ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
             [๙๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ. ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนี้ นั่น เป็นพุทธประเพณี. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน พวกเธอ พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? พวกเธอเดินทางมาโดยได้รับความลำบากน้อยหรือ? ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้า- *ข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยได้รับความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า. ก็แลขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่างพระผู้มี พระภาค จึงพระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ผ้าบังสุกุลเป็นที่พอใจของเธอหรือ? ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ผ้าบังสุกุล มิได้เป็นที่พอใจของข้าพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็ทำไมเธอจึงได้ทรงผ้าบังสุกุลเล่า ภิกษุ?. ภิ. พระอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้าทรงผ้าบังสุกุล, ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องทรงผ้าบังสุกุล อย่างนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน บริษัท ของเธอนี้น่าเลื่อมใสนัก, เธอแนะนำบริษัทอย่างไร? ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ผู้ใดขออุปสมบทต่อข้าพระ- *พุทธเจ้า, ข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง, ฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ จึงให้เขาอุปสมบท, ถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ไม่ให้เขาอุปสมบท. ภิกษุใดขอนิสัย ต่อข้าพระพุทธเจ้าๆ บอกกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า บังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้, เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระ- *พุทธเจ้าๆ จึงจะให้นิสัย, ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัย, ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัทอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, เธอแนะนำบริษัทได้ดีจริงๆ เออก็เธอรู้กติกาของสงฆ์ ในเขตพระนครสาวัตถีไหม อุปเสน?. อุ. ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรอุปเสน สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ตั้งกติกากันไว้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มี- *พระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว, ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติ ปาจิตตีย์. อุ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระ- *พุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้. ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้บัญญัติ หรือไม่ควร เพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบท ตามที่เราได้บัญญัติไว้. เรา อนุญาตให้พวกภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าหา เราได้ตามสะดวก. เวลานั้น ภิกษุหลายรูปกำลังรออยู่ที่นอกซุ้มประตูพระวิหาร ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักให้ ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์. ครั้นท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัท ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว, จึงภิกษุเหล่านั้นได้ถามท่าน พระอุปเสนวังคันตบุตรดังนี้ว่า อาวุโส อุปเสน ท่านทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ไหม? ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย แม้พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งถาม กระผมอย่างนี้ว่า ดูกรอุปเสน เธอทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม? กระผม กราบทูลว่า ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์รับสั่งต่อไปว่า ดูกรอุปเสน สงฆ์ในพระนคร สาวัตถีได้ตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้น อยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว. ภิกษุใดเข้าเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์. กระผมกราบทูลว่า พระสงฆ์ในเขตพระนคร สาวัตถีจักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ ทรงบัญญัติไว้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเลยทรงอนุญาตให้บรรดาภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือ บิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงด้วยในทันใดนั้นว่า ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร พูดถูกต้องจริง แท้, พระสงฆ์ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่ยังมิได้ทรงบัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่ทรง บัญญัติไว้, ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๑๒๕-๒๑๘๓ หน้าที่ ๘๙-๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2125&Z=2183&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=92&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=92&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=92&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=2&item=92&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=92              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :