ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
             [๒๘๔] โดยสมัยนั้น  พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยังเหล่าอุบาสกให้กล่าวธรรม
โดยบท พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่.
             บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ยังเหล่าอุบาสกให้กล่าวธรรมโดยบท เหล่า
อุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความ
นั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ยังเหล่าอุบาสก ให้กล่าวธรรมโดยบท, เหล่าอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูก อัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ จึงได้ยังเหล่า อุบาสกให้กล่าวธรรมโดยบทเล่า พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัย ในหมู่ภิกษุอยู่, ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ, ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน. [๒๘๖] ที่ชื่อว่า โดยบท ได้แก่ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ. ที่ชื่อว่า บท คือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน. ที่ชื่อว่า อนุบท คือ ขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน. ที่ชื่อว่า อนุอักขระ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบันกล่าวพร้อมกันว่า รู ดังนี้ แล้วหยุด. ที่ชื่อว่า อนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับว่า เวทนา อนิจฺจา. บท ก็ดี อนุบท ก็ดี อนุอักขระ ก็ดี อนุพยัญชนะ ก็ดี ทั้งหมดนั้น ชื่อว่าธรรม โดยบท. ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่บาลีที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่ง ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม. บทว่า ให้กล่าว คือ ให้กล่าวโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท ให้กล่าวโดย อักขระ, ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ อักขระ.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๘๗] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ. อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๒๘๘] ภิกษุให้สวดพร้อมกัน ๑ ท่องพร้อมกัน ๑ อนุปสัมบันผู้กล่าวอยู่ สวดอยู่ ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระนวกะ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๗๑๑๐-๗๑๖๗ หน้าที่ ๒๙๐-๒๙๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=7110&Z=7167&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=284&items=5&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=284&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=284&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=2&item=284&items=5&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=284              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :