก็ดี, แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด, ผู้นั้นจักนำไปดังนี้ ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการ- *ต่างๆ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึง ได้ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า?. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่เป็นผู้ มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน- *ทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เล่า? แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถึงการซื้อ ขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ จริงหรือ?. พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวกเธอจึงได้ถึงการซื้อ ขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เล่า การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำ ของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย ดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ- *นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ, เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง เป็นทั้งรูปพรรณ และมิใช่รูปพรรณบ้าง. ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณ ได้แก่เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว. ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ คือที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง. ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ได้แก่ของ ๒ อย่างนั้น. ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้. บทว่า ถึงความซื้อขาย คือ เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อขายของที่เป็นรูปพรรณ, เป็นนิสสัคคีย์. เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ, เป็นนิสสัคคีย์. เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ, เป็นนิสสัคคีย์. เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ, เป็นนิสสัคคีย์. เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ, เป็นนิสสัคคีย์. เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ เป็น นิสสัคคีย์. เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณ, เป็นนิสสัคคีย์. เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่มิใช่รูปพรรณ. เป็นนิสสัคคีย์. เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ, เป็นนิสสัคคีย์. ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น, ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละของนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยกะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ, ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสิ่งของนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ. ถ้าคนทำการวัด หรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั่น, พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ ถ้าเขาถามว่า จะให้ ผมนำสิ่งนี้ไปหาอะไรมาอย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา; ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่นเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย. ถ้าเขานำของสิ่งนั้นไป แลกของ ที่เป็นกัปปิยะมาถวาย; เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป. ถ้าได้อย่างนี้, นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของสิ่งนี้, ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี; ถ้าเขาไม่ทิ้งให้, พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
องค์ ๕ นั้น คือ ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ, ๒. ไม่ถึงความลำเอียง เพราะความเกลียดชัง, ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย, ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว, และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี้เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, การสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงพูด. ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์. เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก, ถ้าทิ้งหมายที่ตก; ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๑๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ, ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ... ต้องอาบัติทุกกฏ. มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๑๒] ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้ชำนาญ ทำจีวรกรรม เธอเอาผ้าเก่าๆ ทำผ้าสังฆาฏิ ย้อมแต่งดีแล้วใช้ห่ม. ขณะนั้นแล ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้ามีราคามาก เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึง สำนัก. ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ผ้าสังฆาฏิผืนนี้ของท่านงามแท้ จงแลกกันกับผ้าของข้าพเจ้าเถิด. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ท่านจงรู้เอาเองเถิด. ปริพาชกตอบสนองว่า ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า ตกลง ขอรับ แล้วได้ให้ไป. จึงปริพาชกนั้น ได้ห่มผ้าสังฆาฏิผืนนั้น ไปสู่ปริพาชการาม. พวกปริพาชกพากันรุมถามปริพาชกผู้นั้นว่า สังฆาฏิผืนนี้ของท่านช่างงามจริง ท่านได้ มาแต่ไหน?. ปริพาชกผู้นั้นตอบว่า ผมเอาผ้าของผมผืนนั้นแลกเปลี่ยนมา. พวกปริพาชกกล่าวว่า ผ้าสังฆาฏิของท่านผืนนี้จักอยู่ได้สักกี่วัน, ผ้าของท่านผืนนั้นแหละ ดีกว่า. ปริพาชกผู้นั้นเห็นจริงว่า ปริพาชกทั้งหลายพูดถูกต้อง. ผ้าสังฆาฏิของเราผืนนี้ จักอยู่ ได้สักกี่วัน, ผ้าผืนนั้นของเราดีกว่า แล้วเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก. ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า โปรดนำผ้าสังฆาฏิของท่านไป โปรดคืนผ้าของ ผมมา. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดว่า ข้าพเจ้าได้บอกท่านแล้วมิใช่หรือว่า จงรู้เอาเองเถิด ข้าพเจ้าจักไม่คืนให้. ปริพาชกนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในทันใดนั้นแลว่า ธรรมดาคฤหัสถ์ก็ยัง คืนให้แก่คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน, ก็นี่บรรพชิตจักไม่คืนให้แก่บรรพชิตด้วยกันเทียวหรือ?. ภิกษุทั้งหลายได้ยินปริพาชกเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่, บรรดาผู้ที่เป็นผู้ มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชกเล่า? แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอ ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชก จริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับ ปริพาชกเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่ เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแก่สงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่ง พระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๓๘. ๑๐. อนึ่ง ... ภิกษุใดถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ, เป็นนิสสัคคิย- *ปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
-----------------------------------------------------
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบท แล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น พระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติ- *จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ใน อรรถนี้. ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุด แม้ก้อนฝุ่น ไม้ชำระฟัน ด้วยชายผ้า. บทว่า ถึงการแลกเปลี่ยน คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า จงให้ของสิ่งนี้ด้วยของ สิ่งนี้ จงนำของสิ่งนี้มาด้วยของสิ่งนี้ จงแลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงจ่ายของสิ่งนี้ด้วย ของสิ่งนี้ ดังนี้เป็นต้น, ต้องอาบัติทุกกฏ. ในเวลาที่แลกแล้ว คือของๆ ตนไปอยู่ในมือของ คนอื่น และเปลี่ยนแล้ว คือของๆ คนอื่นมาอยู่ในมือของตน, เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของ จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละของสิ่งนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ. ของสิ่งนี้ของ ข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนของที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ของสิ่งนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ. ของสิ่งนี้ของ ข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนของที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ของสิ่งนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน ทั้งหลายพึงให้ของสิ่งนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ. ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็น ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ของสิ่งนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๑๕] แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าแลกเปลี่ยน, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. แลกเปลี่ยน ภิกษุสงสัย, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แลกเปลี่ยน, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าแลกเปลี่ยน, ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุสงสัย, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ได้แลกเปลี่ยน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แลกเปลี่ยน, ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๑๖] ภิกษุถามราคา ๑, ภิกษุบอกแก่กัปปิยการกว่า ของสิ่งนี้ของเรามีอยู่ แต่เรา ต้องการของสิ่งนี้และของสิ่งนี้ ดังนี้ ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้อง อาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตเจือด้วยไหม ๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน ๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการทำทรงสันถัตไว้ให้ได้ ๖ ฝน ๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับนั่ง ๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการซักขนเจียม ๘. รูปิยอุคคหสิกขาบท ว่าด้วยการรับทองเงิน ๙. รูปิยสํโวหารสิกขาบท ว่าด้วยการซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่างๆ ๑๐. กยวิกยสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ
-----------------------------------------------------
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓
๓. ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์สั่งสมบาตรไว้เป็นอันมาก ชาวบ้านพากันเที่ยวชมวิหาร เห็นแล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้สั่งสมบาตรไว้เป็นอันมาก ท่านจักทำการขายบาตร หรือจักตั้งร้านขาย ภาชนะดินเผา. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้ มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ทรงอติเรกบาตรเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ทรงอติเรกบาตร จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวกเธอจึงได้ทรง อติเรกบาตรเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็น ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ทรงอติเรกบาตร, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
-----------------------------------------------------
พระอนุบัญญัติ
เรื่องพระอานนท์
[๑๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล อติเรกบาตรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์มีอยู่ และท่าน ประสงค์จะถวายบาตรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร, แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต. ท่านพระ- *อานนท์จึงมีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกบาตร ก็นี่อติเรกบาตรบังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวายแก่ท่านพระสารีบุตร, แต่ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต. เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ? ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร สารีบุตรจึงจะกลับมา?. พระอานนท์กราบทูลว่า ท่านจะกลับมาในวันที่ ๙ หรือ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรก- *บาตรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง, อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๔๐. ๑. ก. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุให้ล่วง กำหนดนั้นไป, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯ
เรื่องพระอานนท์ จบ.
-----------------------------------------------------
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๙] บทว่า ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างมาก. ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป. ที่ชื่อว่า บาตร มี ๒ อย่าง คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดินเผา ๑.
ขนาดของบาตร
บาตรมี ๓ ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ ๑ บาตรขนาดกลาง ๑ บาตรขนาดเล็ก ๑. บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอ สมควรแก่ข้าวสุกนั้น. บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ นาฬี ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอ- *สมควรแก่ข้าวสุกนั้น. บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ ปัตถะ ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอ- *สมควรแก่ข้าวสุกนั้น. ใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ เล็กกว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้. [๑๒๐] คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่ออรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
[๑๒๑] ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละบาตร ใบนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้บาตร ใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
[๑๒๒] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำสละ, ข้าพเจ้าสละบาตร ใบนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ, เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน- *ทั้งหลายพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
[๑๒๓] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้ แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่าน ดั่งนี้.ฯ
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๒๔] บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสงสัย, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรยังไม่แตก ภิกษุสำคัญว่าแตกแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. บาตรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๑๒๕] บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ. บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ. บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสงสัย บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค, ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๒๖] ภิกษุอธิษฐาน ๑, ภิกษุวิกัปไว้ ๑, ภิกษุสละให้ไป ๑, บาตรหายไป ๑, บาตร ฉิบหาย ๑, บาตรแตก ๑, โจรชิงเอาไป ๑, ภิกษุถือวิสาสะ ๑, ในภาย ๑๐ วัน ๑, ภิกษุวิกล- *จริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ไม่ให้คืนบาตรที่เสียสละ. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุ เสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้, ภิกษุรูปใดไม่คืนให้, ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนคร- *กบิลพัสดุ์ สักกชนบท. ครั้งนั้น นายช่างหม้อผู้หนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้า เหล่าใดต้องการบาตร กระผมจักรถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าเหล่านั้น. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาเป็นอันมาก. ภิกษุที่มีบาตรขนาด เล็ก ย่อมขอบาตรขนาดใหญ่, ภิกษุที่มีบาตรขนาดใหญ่ ย่อมขอบาตรขนาดเล็ก. จึงนายช่าง- *หม้อนั้น มัวทำบาตรเป็นอันมากถวายภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้, แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ, แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก. ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง ได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามากมายเล่า? นายช่างหม้อผู้นี้มัวทำบาตรเป็นอันมากมาถวาย พระสมณะเหล่านี้อยู่ จึงไม่สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้, แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ, แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณขอบาตรเขามาไว้มากมาย จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านี้นั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า? การกระทำของภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อ ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อม- *ใสแล้ว.
ทรงห้ามขอบาตร
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ- *เพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรขอบาตร, ภิกษุใดขอ, ต้องอาบัติทุกกฏ. [๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก. ภิกษุนั้นรังเกียจว่า การขอบาตร พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามแล้ว จึงไม่ขอบาตรเขาเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสอง. ชาวบ้าน พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เที่ยวรับ บิณฑบาตด้วยมือทั้งสอง เหมือนพวกเดียรถีย์เล่า?. ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่, จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้ขอบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มี บาตรหายหรือมีบาตรแตก ขอบาตรเขาได้.ฯ [๑๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ผู้มีบาตรหายหรือมีบาตรแตก ขอบาตรเขาได้, แม้พวกเธอมีบาตรแตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียง เล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีดเพียงเล็กน้อย ก็ไม่รู้จักประมาณ, ขอบาตรเขามาไว้ เป็นอันมาก. คราวนั้น นายช่างหม้อผู้นั้นมัวทำบาตรเป็นอันมากถวายแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างนั้น ไม่ สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้, แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ, แม้บุตรภรรยาของเขาก็ ลำบาก. ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาดุจก่อนนั้นว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระ- *ศากยบุตรจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามามากมายเล่า? นายช่างหม้อผู้นี้มัวทำบาตรเป็น อันมากถวายพระสมณะเหล่านี้อยู่ จึงไม่สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้ แม้ตนเองก็ไม่ พอครองชีพ, แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาบท ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์แม้มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอย ขีดเพียงเล็กน้อย จึงไม่ได้รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอมี บาตรแตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีดเพียงเล็กน้อย ก็ ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมาก จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวกเธอแม้มีบาตร แตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขีดเพียงเล็กน้อย จึงได้ไม่ รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรใหม่อื่น, เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัท; บาตรใบสุดแห่งภิกษุ บริษัทนั้น, พึงมอบให้แก่ภิกษุนั้นสั่งว่า ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้กว่าจะแตก; นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.ฯ
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บาตรที่ชื่อว่า มีแผลหย่อนห้า คือ ไม่มีแผล มี ๑ แผล มี ๒ แผล มี ๓ แผล หรือ มี ๔ แผล. บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีแผล ได้แก่บาตรที่มีรอยร้าวยาวไม่ถึงสององคุลี. บาตรที่ชื่อว่า มีแผล ได้แก่บาตรที่มีรอยร้าวยาวถึงสององคุลี. บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงบาตรที่ขอเขามา. บทว่า ให้จ่าย คือ ขอเขา เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้บาตรมา, จำต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์. ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานแล้วไปประชุม อย่าอธิษฐานบาตรเลวด้วยหมายจะได้ บาตรที่มีราคามาก, ถ้าอธิษฐานบาตรเลว ด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก, ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละบาตร
[๑๓๒] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ ข้าพเจ้ามีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายมาแล้วเป็น ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ. สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร.
องค์ ๕ ของภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร
องค์ ๕ นั้น คือ ๑ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ, ๒ ไม่ถึงความลำเอียง เพราะเกลียดชัง, ๓ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย, ๔ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว; และ ๕ รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตรนั้น อย่างนี้:-
วิธีสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คำสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึง สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร, นี้เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร. การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงพูด. ภิกษุมีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตรแล้ว, ชอบแก่สงฆ์. เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงให้เปลี่ยนบาตร พึงกราบเรียนพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอ- *พระเถระจงเปลี่ยนบาตร. ถ้าพระเถระเปลี่ยน, พึงถวายบาตรพระเถระให้พระทุติยเถระเปลี่ยน อันภิกษุจะไม่เปลี่ยน เพราะความสงสารภิกษุนั้นไม่ได้. ภิกษุใดไม่ยอมเปลี่ยน, ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่พึงให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน, พึงให้เปลี่ยนเลื่อนลงมาโดยอุบายนี้แลตลอดถึงพระสังฆนวกะ. ก็แลบาตรใดเป็นใบสุดท้ายแห่งภิกษุบริษัทนั้น, พึงมอบบาตรนั้น แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัตินิสสัคคิย- *ปาจิตตีย์นั้นด้วยสั่งกำชับว่า ดูกรภิกษุ นี้บาตรของเธอ, พึงใช้ไปกว่าจะแตก ดังนี้; ภิกษุนั้น อย่าเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่อันไม่ควร, อย่าใช้โดยอาการอันไม่ควร, อย่าทอดธุระว่าบาตรใบนี้จะ เป็นอย่างไรก็ตาม คือ จะหายก็ช่าง จะฉิบหายก็ช่าง จะแตกก็ช่าง, ถ้าเก็บไว้ในที่ๆ ไม่ควรก็ดี, ใช้อย่างที่เขาไม่ใช้กันก็ดี, ปล่อยทิ้งเสียก็ดี, ต้องอาบัติทุกกฏ. บทว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกยิ่งในเรื่องนั้น.
บทภาชนีย์
บาตรไม่มีแผล
[๑๓๓] ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บาตรมีแผล ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
บาตรมีแผล ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
บาตรมีแผล ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
บาตรมีแผล ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล
[๑๓๔] ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล
[๑๓๕] ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล
[๑๓๖] ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ- *ปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๓๗] ภิกษุมีบาตรหาย ๑, ภิกษุมีบาตรแตก ๑, ภิกษุขอต่อญาติ ๑, ภิกษุขอต่อคน ปวารณา ๑, ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑, ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑, ภิกษุ วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.ฯ
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ
[๑๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะกำลังให้คนชำระ เงื้อมเขาในเขตพระนครราชคฤห์ ประสงค์จะทำเป็นสถานที่เร้น. ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึง สำนัก. ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราชอาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง, ได้ตรัสถามท่านพระ- *ปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระเถระกำลังให้เขาทำอะไรอยู่? ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า อาตมภาพกำลังให้เขาชำระเงื้อมเขา ประสงค์จะทำ เป็นสถานที่เร้น ขอถวายพระพร. พิ. พระคุณเจ้าจะต้องการคนทำการวัดบ้างไหม. ปิ. ขอถวายพระพร คนทำการวัด พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงอนุญาต. พิ. ถ้าเช่นนั้น โปรดทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วบอกให้ข้าพเจ้าทราบ. ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลสนองพระบรมราชโองการว่า ได้ ขอถวายพระพร แล้วชี้แจง ให้พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ ทรงสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว. ลำดับนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ อันท่านพระปิลินทวัจฉะชี้แจงให้ทรง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว, เสด็จลุกจากพระราชอาสน์ ทรงอภิวาทท่านพระ ปิลินทวัจฉะ ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ. หลังจากนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะส่งสมณทูตไปในสำนักพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ มีพระราชประสงค์จะทรงถวายคนทำการวัด, ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร? พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงอนุญาตให้มีคนทำการวัด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น, ทรงกระทำธรรมีกถา, แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีคนทำการวัด. พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงสำนักเป็นคำ รบสอง, ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่งเหนือพระอาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง, แล้วตรัสถาม ท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า คนทำการวัด พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแล้วหรือ? ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ทรงอนุญาตแล้ว. พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ ทรงรับปฏิญาณถวายคนทำการวัดแก่ท่านพระปิลินท- *วัจฉะว่า ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักถวายคนทำการวัดแก่พระคุณเจ้าดังนี้แล้วทรงลืมเสีย. ต่อนานมา ทรงระลึกได้ จึงตรัสถามมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวงผู้หนึ่งว่า พนาย คนทำการวัดที่เราได้รับ ปฏิญาณจะถวายแก่พระคุณเจ้านั้น เราได้ถวายไปแล้วหรือ? มหาอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ยังไม่ได้พระราชทาน พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า จากวันนั้นมา นานกี่ราตรีแล้ว พนาย. ท่านมหาอำมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลในทันใดนั้นแลว่า ขอเดชะ ๕๐๐ ราตรี พระ- *พุทธเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้นจงถวายท่านไป ๕๐๐ คน. ท่านมหาอำมาตย์รับสนองพระบรมราชโองการว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้จัดคนทำการ วัดไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ ๕๐๐ คน. หมู่บ้านของคนทำการวัดพวกนั้น ได้ตั้งอยู่แผนกหนึ่ง. คนทั้งหลายเรียกตำบลบ้านนั้นว่า ตำบลบ้านอารามิกบ้าง ตำบลบ้านปิลินทวัจฉะบ้าง. [๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ ได้เป็นพระกุลุปกะในหมู่บ้านตำบลนั้น. ครั้นเช้าวันหนึ่ง ท่านครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ. สมัยนั้น ในตำบลบ้านนั้นมีมหรสพ. พวกเด็กๆ ตกแต่งกายประดับดอกไม้ เล่นมหรสพอยู่. พอดีท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกปิลินทวัจฉะ ได้เข้าไปถึงเรือนคนทำการ วัดผู้หนึ่ง. ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เข้าจัดถวาย. ขณะนั้น ธิดาของสตรีผู้ทำการวัดนั้น เห็นเด็กๆ พวกอื่นตกแต่งกายประดับดอกไม้ แล้วร้องอ้อนว่า จงให้ดอกไม้แก่ข้าพเจ้า, จงให้เครื่องตกแต่งกายแก่ข้าพเจ้า. ท่านพระปิลินทวัจฉะจึงถามสตรีผู้ทำการวัดคนนั้นว่า เด็กหญิงคนนี้ร้องอ้อนอยากได้ อะไร? นางกราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เด็กหญิงคนนี้เห็นเด็กๆ พวกอื่นเขาตกแต่งกายประดับ ดอกไม้ จึงร้องอ้อนขอว่า จงให้ดอกไม้แก่ข้าพเจ้า, จงให้เครื่องตกแต่งกายแก่ข้าพเจ้า, ดิฉัน บอกว่า เราเป็นคนจน จะได้ดอกไม้มาจากไหน, จะได้เครื่องแต่งกายมาจากไหน. ขณะนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะหยิบหมวกฟางใบหนึ่งส่งให้แล้วกล่าวว่า เจ้าจงสวม- *หมวกฟางนี้ลงที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น. ทันใดนางได้รับหมวกฟางนั้นสวมลงที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น. หมวกฟางนั้นได้กลายเป็นระเบียบดอกไม้ทองคำ งดงามน่าดู น่าชม, ระเบียบดอกไม้ทองคำ เช่นนั้น แม้ในพระราชสถานก็ไม่มี. ชาวบ้านกราบทูลแด่พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐว่า ขอเดชะ ระเบียบดอกไม้ทองคำ ที่เรือนของคนทำการวัดชื่อโน้น งดงาม น่าดู น่าชม, แม้ในพระราชสถานก็ไม่มี. เขาเป็นคน เข็ญใจจะได้มาแต่ไหน, เป็นต้องได้มาด้วยโจรกรรมเป็นแน่นอน. ท้าวเธอจึงรับสั่งให้จองจำตระกูลคนทำการวัดนั้น. ครั้นเช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต ถึงตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในบ้านปิลินทวัจฉะ ได้เดินผ่านไป ทางเรือนคนทำการวัดผู้นั้น. ครั้นแล้วได้ถามคนที่เขาคุ้นกันว่า ตระกูลคนทำการวัดนี้ไปไหนเสีย?. คนพวกนั้นกราบเรียนว่า เขาถูกจองจำเพราะเรื่องระเบียบดอกไม้ทองคำนั้น เจ้าข้า. ทันใดนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะได้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัด- *ถวาย. ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะ, ทรง อภิวาทแล้ว ประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์ อันควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ทูลถามพระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ ผู้ประทับนั่งเรียบร้อย แล้วดังนี้ว่า ขอถวายพระพร ตระกูลคนทำวัดถูกรับสั่งให้จองจำด้วยเรื่องอะไร? พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เพราะที่เรือนของเขามีระเบียบดอกไม้ทองคำ อย่างงดงาม น่าดู น่าชม, แม้ที่ในวังก็ยังไม่มี, เขาเป็นคนจนจะได้มาแต่ไหน, เป็นต้องได้มา ด้วยโจรกรรมเป็นแน่นอน. ขณะนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร จอมพล- *มคธรัฐ จงเป็นทอง, ปราสาทนั้นได้กลายเป็นทองไปทั้งหมด. แล้วได้ถวายพระพรทูลถามว่า ขอถวายพระพร ก็นี่ทองมากมายเท่านั้น มหาบพิตรได้มาแต่ไหน?. ข้าพเจ้าทราบแล้ว, นี้เป็นอิทธานุภาพของพระคุณเจ้า. พระเจ้าพิมพิสารตรัสดังนี้แล้ว รับสั่งให้ปล่อยตระกูลคนทำการวัดนั้นพ้นพระราชอาญา. [๑๔๐] ชาวบ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรม อันยิ่งของมนุษย์ในบริษัทพร้อมทั้งพระราชาต่างพากันยินดีเลื่อมใสโดยยิ่ง, แล้วได้นำเภสัชห้า คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มาถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ. แม้ตามปกติท่าน ก็ได้เภสัชห้าอยู่เสมอ. ท่านจึงแบ่งเภสัชที่ได้ๆ มาถวายบริษัท แต่บริษัทของท่านเป็นผู้ มักมาก เก็บเภสัชที่ได้ๆ มาไว้ในกระถางบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง จนเต็ม แล้วบรรจุลงในหม้อ กรองน้ำบ้าง ในถุงย่ามบ้าง แขวนไว้ที่หน้าต่าง เภสัชเหล่านั้นก็เยิ้มซึม แม้จำพวกหนูก็ เกลื่อนกล่นไปทั่ววิหาร. ชาวบ้านที่เดินเที่ยวชมไปตามวิหารพบเข้า ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีเรือนคลังในภายในเหมือนพระเจ้า พิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงพอใจในความมักมากเช่นนี้เล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น, แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุ ทั้งหลายพอใจในความมักมากเช่นนี้ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุ- *โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้เล่า? การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๒. ๓. อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ, คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย, ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้เจ็ดวันเป็น อย่างยิ่ง, ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ฯ
เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ.
-----------------------------------------------------
สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๑] คำว่า มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้:- ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่ทำจากน้ำนมโคบ้าง, น้ำนมแพะบ้าง, น้ำนมกระบือ บ้าง มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร, เนยใสที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นก็ใช้ได้. ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแล. ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง, จากเมล็ดพันธุ์ผักกาดบ้าง, จากเมล็ดมะซางบ้าง, จากเมล็ดละหุ่งบ้าง, จากเปลวสัตว์บ้าง. ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่รสหวานที่แมลงผึ้งทำ. ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ รสหวานที่เกิดจากอ้อย. คำว่า ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง คือเก็บ ไว้ฉันได้เจ็ดวันเป็นอย่างมาก. คำว่า ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่าเมื่ออรุณที่ ๘ ขึ้นมา เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละเภสัชนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วงเจ็ดวัน เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้ แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัช ที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วงเจ็ดวัน เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว. ท่าน ทั้งหลายพึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน เภสัชนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเจ็ดวันเป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่านดังนี้.
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๔๒] เภสัชล่วงเจ็ดวันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ- *ปาจิตตีย์. เภสัชล่วงเจ็ดวันแล้ว ภิกษุสงสัย, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เภสัชล่วงเจ็ดวันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เภสัชยังไม่ได้ผูกใจ ภิกษุสำคัญว่าผูกใจแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เภสัชยังไม่ได้แจกจ่ายให้ไป ภิกษุสำคัญว่าแจกจ่ายไปแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. เภสัชยังไม่สูญหายไป ภิกษุสำคัญว่าสูญหายไปแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. เภสัชยังไม่เสีย ภิกษุสำคัญว่าเสียแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เภสัชยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เภสัชยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. [๑๔๓] เภสัชที่เสียสละแล้ว ภิกษุนั้นได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกาย และ ไม่ควรฉัน, พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีป หรือในการผสมสี. ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับ กายได้อยู่, แต่ไม่ควรฉัน.
ทุกกฏ
เภสัชยังไม่ล่วงเจ็ดวัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว ..., ต้องอาบัติทุกกฏ. เภสัชยังไม่ล่วงเจ็ดวัน ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
เภสัชยังไม่ล่วงเจ็ดวัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วงเจ็ดวัน ..., ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๔๔] ภิกษุผูกใจไว้ว่าจะไม่บริโภค ๑ ภิกษุแจกจ่ายให้ไป ๑, เภสัชนั้นสูญหาย ๑ เภสัชนั้นเสีย ๑ เภสัชนั้นถูกไฟไหม้ ๑ เภสัชนั้นถูกโจรชิงไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ในภาย ในเจ็ดวัน ภิกษุให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตคิดสละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว ไม่ห่วงใย กลับได้ ฉันได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว. พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแล้ว จึง แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง, ครั้นผ้าอาบน้ำฝนเก่าแล้ว ก็เปลือยกายอาบน้ำฝน. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ จึงได้แสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนเสีย ก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง, เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าแล้ว จึงได้เปลือยกายอาบน้ำฝนเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น, แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง, เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าแล้ว เปลือยกายอาบน้ำฝน จริงหรือ?. พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนพวกเธอจึงได้ แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนเสียก่อนบ้าง ทำแล้วนุ่งเสียก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าแล้ว จึงได้ เปลือยกายอาบน้ำฝนเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การกระทำของ พวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน, ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๓. ๔. ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวรคือผ้าอาบ น้ำฝนได้, รู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้, ถ้าเธอรู้ว่า ฤดูร้อนเหลือ ล้ำกว่า ๑ เดือน แสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน. รู้ว่า ฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่ง, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ฯ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
-----------------------------------------------------
สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๖] คำว่า ภิกษุรู้ว่า ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน พึงแสวงหาจีวร คือผ้า อาบน้ำฝนได้ นั้น อธิบายว่า ภิกษุพึงเข้าไปหาชาวบ้านบรรดาที่เคยถวายจีวร คือ ผ้าอาบ น้ำฝนมาก่อน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ถึงกาลแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้ว, ถึงสมัยแห่งผ้าอาบน้ำฝนแล้ว, แม้ชาวบ้านเหล่าอื่น ก็ถวายจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน ดังนี้, แต่อย่าพูดว่า จงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝน แก่อาตมา จงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงแลกเปลี่ยนจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงจ่ายจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา ดังนี้เป็นต้น. คำว่า รู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้ นั้น คือเมื่อฤดูร้อนยังเหลือ อยู่กึ่งเดือน พึงทำนุ่งได้. คำว่า ถ้าเธอรู้ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า ๑ เดือน นั้น คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกิน กว่า ๑ เดือน แสวงหาจีวรคือผ้าจีวรอาบน้ำฝน, เป็นนิสสัคคีย์. คำว่า รู้ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือน นั้น คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า กึ่งเดือน ทำนุ่ง, เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของ จำจะสละ. ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรคือผ้าอาบ น้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์ พึงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่า ๑ เดือน, ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็น ของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรคือผ้าอาบ น้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็น ของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึง ที่แล้ว. ท่านทั้งหลายพึงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้. ฯ
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อนซึ่งยัง เหลืออยู่เกินกว่าหนึ่งเดือน, ทำนุ่งในฤดูร้อนซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน, เป็นของ จำจะสละ. ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรคือผ้าอาบ น้ำฝนที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน ดั่งนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (แสวงหา)
[๑๔๗] ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน แสวงหาจีวรคือผ้าอาบ น้ำฝน, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุสงสัย แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน, เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (ทำนุ่ง)
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ทำนุ่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสงสัย ทำนุ่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. ฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ทำนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
เมื่อผ้าอาบน้ำฝนมี ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน, ต้องอาบัติทุกกฏ. ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ..., ต้องอาบัติทุกกฏ. ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึง ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ..., ไม่ต้องอาบัติ.
ทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ..., ต้องอาบัติทุกกฏ. ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่า ยังไม่ถึง ..., ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๔๘] ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกหนึ่งเดือน แสวงหาจีวร คือผ้าอาบน้ำฝน ๑, ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน ทำนุ่ง ๑, ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงหนึ่งเดือน แสวงหา จีวรคือผ้าอาบน้ำฝน ๑, ภิกษุรู้ว่าฤดูร้อนยังเหลือไม่ถึงกึ่งเดือน ทำนุ่ง ๑, เมื่อผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุ แสวงหาได้แล้ว ฝนแล้ง เมื่อผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุทำนุ่งแล้ว ฝนแล้ง ซักเก็บไว้ ๑, ภิกษุนุ่ง ในสมัย ๑, ภิกษุมีจีวรถูกโจรชิงไป ๑, ภิกษุมีจีวรหายเสีย ๑, มีอันตราย ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวชวนภิกษุ สัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกันว่า อาวุโส จงมา เราจักพากันหลีกไปเที่ยวตามชนบท. ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมไม่ไปขอรับ เพราะมีจีวรเก่า. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวขะยั้นขะยอว่า ไปเถิด อาวุโส, ผมจักให้จีวรแก่ท่าน แล้วได้ให้จีวรภิกษุรูปนั้น. ภิกษุรูปนั้นได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จเที่ยวจาริกไปตามชนบท จึงคิดว่า บัดนี้เราจักไม่ไปเที่ยวตามชนบทกับท่านพระอุปนันทศากยบุตรละ จักตามเสด็จพระผู้มีพระภาค เที่ยวจาริกไปตามชนบท. ครั้นถึงกำหนด, ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวคำนี้กะภิกษุรูปนั้นว่า มาเถิด อาวุโส เราจักพากันไปเที่ยวตามชนบทในบัดนี้. ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ผมไม่ไปกับท่านละ, ผมจักตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเที่ยวจาริกไป ตามชนบท. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ผมได้ให้จีวรแก่ท่านไปด้วยหมายใจว่าจักไปเที่ยว ตามชนบทด้วยกัน ดังนี้แล้วโกรธ น้อยใจ ได้ชิงจีวรที่ให้นั้นคืนมา ภิกษุรูปนั้นจึงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้จีวรแก่ภิกษุไปเองแล้ว จึงได้ โกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมาเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงถามพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอให้จีวรแก่ ภิกษุเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมา จริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว จึงได้โกรธ น้อยใจ ชิงเอาคืนมาเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๔. ๕. อนึ่งภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว โกรธ น้อยใจชิงเอามาก็ดี ให้ ชิงเอามาก็ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
-----------------------------------------------------
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกขุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่ สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น. บทว่า เอง คือ ให้เอง. ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ผ้าจีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้อง วิกัปเป็นอย่างต่ำ. บทว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่ชอบใน มีใจฉุนเฉียว เกิดมีใจกระด้าง. บทว่า ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์. บทว่า ให้ชิงเอามา คือใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุผู้รับคำสั่งคราวเดียว ชิงเอามาแม้หลายคราว, ก็เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้อง เสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา เป็นของจำ จะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามาเป็นของจำจะ สละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว. ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๕๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้ว โกรธน้อยใจ ชิงเอามา ก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้จีวรเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี, ต้องอาบัติ ทุกกฏ. ภิกษุให้จีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี แก่อนุปสัมบันแล้ว โกรธ น้อยใจ ชิงเอามาก็ดี ให้ชิงเอามาก็ดี, ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๑๕๒] ภิกษุผู้ได้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี ภิกษุเจ้าของเดิมถือวิสาสะแก่ผู้ได้รับไปนั้น ก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นถึงคราวทำจีวร พระฉัพพัคคีย์ ขอด้ายเขามาเป็นอันมาก. แม้ทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่เป็นอันมาก. จึงพระฉัพพัคคีย์ ได้ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราพากันไปขอด้ายแม้อื่นมาให้ช่างหูกทอจีวรเถิด. ครั้นไปขอด้ายแม้อื่นมาแล้ว ให้ช่างหูกทอจีวร. แม้ทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่อีกมากมาย. จึงไปขอด้ายแม้อื่นมา ให้ช่างหูกทอจีวรอีกเป็นครั้งที่สอง. แม้ทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่อีก มากมาย. จึงไปขอด้ายแม้อื่นมา ให้ช่างหูกทอจีวรอีกเป็นครั้งที่สาม. ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ ขอด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเล่า?. ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ขอด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ขอด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ขอด้าย เขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การ กระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย, กระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่อง นั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ- *สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวร เป็นนิสสัคคิย- *ปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกขุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น ผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า เอง คือ ขอเขามาเอง,
ด้ายมี ๖ อย่าง
ที่ชื่อว่า ด้าย นั้นมี ๖ อย่าง คือ ทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยสัมภาระเจือกันในห้าอย่างนั้น ๑. บทว่า ยังช่างหูก คือ ยังช่างหูกให้ทอ, เป็นทุกกฏในประโยคที่ช่างหูกจัดทำอยู่นั้น, เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยได้จีวรมา จำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอ เป็นของ จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอ เป็นของ จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้วยังช่างหูกให้ทอ เป็นของจำจะ สละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๕๕] ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าให้เขาทอ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ให้เขาทอ ภิกษุสงสัย, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ให้เขาทอ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าให้เขาทอ, ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุสงสัย, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ได้ให้เขาทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ให้เขาทอ ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๕๖] ภิกษุขอด้ายมาเพื่อเย็บจีวร ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำ ประคตเอว ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำผ้าอังสะ ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำถุงบาตร ๑ ภิกษุขอด้ายมาทำผ้า กรองน้ำ ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง เมื่อจะไปแรมคืนต่างถิ่น ได้ กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า จงกะด้ายให้แก่ช่างหูกคนโน้นให้ทอจีวรแล้วเก็บไว้, ฉันกลับมาแล้ว จักนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร. ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ได้ยินบุรุษผู้นั้นกล่าววาจานี้ จึงเข้าไปหา ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก. ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้แก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า อาวุโส อุปนันทะ ท่านเป็นผู้มีบุญมาก ณ สถานตำบลโน้น, บุรุษผู้หนึ่ง เมื่อจะไปแรมคืนต่างถิ่น ได้ กล่าวคำนี้กะภรรยาว่า จงกะด้ายให้แก่ช่างหูกคนโน้นให้ทอจีวรแล้วเก็บไว้ ฉันกลับมาแล้ว จักนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร ดังนี้. ท่านพระอุปนันทะกล่าวรับรองว่า มีขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของผม. แม้ช่างหูกผู้นั้น ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร. จึงท่านพระอุปนันท- *ศากยบุตร เข้าไปหาช่างหูกผู้นั้นถึงบ้าน. ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะช่างหูกผู้นั้นว่า ท่าน จีวร ผืนนี้แล เขาให้ท่านทอเฉพาะเรา, ท่านจงทำให้ยาว, ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดี ให้ เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี และให้เป็นของที่กรีดดี. ช่างหูกกล่าวว่า เขากะด้ายส่งมาให้กระผมเท่านี้เอง ขอรับ แล้วสั่งว่า จงทอจีวรด้วย ด้ายเท่านี้, กระผมไม่สามารถจะทำให้ยาว ให้กว้าง หรือให้แน่นได้, แต่สามารถจะทำให้เป็น ของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี และให้เป็นของที่กรีดดีได้ ขอรับ. ท่านพระอุปนันทะ กล่าวรับรองว่า เชิญท่านช่วยทำให้ยาว ให้กว้าง และให้แน่นเถิด, ความขัดข้องด้วยด้ายนั้น จักไม่มี. ครั้นช่างหูกนำด้ายตามที่เขาส่งมาเข้าไปในหูกแล้ว, ด้ายไม่พอ. จึงเข้าไปหาสตรี- *เจ้าของ แจ้งว่า ต้องการด้าย ขอรับ. สตรีเจ้าของกล่าวค้านว่า ดิฉันสั่งคุณแล้วมิใช่หรือว่า จงทอจีวรด้วยด้ายเท่านั้น? ช่างหูกอ้างเหตุว่า ท่านสั่งผมไว้จริง ขอรับ, แต่พระคุณเจ้าอุปนันทะบอกผมอย่างนี้ว่า เชิญท่านช่วยทำให้ยาว ให้กว้าง และให้แน่นเถิด, ความขัดข้องด้วยด้ายนั้น จักไม่มี. จึงสตรีผู้นั้นได้ให้ด้ายเพิ่มไปอีกเท่าที่ให้ไว้คราวแรก. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ทราบข่าวว่า บุรุษนั้นกลับมาจากที่แรมคืนต่างถิ่นแล้ว จึง- *กลับเข้าไปหาถึงเรือนบุรุษนั้น. ครั้นแล้ว นั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้. จึงบุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามภรรยาว่า จีวรที่ให้ทอเสร็จแล้วหรือยัง?. ภรรยาตอบ เสร็จแล้ว เจ้าค่ะ. บุรุษนั้นสั่งว่า จงหยิบมา, ฉันจักยังพระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร. จึงสตรีนั้นหยิบจีวรออกมาให้สามี แล้วได้เล่าเรื่องให้ทราบ. บุรุษนั้นถวายจีวรนั้นแก่ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้ว ได้เพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาขึ้นในขณะนั้นแลว่า พระสมณะเชื้อ สายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำไม่ได้ง่าย ไฉน พระคุณเจ้าอุปนันทะอันเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาช่างหูก แล้วถึงการกำหนดในจีวร ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษมีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร อันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือน แล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ได้เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้วถึงการกำหนดในจีวร จริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. เขาเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ. อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คนที่ไม่ใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำ อันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธออันเขา ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงกำหนดในจีวรได้ การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่ สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่ สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะ- *สมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ- *นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๖. ๗. อนึ่ง เจ้าพ่อเรือนก็ดี เจ้าแม่เรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ ทอจีวรเฉพาะภิกษุ, ถ้าภิกษุนั้น เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้ว ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป, ขอท่านจงทำให้ ยาว, ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี; แม้ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน, ครั้นกล่าว- *อย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นให้ของเล็กของน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๘] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกขุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ ทำภิกษุ ให้เป็นอารมณ์แล้ว ใคร่จะให้ภิกษุครอง. ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด ๗ ชั่วอายุของบุรพชนก. ผู้ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน. ผู้ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน. บทว่า ช่างหูก ได้แก่ คนทำการทอ. ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ผ้าจีวร ๖ ชนิดๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัป เป็นอย่างต่ำ. บทว่า ให้ทอ คือ ให้ทออยู่. บทว่า ถ้าภิกษุนั้น ... ในสำนักของเขานั้น ได้แก่ ภิกษุที่เขาสั่งให้ช่างหูกทอจีวร ไว้ถวายเฉพาะ. บทว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ เป็นผู้อันเขาไม่ได้บอกไว้ก่อนว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจะต้องการจีวรเช่นไร ผมจักทอจีวรเช่นไรถวาย. บทว่า เข้าไปหาช่างหูกแล้ว คือ ไปถึงเรือนแล้ว เข้าไปหาในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. คำว่า ถึงความกำหนดในจีวรนั้น คือ ถึงการกำหนดในจีวรว่า จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป, ขอท่านจงทำให้ยาว, ให้กว้าง ให้แน่น ให้เป็นของที่ขึงดี ให้เป็นของที่ทอดี ให้เป็นของที่สางดี ให้เป็นของที่กรีดดี, แม้ไฉนรูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน. คำว่า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้สักว่า บิณฑบาต อธิบายว่า ยาคูก็ดี ข้าวสารก็ดี ของเคี้ยวก็ดี ก้อนจุรณก็ดี ไม้ชำระฟันก็ดี ด้ายเชิงชายก็ดี โดยที่สุดแม้กล่าวธรรมก็ชื่อว่าบิณฑบาต, เขาทำให้ยาวก็ดี ให้กว้างก็ดี ให้แน่น- *ก็ดี ตามคำของเธอ, เป็นทุกกฏในประโยคที่เขาทำ. เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา. ต้องเสียสละ แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่ง กระโหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า. เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, ข้าพเจ้าเข้าไป หาช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, ข้าพเจ้าไปหา ช่างหูกของเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวรเป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้า สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว. ท่านทั้ง หลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่าง หูกของเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้า- *สละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๕๙] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, เข้าไป หาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดในจีวร, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, เข้าไปหาช่างหูกของเจ้า เรือนแล้ว ถึงความกำหนดในจีวร, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน, เข้าไปหาช่างหูก ของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดในจีวร, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ..., ต้องอาบัติทุกกฏ. เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ..., ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๖๐] ภิกษุขอต่อญาติ ๑, ภิกษุขอต่อคนปวารณา ๑, ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของ ภิกษุอื่น ๑, ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตนเอง ๑, เจ้าเรือนใคร่จะให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้- *ทอจีวรมีราคาน้อย ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องมหาอำมาตย์คนหนึ่ง
[๑๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งเมื่อจะไปแรมคืนต่างถิ่น ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์ท่านผู้เจริญทั้งหลายมา, ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา. ภิกษุทั้งหลายไม่ไป รังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ออก พรรษาแล้ว. จึงท่านมหาอำมาตย์ผู้นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเราส่งทูตไปแล้ว จึงได้ไม่มาเล่า? เพราะเราจะไปในกองทัพ จะเป็นหรือจะตายก็ยากที่จะรู้ได้. ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวมหาอำมาตย์ผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อรับอัจเจก จีวรแล้วเก็บไว้ได้. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบพระพุทธานุญาตนั้นแล้ว รับอัจเจกจีวรเก็บไว้ล่วงสมัย จีวรกาล. จีวรเหล่านั้น ภิกษุห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง. ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ ได้พบเห็นจีวรเหล่านั้นที่ภิกษุทั้งหลายห่อ- *แขวนไว้ที่สายสะเดียง, ครั้นแล้วได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า อาวุโสทั้งหลาย จีวรเหล่านี้ของ ใครห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง ภิกษุทั้งหลายตอบว่า อัจเจกจีวรของพวกกระผม ขอรับ. ท่านพระอานนท์ซักว่า เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว? จึงภิกษุเหล่านั้นได้แจ้งแก่ท่านพระอานนท์ ตามที่ตนได้เก็บไว้นานเท่าไร. ท่านพระอานนท์เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายรับอัจเจกจีวรแล้ว จึงได้เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาลเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้ง หลายรับอัจเจกจีวรแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาลจริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉน ภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้รับอัจเจกจีวรแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาลเล่า? การกระทำของภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความ ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่- *เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๗. ๘. วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือน แห่งเดือนกัตติกา ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน, อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ, ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้. ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล, ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น, เป็นนิสสัคคิย- *ปาจิตตีย์.
เรื่องมหาอำมาตย์คนหนึ่ง จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๒] บทว่า ยังไม่มาอีก ๑๐ วัน คือ ก่อนวันปวารณา ๑๐ วัน. บทว่า วันปุรณมีที่ครบ ๓ เดือน แห่งเดือนกัตติกา นั้น คือวันปวารณา ท่าน กล่าวว่าวันเพ็ญเดือนกัตติกา. ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า บุคคลประสงค์จะไปในกองทัพก็ดี, บุคคลประสงค์จะ ไปแรมคืนต่างถิ่นก็ดี, บุคคลเจ็บไข้ก็ดี, สตรีมีครรภ์ก็ดี, บุคคลยังไม่มีศรัทธา มามีศรัทธาเกิดขึ้น ก็ดี, บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส มามีความเลื่อมใสเกิดขึ้นก็ดี. ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์ท่านผู้เจริญมา, ข้าพเจ้าจัดถวายผ้าจำนำพรรษา, ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร. คำว่า ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้. ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จน ตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ดังนี้นั้น คือ พึงทำเครื่องหมายว่า นี้อัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้. ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน, ได้ท้ายฤดูฝน ๑ เดือน, เมื่อ กรานกฐินแล้ว, ได้ขยายออกไปเป็น ๕ เดือน. คำว่า ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน, เก็บไว้ล่วงเลยวันสุดท้าย แห่งฤดูฝน, เป็นนิสสัคคีย์. เมื่อได้กรานกฐินแล้ว, เก็บไว้ล่วงเลยวันกฐินเดาะ, เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละอัจเจกจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัย จีวรกาลเป็น ของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ จำจะสละ. เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้ผ้า อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัย จีวรกาลเป็น ของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำ จะสละ. เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว. ท่านทั้งหลายพึงให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัยจีวรกาลเป็นของจำ จะสละ. ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๖๓] อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าเป็นอัจเจกจีวร เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อัจเจกจีวร ภิกษุสงสัย เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่ามิใช่อัจเจกจีวร เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว เก็บไว้ล่วงสมัยจีวรกาล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้สละ บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร, ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ..., ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๖๔] ภิกษุอธิษฐาน ๑, ภิกษุวิกัป ๑, ภิกษุสละให้ไป ๑, จีวรหาย ๑, จีวรฉิบหาย ๑, จีวรถูกไฟไหม้ ๑, จีวรถูกชิงเอาไป ๑, ภิกษุถือวิสาสะ ๑, ในภายในสมัย ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๖๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วยังยับยั้งอยู่ใน เสนาสนะป่า. พวกโจรเดือน ๑๒ เข้าใจว่า ภิกษุทั้งหลายได้ลาภแล้ว จึงพากันเที่ยวปล้น. ภิกษุ ทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ทรงอนุญาตให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ ในเสนาสนะป่า เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ใน เสนาสนะป่า เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้, จึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ใน ละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน. จีวรเหล่านั้น หายบ้าง ฉิบหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง. ภิกษุทั้งหลายมีแต่ผ้าไม่ดี มีแต่จีวรปอน, จึงถามกันขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เพราะเหตุใด พวกท่านจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีแต่จีวรปอน? ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืนเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุเก็บไตร จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลาย ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุโมฆ- *บุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เล่า? การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มี รังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, ปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้. และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น, ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ถ้าเธออยู่ ปราศยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๖] บทว่า อนึ่ง ... จำพรรษาแล้ว คือ ภิกษุออกพรรษาแล้ว. วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตรงกับวันปุรณมีดิถีเป็นที่เต็ม ๔ เดือน ในกัตติกมาส. คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่านั้นมีระยะไกล ๕๐๐ ชั่วธนู เป็นอย่างน้อย. ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีสถานที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่. ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีมนุษย์ถูกพวกโจร ฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่. คำว่า ภิกษุ ... จะอยู่ในเสนาสนะป่า ... ความว่า ภิกษุจะยับยั้งอยู่ในเสนาสนะเห็น ปานนั้น. บทว่า ปรารถนาอยู่ คือ พอใจอยู่. คำว่า จีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่ง ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตราสงค์ หรือผ้าอันตรวาสก. คำว่า พึงเก็บ ... ไว้ในละแวกบ้านได้ คือ พึงเก็บไว้ในโคจรคามโดยรอบได้. คำว่า และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น คือ มีเหตุ มีกิจจำเป็น. คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ความว่า พึงอยู่ ปราศจากได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างมาก. บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ. คำว่า ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออรุณที่ ๗ ขึ้นมา, จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืนเป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ. ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ. ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว. ท่าน ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน ๖ คืน เป็นของจำจะสละ เว้น ไว้แต่ภิกษุได้สมมติ. ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๖๗] จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสงสัย อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่ได้สละ บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรยังไม่ถึง ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าเกิน ..., ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรยังไม่ถึง ๖ ราตรี ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรยังไม่ถึง ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ๖ ราตรี บริโภค, ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๖๘] ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี ๑, ภิกษุอยู่ปราศไม่ถึง ๖ ราตรี ๑, ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี แล้วกลับมายังคามสีมา อยู่แล้วหลีกไป ๑, ภิกษุถอนเสียภายใน ๖ ราตรี ๑, ภิกษุสละให้ไป ๑, จีวรหาย ๑, จีวรฉิบหาย ๑, จีวรถูกไฟไหม้ ๑, จีวรถูกชิงเอาไป ๑, ภิกษุถือวิสาสะ ๑, ภิกษุ ได้สมมติ ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ในพระนครสาวัตถี มีชาวบ้านหมู่หนึ่ง จัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวายสงฆ์ ด้วยตั้งใจว่าจักให้ฉันแล้วจึงให้ครองจีวร ณ เวลาเดียวกัน นั้นแล. พระฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาชาวบ้านหมู่นั้น ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะชาวบ้านหมู่นั้นว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้จีวรเหล่านี้แก่พวกอาตมา. ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พวกกระผมจะถวายไม่ได้ เพราะพวกกระผม จัด ภิกษาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวายพระสงฆ์ทุกปี. พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ทายก ของสงฆ์มีมาก, ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีมาก, พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นอยู่แต่พวกท่าน จึง อยู่ในที่นี้. ถ้าพวกท่านไม่ให้แก่พวกอาตมา, เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจักให้แก่พวกอาตมา, ขอ พวกท่านจงให้จีวรเหล่านี้ แก่พวกอาตมาเถิด. เมื่อชาวบ้านหมู่นั้น ถูกพระฉัพพัคคีย์แค่นไค้ จึงได้ถวายจีวรตามที่ได้จัดไว้แก่ พระฉัพพัคคีย์แล้วอังคาสพระสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร. บรรดาภิกษุที่ทราบว่า เขาจัดภัตตาหารพร้อมทั้งจีวรไว้ถวายพระสงฆ์, แต่ไม่ทราบว่า เขาได้ถวายจีวรแก่พระฉัพพัคคีย์ไปแล้ว จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านจงน้อม ถวายจีวรแก่พระสงฆ์เถิด. ชาวบ้านหมู่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า จีวรตามที่ได้จัดไว้ไม่มี, เพราะพระคุณเจ้าเหล่า พระฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อตนแล้ว. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่าง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงได้น้อมลาภที่เข้าน้อมไว้เป็นของ จะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้ อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวกเธอรู้อยู่ จึงได้ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่ง พระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๔๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มา เพื่อตน, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกขุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบท ให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกเธอ หรือเจ้าตัวบอก. ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ ของที่เขาถวายแล้ว บริจาคแล้ว แก่สงฆ์. ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกษุ ไข้ โดยที่สุด แม้ก้อนแห่งจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้ายชายผ้า. ที่ชื่อว่า ที่เขาน้อมไว้ คือเขาได้เปล่งวาจาไว้ว่า จักถวาย จักกระทำ, ภิกษุน้อมมา เพื่อตนในประโยคที่ทำ. เป็นทุกกฏ. ได้มา. เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละ แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละลาภนั้น อย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์. ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมา เพื่อตน เป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เสีย- สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ลาภนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุ มีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์. ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมา เพื่อตน เป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เสีย สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. ลาภนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ. เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว. ท่าน ทั้งหลายพึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:- ท่าน ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์. ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ. ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ. ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เสียสละ ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้ลาภนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสงสัย น้อมมาเพื่อตน, ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน, ไม่ต้องอาบัติ.
ทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์หมู่อื่นก็ดี เพื่อเจดีย์ก็ดี, ต้องอาบัติ ทุกกฏ. ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ก็ดี เพื่อคณะก็ดี เพื่อบุคคลก็ดี. ต้องอาบัติทุกกฏ. ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่นก็ดี เพื่อสงฆ์ก็ดี เพื่อคณะก็ดี เพื่อเจดีย์ก็ดี, ต้องอาบัติทุกกฏ. ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน, ต้องอาบัติทุกกฏ. ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่า เขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน, ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
[๑๗๑] ภิกษุอันพวกทายกถามว่า จะถวายที่ไหน ดังนี้ บอกแนะนำว่า ไทยธรรมของ พวกท่าน พึงได้รับการใช้สอย พึงได้รับการปฏิสังขรณ์ หรือพึงตั้งอยู่ได้นาน ในที่ใด ก็หรือ จิตของพวกท่านเลื่อมใสในภิกษุรูปใด ก็จงถวายในที่นั้น หรือภิกษุรูปนั้นเถิดดั่งนี้ ๑, ภิกษุ วิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ.
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร ๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีแผลหย่อนห้า ๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช ๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน ๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอามา ๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการขอด้ายมาเอง ๗. เปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูก ให้ทอจีวร ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร ๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าเป็นที่มีรังเกียจ และ ๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ ที่เขาจะถวายเป็นของสงฆ์ รวม ๑๐ สิกขาบทเหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วดังนี้แล.
บทสรุป
[๑๗๒] ท่านทั้งหลาย ธรรม คือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดง แล้วแล. ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ? ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
นิสสัคคิยกัณฑ์ จบ.
-----------------------------------------------------
ปาจิตติยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระหัตถกะศากยบุตร
[๑๗๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระหัตถกะศากยบุตรเป็นคนพูดสับปรับ ท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อน เรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน. พวกเดียรถีย์พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระหัตถกะศากยบุตร เจรจาอยู่กับ พวกเรา จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าว เท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า?. ภิกษุทั้งหลายได้ยินเดียรถีย์พวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงเข้าไปหาพระหัตถ- *กะศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้ถามพระหัตถกะว่า อาวุโสหัตถกะ ข่าวว่า ท่านเจรจาอยู่กับพวก เดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ?. พระหัตถกะศากยบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์เหล่านี้ เราต้อง เอาชนะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะแก่เดียรถีย์พวกนั้น. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระหัตถกะศากยบุตร เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าว ปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระหัตถกะศากยบุตรว่า จริงหรือหัตถกะ ข่าวว่า เธอเจรจา อยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อน?. พระหัตถกะศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงติเตียนพระหัตถกะศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่ สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่ สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชามุสาวาท.
เรื่องพระหัตถกะศากยบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๔] ที่ชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่ง ถ้อยคำเป็นแนวทาง การเปล่งวาจา เจตนาที่ให้เขาเข้าใจทางวาจา ของบุคคลผู้จงใจจะพูดให้คลาดจากความจริง ได้แก่ คำพูดของอนารยชน ๘ อย่าง คือ ไม่เห็น พูดว่าข้าพเจ้าเห็น ๑, ไม่ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้า ได้ยิน ๑, ไม่ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าทราบ ๑, ไม่รู้ พูดว่าข้าพเจ้ารู้ ๑, เห็น พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ๑, ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ๑, ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ๑, รู้ พูดว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ๑.
บทภาชนีย์
[๑๗๕] ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา. ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู. ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก, ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น, ไม่ได้สัมผัสด้วยกาย. ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ. ที่ชื่อว่า เห็น คือ เห็นด้วยตา. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู. ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก, ได้ลิ้มด้วยลิ้น, ได้สัมผัสด้วยกาย. ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ.
อาการของการกล่าวเท็จๆ ทั้งที่รู้
ไม่เห็น-ว่าเห็น
[๑๗๖] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว, ๔ อำพราง ความเห็น, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว, ๔ อำพรางความเห็น, ๕ อำพรางความถูกใจ, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว, ๔ อำพราง ความเห็น, ๕ อำพรางความถูกใจ, ๖ อำพรางความชอบใจ, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๔ อำพราง ความเห็น, ๕ อำพรางความถูกใจ, ๖ อำพรางความชอบใจ, ๗ อำพรางความจริง, ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่ได้ยิน-ว่าได้ยิน
ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ทราบ-ว่าทราบ
ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่รู้-ว่ารู้
ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ว่าเห็น และได้ยิน
[๑๗๗] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็นและได้ยินด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ว่าเห็น และทราบ
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ว่าเห็น และรู้
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และรู้
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และทราบ
ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และเห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ และเห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ทราบ ว่าทราบ และรู้
ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่ทราบ ว่าทราบ และเห็น
ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ทราบ ว่าทราบ และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ และเห็น
ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ไม่ทราบ ว่าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ไม่รู้ ว่ารู้ และเห็น
ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่รู้ ว่ารู้ และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่รู้ ว่ารู้ และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ไม่รู้ ว่ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เห็น ว่าไม่เห็น
[๑๗๘] เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ได้ยิน ว่าไม่ได้ยิน
ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทราบ ว่าไม่ทราบ
ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รู้ ว่าไม่รู้
รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เห็น ว่าได้ยิน
[๑๗๙] เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
เห็น ว่าทราบ
เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เห็น ว่ารู้
เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เห็น ว่าได้ยิน และทราบ
เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
เห็น ว่าได้ยิน และรู้
เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
เห็น ว่าได้ยิน ทราบ และรู้
เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ยิน ว่าทราบ
ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ยิน ว่ารู้
ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ยิน ว่าเห็น
ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ยิน ว่าทราบ และรู้
ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ได้ยิน ว่าทราบ และเห็น
ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ได้ยิน ว่าทราบ รู้ และเห็น
ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทราบ ว่ารู้
ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทราบ ว่าเห็น
ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทราบ ว่าได้ยิน
ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทราบ ว่ารู้ และเห็น
ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทราบ ว่ารู้ และได้ยิน
ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทราบ ว่ารู้ เห็น และได้ยิน
ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รู้ ว่าเห็น
รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รู้ ว่าได้ยิน
รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รู้ ว่าทราบ
รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รู้ ว่าเห็น และได้ยิน
รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
รู้ ว่าเห็น และทราบ
รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
รู้ ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ
รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เห็น-สงสัย
[๑๘๐] เห็น ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าเห็น จำไม่ได้ว่าเห็น หลงลืมว่าเห็น รู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าเห็น และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าเห็น และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ได้ยิน - สงสัย
ได้ยิน ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าได้ยิน จำไม่ได้ว่าได้ยิน หลงลืมว่าได้ยิน รู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วย อาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทราบ - สงสัย
ทราบ ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าทราบ จำไม่ได้ว่าทราบ หลงลืมว่าทราบ รู้อยู่กล่าว เท็จว่า ข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าทราบ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าทราบ และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าทราบ รู้ และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รู้ - สงสัย
รู้ ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่ารู้ จำไม่ได้ว่ารู้ หลงลืมว่ารู้ รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้ารู้ และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้ารู้ และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้ารู้ เห็น และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ... ข้าพเจ้ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๘๑] ภิกษุพูดพลั้ง ๑, ภิกษุพูดพลาด ๑, [ชื่อว่าพูดพลั้ง คือพูดเร็วไป ชื่อว่าพูดพลาด คือตั้งใจว่าจักพูดคำอื่น แต่กลับพูดไปอีกอย่าง] ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้อง อาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๒] โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีล เป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือ ด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงได้ กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่าสบประมาทกระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์- *ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทราม บ้างเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า จริงหรือภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ..., ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
เรื่องโคนันทิวิสาล
[๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว. พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองตักกสิลา มีโคถึกตัวหนึ่งชื่อนันทิวิสาล. ครั้งนั้นโคถึกชื่อนันทิวิสาล ได้กล่าวคำนี้กะพราหมณ์นั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จึงพราหมณ์นั้นได้ทำการพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์ได้ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึก นันทิวิสาลเสร็จแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พราหมณ์นั้นแพ้พนัน เสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์แล้ว ได้ซบเซา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้ถามพราหมณ์นั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เหตุไรท่านจึงซบเซา? พ. ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้ เสียทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ นั่นละซิ เจ้าตัวดี. น. ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ท่านมาเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกงทำไมเล่า? ขอท่านจงไปอีกครั้งหนึ่ง จงพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้ แต่อย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้. ครั้นแล้วได้ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึกนันทิวิสาลแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า เชิญฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม เชิญลากไปเถิด พ่อรูปงาม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ซึ่งผูกเนื่องกัน ไปได้แล้ว. [๑๘๔] บุคคลกล่าวควรแต่ถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ, ไม่ควรกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นที่จำเริญใจ ในกาลไหน ๆ. เพราะเมื่อพราหมณ์กล่าวถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ, โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียนหนักไป, ยังพราหมณ์นั้นให้ได้ทรัพย์, และได้ดีใจเพราะพราหมณ์ ได้ทรัพย์โดยการกระทำของตนนั้นแล. [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งนั้น คำด่า คำสบประมาทก็มิได้เป็นที่พอใจของเรา ไฉน ในบัดนี้ คำด่า คำสบประมาท จักเป็นที่พอใจเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๑. ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๖] ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลป ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.
บทภาชนีย์
[๑๘๗] ที่ชื่อว่า ชาติ ได้แก่ชาติ ๒ คือ ชาติทราม ๑ ชาติอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า ชาติทราม ได้แก่ชาติคนจัณฑาล ชาติคนจักสาน ชาติพราน ชาติคน ช่างหนัง ชาติคนเทดอกไม้ นี้ชื่อว่าชาติทราม. ที่ชื่อว่า ชาติอุกฤษฏ์ ได้แก่ชาติกษัตริย์ ชาติพราหมณ์ นี้ชื่อว่าชาติอุกฤษฏ์. [๑๘๘] ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ชื่อ ๒ คือ ชื่อทราม ๑ ชื่ออุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า ชื่อทราม ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชวกัณณกะ ธนิฏฐกะ สวิฏฐกะ กุลวัฑฒกะ, ก็หรือชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบท นั้นๆ นี้ชื่อว่าชื่อทราม. ชื่อว่า ชื่ออุกฤษฏ์ ได้แก่ชื่อที่เกี่ยวเนื่องด้วยพุทธะ ธัมมะ สังฆะ, ก็หรือชื่อที่เขา ไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่า ชื่ออุกฤษฏ์. [๑๘๙] ที่ชื่อว่า โคตร ได้แก่วงศ์ตระกูล มี ๒ คือ วงศ์ตระกูลทราม ๑ วงศ์ตระกูล อุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า วงศ์ตระกูลทราม ได้แก่วงศ์ตระกูลภารทวาชะ, ก็หรือวงศ์ตระกูลที่เขา เย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่าวงศ์ตระกูล ทราม. ที่ชื่อว่า วงศ์ตระกูลอุกฤษฏ์ ได้แก่วงศ์ตระกูลโคตมะ วงศ์ตระกูลโมคคัลลานะ วงศ์ตระกูลกัจจายนะ วงศ์ตระกูลวาเสฏฐะ, ก็หรือวงศ์ตระกูลที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่า วงศ์ตระกูลอุกฤษฏ์. [๑๙๐] ที่ชื่อว่า การงาน ได้แก่งานที่ทำ มี ๒ คือ งานทราม ๑ งานอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า งานทราม ได้แก่งานช่างไม้ งานเทดอกไม้, ก็หรืองานที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกัน ในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่างานทราม. ที่ชื่อว่า งานอุกฤษฏ์ ได้แก่ งานทำนา งานค้าขาย งานเลี้ยงโค, ก็หรืองานที่เขา ไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่า งาน อุกฤษฏ์. [๑๙๑] ที่ชื่อว่า ศิลปะ ได้แก่วิชาการช่าง มี ๒ คือ วิชาการช่างทราม ๑ วิชาการ ช่างอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า วิชาการช่างทราม ได้แก่ วิชาการช่างจักสาน, วิชาการช่างหม้อ วิชาการ ช่างหูก วิชาการช่างหนัง วิชาการช่างกัลบก, ก็หรือวิชาการช่างที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างทราม. ที่ชื่อว่า วิชาการช่างอุกฤษฏ์ ได้แก่วิชาการช่างนับ วิชาการช่างคำนวณ วิชาการ ช่างเขียน, ก็หรือวิชาการช่างที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในชนบทนั้นๆ นี้ชื่อว่าวิชาการช่างอุกฤษฏ์. [๑๙๒] โรค แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม, แต่โรคเบาหวาน ชื่อว่าโรคอุกฤษฏ์. [๑๙๓] ที่ชื่อว่า รูปพรรณ ได้แก่รูปพรรณมี ๒ คือ รูปพรรณทราม ๑ รูปพรรณ อุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า รูปพรรณทราม คือ สูงเกินไป ต่ำเกินไป, ดำเกินไป ขาวเกินไป นี้ชื่อว่ารูปพรรณทราม. ที่ชื่อว่า รูปพรรณอุกฤษฏ์ คือไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก นี้ชื่อว่า รูปพรรณอุกฤษฏ์. [๑๙๔] กิเลส แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม. [๑๙๕] อาบัติ แม้ทั้งปวง ชื่อว่าทราม, แต่โสดาบัติ สมาบัติ ชื่อว่า อาบัติอุกฤษฏ์ [๑๙๖] ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่คำด่า มี ๒ คือ คำด่าทราม ๑ คำด่าอุกฤษฏ์ ๑. ที่ชื่อว่า คำด่าทราม ได้แก่คำด่าว่า เป็นอูฐ, เป็นแพะ, เป็นโค, เป็นลา, เป็น สัตว์ดิรัจฉาน, เป็นสัตว์นรก, สุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ, คำด่าว่าที่เกี่ยวด้วย ยะอักษร ภะอักษร, หรือนิมิตของชายและนิมิตของหญิง นี้ชื่อว่าคำด่าทราม. ที่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์ ได้แก่ คำด่าว่า เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก, ทุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ, นี้ชื่อว่าคำด่าอุกฤษฏ์.
อุปสัมบันด่าอุปสัมบัน
พูดกดกระทบชาติ
[๑๙๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะทำให้ อัปยศ พูดกะอุปสัมบันมีชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติทรามคือ พูดกะอุปสัมบันชาติคน จัณฑาล, ชาติคนจักสาน, ชาติพราน, ชาติคนช่างหนัง, ชาติคนเทดอกไม้, ว่าเป็น ชาติคนจัณฑาล, ว่าเป็นชาติคนจักสาน, ว่าเป็นชาติพราน, ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง, ว่าเป็น ชาติคนเทดอกไม้, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด. [๑๙๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะทำให้ อัปยศ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดอุกฤษฏ์ด้วยกล่าวกระทบชาติทราม คือ พูดกะอุปสัมบันกำเนิด กษัตริย์, กำเนิดพราหมณ์, ว่าเป็นชาติคนจัณฑาล, ว่าเป็นชาติคนจักสาน, ว่าเป็นชาติพราน, ว่าเป็นชาติคนช่างหนัง, ว่าเป็นชาติคนเทดอกไม้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
พูดประชดกระทบชาติ
[๑๙๙] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะทำให้ อัปยศ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดทรามด้วยกล่าวกระทบชาติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดคน จัณฑาล, กำเนิดคนจักสาน, กำเนิดพราน, กำเนิดคนช่างหนัง กำเนิดคนเทดอกไม้ ว่าเป็นชาติกษัตริย์, ว่าเป็นชาติพราหมณ์, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
พูดยกยอกระทบชาติ
[๒๐๐] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะทำให้ อัปยศ พูดกะอุปสัมบันกำเนิดอุกฤษฏ์ด้วยกล่าวกระทบชาติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุปสัมบันกำเนิด กษัตริย์ กำเนิดพราหมณ์ ว่าเป็นชาติกษัตริย์ ว่าเป็นชาติพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑-๕๐๔๒ หน้าที่ ๑-๒๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=1&Z=5042&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=1&items=881              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=1&items=881&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=1&items=881              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=2&item=1&items=881              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :